Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Innowayถีบ
•
ติดตาม
19 ม.ค. เวลา 14:00 • ข่าว
การกักเก็บคาร์บอนลงสู่ทะเล อัลไซเมอร์อาจมีทางรักษา CATL จับมือสร้าง ecosystem ของการเปลี่ยนแบต
1. Gigablue ประสบความสำเร็จในการขายคาร์บอนเครดิต
Gigablue บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอล ที่พัฒนากระบวนการดึงคาร์บอนจากบรรยากาศและนำมากักเก็บลงสู่ทะเล ประกาศความสำเร็จในการขายคาร์บอนเครดิตที่ได้จากเทคโนโลยีของพวกเขา
การจัดเก็บลงในมหาสมุทรนั้น (Ocean fertilization) สามารถดึงก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในปริมาณที่มาก สามารถขยายขนาดได้เร็วและราคาที่สามารถทำเป็นอุตสาหกรรมได้
กระบวนการนำ CO2 ไปใช้ก็เริ่มจากกระตุ้นให้แพลงก์ตอนด้วยการเติมสารอาหารที่ได้เคลือบลงบนวัสดุพิเศษของ Gigablue เมื่อแพลงก์ตอนมากินอาหารและเกาะบนวัสดุดังกล่าว เมื่อแพลงก์ตอนเติบโตได้ในขนาดที่ใหญ่พอก็จะตกตะกอนลงสู่ก้นทะเลที่ระดับความลึกเกิน 1000 เมตร (ซึ่งสามารถนับเป็นการกักเก็บคาร์บอนในระยะยาว)
SkiesFifty เป็นผู้ให้บริการในการลดก็าซเรือนกระจกให้กับอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งล่าสุดได้ทำสัญญาซื้อคาร์บอนเครดิตจาก Gigablue เป็นจำนวนถึง 200,000
ระบบการกักเก็บ CO2 ของ Gigablue
2. แพทย์และนักวิจัย เสนอวิธีรักษา Alzheimer’s ด้วยการสูดก็าซซีนอน (Xenon)
นักวิจัยจาก Mass General Brigham และ Washington University School of Madicine รายงานผลงานวิจัยที่พบว่าหนูทดลอง ก็าซซีนอนสามารถเข้าถึงบริเวณที่สมองได้รับความกระทบกระเทือน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการประมวลข้อมูล (cognitive)
ถึงแม้ว่าสาเหตุที่ชัดเจนของของโรค Alzheimer’s นั้นยังไม่มีทราบแน่ชัด แต่เป็นที่ทราบกันว่าเกิดจากการที่มีโปรตีนไปยับยั้งการสือสารของระบบประสาท
ซีนอนซึ่งเคยถูกใช้เป็ยาสลบสำหรับมนุษย์ ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสสเลือดและส่งผ่านไปยังสมองของหนูทดลอง ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสามารถลดอาการอักเสบของเซลล์ประสาทและยังปรับปรุงพฤติกรรมในการสร้างรัง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถทางสมองของหนูทดลอง และยังพบว่าก็าซซีนอนยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเวลล์ไมโครเกลียซึ่งจะเพิ่มการกำจัดโปรตีนอะไมลอยด์ (โปรตีนที่ยับยั้งการทำงานของระบบประสาท)
ขั้นตอนต่อไปทางทีมนักวิจัยก็เตรียมทำการทดลองในระดับคลินิค เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ก็าซซีนอนเพื่อทำการรักษาผู้ป่วยต่อไป
ทีมวิจัยของ Mass General Brigham
3. CATL ผู้นำเทคโนโลยีแบตเตอรี่สัญชาติจีน ประกาศความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์มากกว่า 100 รายเพื่อสร้างสถานีและระบบเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ง่าย ปลอดภัยและราคาถูก โดยตั้งเป้าพัฒนาสถานีมากกว่า 30,000 แห่งให้เสร็จภายในปี 2030
โดยพาร์ทเนอร์ทั้งหมดจะร่วมผลักดันสินค้าไปสู่มาตราฐานเดียวกันโดยใช้โค้ด #20 และ #25 (ให้พ้องกับน้ำมันเบนซิน #92 และ #95)
ซึ่งการทำการถอดเปลี่ยน (battery swap) จะช่วยให้รถไฟฟ้าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยระบบที่ทางพันธมิตรร่วมพัฒนาจะสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้เสร็จสิ้นภายใน 100 วินาที แทบจะไม่แตกต่างจากการเติมน้ำมันเลยทีเดียว
CATL มีข้อได้เปรียบในการลงมาเป็นผู้นำในการเล่นเกมส์นี้เพราะข้อมูลเกี่ยวกับแบตเตอรี่ (ในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของโลก) ทำให้ทราบข้อมูลสภาวะของแบตเตอรี่ รวมถึงความสามารถในการพยากรณ์การเสื่อมสภาพและระบบคลาวด์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่เข้ากับระบบจ่ายไฟ ซึ่งทำให้สามารถบริหารต้นทุนในการชาร์จไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถานีเปลี่ยนแบตของ Choco-swap
https://maritime-executive.com/article/startup-commercializes-ocean-fertilization-for-carbon-credits
https://scitechdaily.com/a-breath-away-from-a-cure-how-xenon-gas-could-transform-alzheimers-treatment/
บันทึก
5
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย