15 ม.ค. เวลา 12:24 • หุ้น & เศรษฐกิจ

บทเรียนจากการเงินจาก Squid Game

#Fintroduce l เมื่อปัญหาทางการเงิน ที่เรียกว่า “หนี้” ทำให้ผู้เล่น “ยอมเอาชีวิตเข้าแลก” ทั้งที่สามารถเลือกได้ว่า หยุดเล่น ❌ หรือ ไปต่อ ⭕
แต่ในซีรีส์ การที่จำนวนเงินเพิ่มขึ้นในแต่ะละเกม ย่อมหมายถึงการสูญเสียผู้เล่นไป (1 ชีวิต = เงิน 100 ล้านวอน หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 2.3 ล้านบาท) ทำให้คนผู้เล่นส่วนใหญ่ เลือกไปต่อ เพื่อเงินรางวัลที่มากขึ้น ⏺️🔼⏹️
ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าตัวเองมีความเสี่ยง แต่ก็เลือกเล่นต่อ เพราะคิดว่า ตัวเองสามารถเป็นผู้ชนะในเกมนี้ได้ และหอบเงินกลับบ้าน เพื่อไปปลดหนี้ที่ตัวเองได้สร้างเอาไว้
ซึ่งฉากที่พูดถึงถือว่าเป็นฉากเด็ด Squid Game SS2 ที่ได้เห็นถึงความโลภ และความสิ้นหวังของแต่ละคน ที่ไม่สนใจชีวิตคนอื่น หรือแม้กระทั่ง “ชีวิตตัวเอง”
สิ่งที่สะท้อนให้เห็นในซีรีส์ คือ เมื่อเราเป็นหนี้มากจนไม่สามารถรับมือได้ มันทำให้เรามองชีวิตตัวเองไม่สำคัญ
อาจจะเพราะการมีชีวิตอยู่กับหนี้ก้อนมหาศาล เทียบกับการเข้าไปเสี่ยงชีวิตเพื่อปลดหนี้ได้ มันไม่ได้ต่างอะไรกันเลย เพราะทุกวันนี้ที่ใช้ชีวิตก็เหมือน “ตาย ทั้ง เป็น” อยู่แล้ว
แต่ "ปัญหาหนี้” อาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ ถ้าหากย้อนกลับไปวันแรกที่เรามีทางเลือกว่าจะ
ไม่สร้างหนี้ ❌ หรือ สร้างหนี้ ⭕
การตัดสินใจในตอนนั้นส่งผลต่อชีวิตเราในระยะยาวได้เลย ซึ่งจะเลือกแบบไหนก็ไม่ผิด เราทุกคนมีสิทธิ์เลือกว่าจะสร้างหนี้หรือไม่ ?
แต่หากจะสร้างหนี้จริง ๆ ควรมีหนี้ในระดับที่เหมาะสมกับรายได้และสินทรัพย์ที่มี และต้องวางแผนให้ดี ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ เพราะอะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ หากมาจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้
สุดท้ายนี้ หนี้ที่อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ จะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างไม่ต้องแบกรับความกดดันจนเกินไป
ตามไปฟังเต็ม ๆ ในบทเรียนอื่น ๆ แนะนำนพครับ https://youtu.be/7C_Bx-Y-hvY?si=-a4FAqcgtJkJBNex
#SquidGame #SquidGame2 #หนี้ #FinSpace
โฆษณา