14 ม.ค. เวลา 13:27 • หุ้น & เศรษฐกิจ

มาตรวจสุขภาพการเงินให้ครบทุกด้านกัน

วันนี้ #เด็กการเงิน จะมาพูดถึงเรื่องของการเงินส่วนบุคคล เจาะลึกการตรวจสุขภาพทางการเงินของเราว่าตอนนี้ฐานะทางการเงินของเราเป็นอย่างไร และจะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง
แต่ก่อนจะไปถึงการตรวจสุขภาพทางการเงิน ขอพูดถึงการเงินส่วนบุคคลก่อน ซึ่งส่วนมากก็จะนึกถึงเรื่องการออมเงินมาเป็นอันดับแรก ถ้าลองย้อนไปสมัยเรียน จะเห็นว่านิสัยการออมนั้นอยู่คู่กับเรามานานแล้ว เราเคยเรียนวิชาที่ต้องบันทึกรายรับ-รายจ่าย คิดว่าเก็บเงินวันละเท่าไร เราเคยซื้อกระปุกออมสินเพื่อมาหยอดเหรียญอดออม หรือก็มีวิชาให้เรารู้จักขายของในตลาดของโรงเรียน สิ่งเหล่านี้มันอยู่กับเรามานานแล้ว
แต่พอเราโตมา เราอาจลืมสิ่งเหล่านั้นไป ทั้งนี้เราสามารถต่อยอดจากเรื่องที่เราเคยรู้มาได้ โดยสิ่งที่เราต้องทำคือทำให้มันเป็นระบบ มีการจดบันทึกและวางแผน เพื่อให้เราสามารถคาดการณ์อนาคตได้ด้วย
… เรามาเริ่มคิดกันง่ายๆ ก่อน โดยเริ่มจากการเข้าใจประโยคที่ว่า "รายรับ – รายจ่าย = เงินเก็บ" แต่หลายคนจะรู้สึกว่าทำไมบางเดือนเงินถึงไม่เหลือเก็บนะ เราอาจจะใช้จ่ายจนลืมตัวไป
ดังนั้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนเป็น "รายรับ - เงินเก็บ = รายจ่าย"
ซึ่งหมายความว่า เราตั้งเป้าเก็บเงินก่อนเป็นอันดับแรก เหลือเท่าไรค่อยใช้...โดยเริ่มจากเก็บเงินน้อยๆ ก่อนก็ได้ เช่น 5% ของรายได้ พอเราทำได้แล้ว ก็ค่อยๆ ปรับเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม "เงินเก็บ" เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสุขภาพการเงินที่เราจะพูดถึงในวันนี้ เพราะในความเป็นจริง เราต้องพิจารณาว่ารายได้ที่เรามีเพียงพอให้ใช้จ่ายหรือไม่ แต่ละเดือนเราต้องจ่ายหนี้สินเท่าไร และถ้าอยู่ดีๆ เราตกงาน เราจะมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหรือไม่
ทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถดูได้ง่ายๆ ผ่านอัตราส่วนทางการเงิน ที่จะช่วยเช็คสุขภาพทางการเงินของทุกคน เพื่อใช้วิเคราะห์ต่อไปให้ได้เห็นภาพถึงสุขภาพทางการเงินของเรา และรู้ว่าควรปรับปรุงอะไรบ้าง เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
ก่อนที่จะเข้าใจสุขภาพทางการเงินได้ เราต้องรู้จักงบการเงินส่วนบุคคลก่อน โดยจะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ความมั่งคั่ง (net worth)
📍สินทรัพย์แบ่งเป็น
1️⃣สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง ได้แก่ เงินสด / บัญชีเงินฝากต่างๆ
2️⃣สินทรัพย์เพื่อการลงทุน ได้แก่ หลักทรัพย์ต่างๆ (ตราสารหนี้ / หุ้น / อนุพันธ์ / กองทุนรวม), มูลค่าเงินสดกรมธรรม์ประกันชีวิต, เงินลงทุนเกษียณ (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident funds), กบข., RMF)
3️⃣สินทรัพย์ใช้ส่วนตัว – บ้าน รถ เสื้อผ้าเครื่องประดับ ของสะสม
📍หนี้สินแบ่งเป็น
1️⃣หนี้สินระยะสั้น ได้แก่ หนี้ที่ต้องชำระภายใน 1 ปี, ยอดค้างบัตรเครดิต, เงินกู้อื่นๆ, หนี้ผ่อนชำระแบบผ่อน 10 เดือนแบบนี้
2️⃣หนี้สินระยะยาว ได้แก่ หนี้สินที่มากกว่า 1 ปี, ยอดค้างกู้รถยนต์ ยอดค้างค่าบ้าน หรือเงินกู้อื่นๆ มากกว่า 1 ปี
📍ความมั่งคั่งสุทธิ (net worth) คือ สินทรัพย์ทั้งหมด ลบด้วยหนี้สินทั้งหมด ส่วนที่เหลือคือ Net worth
โดยอัตราส่วนทางการเงินที่ต้องรู้ แบ่งเป็น 4 ด้านคือ ด้านสภาพคล่อง ด้านหนี้สิน ด้านการออมและลงทุน และด้านความอยู่รอดและอิสรภาพทางการเงิน
ไปดูวิธีการคำนวณในรูป และตีความผลที่ได้จากคอมเมนท์ได้เลย
ใช้เวลากับมันสักพัก จะทำให้เรารู้ว่าสุขภาพการเงินเป็นอย่างไร 😇
เด็กการเงิน
โฆษณา