เมื่อวาน เวลา 08:00 • ข่าวรอบโลก

คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ ไม่ขอตายเพราะงานหนัก (คาโรชิ) ลดชั่วโมงทำงาน ไม่เสียสละตนเองเพื่อบริษัทอีกต่อไป

พนักงานญี่ปุ่นคนรุ่นใหม่หันหลังให้กับวัฒนธรรมการทำงานหนักแบบซ้ำซาก ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ สัปดาห์การทำงานสั้นลง ค่าจ้างสูงขึ้น และเกิดความหวังที่จะยุติการเสียชีวิตจากโรคคาโรชิ (ทำงานหนักจนตาย) ให้เกิดขึ้นจริง
ในที่สุดการปฏิวัตินี้ก็เกิดขึ้นหลังจากเวลาหลายทศวรรษที่วัฒนธรรมการทำงานของญี่ปุ่น เต็มไปด้วยชั่วโมงการทำงานที่หนักหน่วงและการเสียสละตนเอง
ตามผลการสำรวจของ ‘ทาคาชิ ซากาโมโตะ’ นักวิเคราะห์จากสถาบัน Recruit Works พบว่า ชั่วโมงการทำงานประจำปีในญี่ปุ่นลดลง 11.6% จาก 1,839 ชั่วโมงในปี 2543 เหลือ 1,626 ชั่วโมงในปี 2565 ซึ่งทำให้ชั่วโมงการทำงานญี่ปุ่นยืดหยุ่นขึ้นเทียบเคียงได้กับประเทศต่างๆ ในยุโรปหลายประเทศ
ขณะเดียวกันรายงานเรื่อง “The True Economy of Japan” ของ ซากาโมโตะ ที่เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ก็ระบุว่า การลดลงนี้เห็นได้ชัดเจนที่สุดในกลุ่มวัยทำงานผู้ชายอายุ 20 ปี ซึ่งเคยทำงานเฉลี่ย 46.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในปี 2543 แต่ตอนนี้ชั่วโมงทำงานลดลงเหลือ 38.1 ชั่วโมงในปี 2566
“คนหนุ่มสาวตัดสินใจว่าพวกเขาไม่ต้องการเสียสละตนเองเพื่อบริษัท และฉันคิดว่านั่นเป็นเรื่องฉลาดทีเดียว” มาโกโตะ วาตานาเบะ อาจารย์ด้านการสื่อสารและสื่อจากมหาวิทยาลัยฮอกไกโดบุงเกียวให้ความเห็น
โฆษณา