Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พี่จ้วน
•
ติดตาม
16 ม.ค. เวลา 10:11 • ความงาม
[บทความผิว/สกินแคร์]
ช่วงนี้เห็นสกินแคร์หลายแบรนด์ออกตัวเปปไทด์มากันเยอะมาก ก็เลยมาลองรวบรวมข้อมูลมาให้อ่านกันเล่น ๆ
ในบรรดาสกินแคร์ที่ให้ผลด้าน Anti-aging หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับกลุ่มเรตินอยด์ วิตามินซี ไฮยา ฯลฯ
แต่ตัวเปปไทด์เป็นกลุ่มที่ให้ผลด้าน Anti-aging ได้ดีไม่แพ้กลุ่มเรตินอยด์เลย หรือใครที่แพ้เรตินอยด์ก็สามารถใช้กลุ่มเปปไทด์แทนได้ (หรือใช้ร่วมกันได้ก็จะผลลัพธ์ที่ยิ่งขึ้นไปอีก)
เปปไทด์ คือ หน่วยย่อยของโปรตีน ประกอบด้วยกรดอะมิโน มาเชื่อมต่อกันเป็นสายสั้น ๆ (เรียงจากหน่วยย่อยสุด ใหญ่สุด: กรดอะมิโน->เปปไทด์->โปรตีน)
จะเห็นว่าเปปไทด์หลายตัวมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า palmitoyl เนื่องจากว่าเปปไทด์หลาย ๆ ตัวละลายในน้ำได้ดีแต่ดูดซึมเข้าผิวไม่ดี จึงมีการนำกรดไขมัน palmitic acid มาเชื่อมกันกับสายเปปไทด์เพื่อช่วยให้ดูดซึมได้ดีขึ้น
เปปไทด์ในสกินแคร์สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามกลไกการออกฤทธิ์ (แต่บางแหล่งก็แบ่งเป็น 5 กลุ่ม)
กลุ่มที่ 1: Signal Peptides – เป็นเปปไทด์ที่กระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาสต์ให้ผลิต collagen, elastin, fibronectin, glycosaminoglycan ละ proteoglycan ทำหน้าที่คล้าย ๆ Growth factors บางตัวก็สังเคราะห์เลียนแบบ Growth factors เช่น sH-Oligopeptide-1 (EGF) ทำหน้าที่กระตุ้น protein kinase C ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการเคลื่อนตัวของเซลล์
ตัวอย่างเปปไทด์ที่ใช้ในสกินแคร์ เช่น
- Palmitoyl pentapeptide-4 (Pal-Lys-Thr-Thr-Lys-Ser = Pal-KTTKS) เป็นเปปไทด์ตัวแรก ๆ ที่มีใช้ในสกินแคร์เลย ทำหน้าที่กระตุ้นการผลิตคอลลาเจน 1, 2,3 และ fibronectin (เป็นสาร glycoprotein ที่ช่วยให้เซลล์ยึดเกาะกันและเคลื่อนที่ได้)
- Palmitoyl tripeptide-3/5 (palmitoyl–Lys–Val–Lys) เลียนแบบ Thrombospondin-1 (TSP1) กระตุ้น TGF-beta receptor มีบทบาทสำคัญคือช่วยรักษาแผล เพิ่มการผลิตคอลลาเจน ชนิดที่ 1 และ 3 และป้องกันการสลายตัวของคอลลาเจนจาก MMP1 และ MMP3
- Palmitoyl hexapeptide-12 ลดการผลิต IL-6 (ลดอักเสบ) จึงช่วยชะลอการสลายตัวของ skin matrix (ใยที่เป็นพื้นที่ให้คอลลาเจนและอีลาสตินเกาะยึด เมื่อผิวมี Skin Matrix ที่แข็งแรง ผิวจะฟูอิ่มและริ้วรอยลดลง)
- Tripeptide-10 Citrulline: จริง ๆ จะเรียกว่า tetrapeptide ก็ได้ เพราะถ้ารวม citrulline ก็กลายเป็น 4 เป็นเปปไทด์ที่เลียนแบบ decorin (เป็นโปรตีนที่ช่วยพยุงโครงสร้างของคอลลาเจน) ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยจัดเรียงเส้นใยคอลลาเจน และมีงานวิจัยที่พบว่าช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่นขึ้น
- Hexapeptide-11: ตัวนี้มีข้อมูลว่าช่วยปกป้องไฟโบรบลาสต์จาก oxidative stress ที่ส่งผลให้เซลล์แก่ก่อนวัยด้วย
- ตัวอื่น ๆ เช่น Carnosine, Trifluoroacetyl-tripeptide-2, Acetyl tetrapeptide-5, Acetyl tetrapeptide-9, Acetyl tetrapeptide-11, Tetrapeptide PKEK, Tetrapeptide-21, Hexapeptide, Palmitoyl tetrapeptide-7, Palmitoyl oligopeptide, Palmitoyl tripeptide-1, Pentamide-6 ฯลฯ
กลุ่มที่ 2: Carrier Peptides– เป็นเปปไทด์ที่นำส่งแร่ธาตุ เช่น ทองแดงและแมกนีเซียมไปยังผิวหนัง แร่ธาตุเหล่านี้ช่วยเพิ่มการสังเคราะห์คอลลาเจน, เพิ่มความยืดหยุ่น, และช่วยให้ผิวหายจากแผลได้เร็วขึ้น
ตัวแรกในกลุ่มนี้คือ copper tripeptide (Cu–GHK) หรือที่เรียกชื่อเล่นกันว่า คอปเปอร์ เปปไทด์ (จริง ๆ ตัวนี้ก็ยังทำตัวเป็นพวกกลุ่ม 1 ได้ด้วย) ตัว Copper หรือทองแดง นอกจากเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการการรักษาแผล ยังเป็น cofactor สำคัญของเอ็นไซม์ lysyl oxidase, superoxide dismutase, และ tyrosinase (จึงช่วยเรื่องการกระตุ้นการผลิตคอลลาเจน antioxidation และควบคุมการผลิตเม็ดสี) ทำให้ตัว copper tripeptide มีกลไกด้าน anti-aging ที่หลากหลาย และมีการศึกษาว่าสามารถลดริ้วร้อยได้ดี
อีกตัวคือ anganese tripeptide-1 (Mn–GHK) จะเด่นในเรื่อง UV-induced photoaging
กลุ่มที่ 3: Neurotransmitter-Inhibitor Peptides – มีคุณสมบัติช่วยให้ริ้วรอยที่เกิดจากการแสดงอารมณ์ดูลดเลือนลง กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ยับยั้งการผลิตเม็ดสีเมลานิน คือเลียนแบบการทำงานของโบท็อกซ์ แต่มาอยู่ในรูปทา ตัวอย่างในกลุ่มนี้ เช่น Acetyl Hexapeptide-8 (Acetyl Hexapeptide-3), Pentapeptide-18, Pentapeptide-3, Tripeptide-3 ฯลฯ
กลุ่มที่ 4: Enzyme-Inhibitory Peptides – ทำหน้าที่ลดการสลายของคอลลาเจน/อิลาสติน เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว เช่น Soybean peptide, Silk fibroin peptide, Black rice oligopeptides ฯลฯ
อีกกลุ่มคือ Peptides Derived from Structural Protein Digestion เป็น Keratin-Based Peptides เป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยได้ผลเรื่อง Anti-Wrinkle จึงไม่ค่อยมีใครพูดถึง
แหล่งข้อมูล
1.
https://doi.org/10.3390/cosmetics10040111
2.
https://doi.org/10.3390/cosmetics4020016
สกินแคร์
ดูแลผิว
สุขภาพผิว
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย