16 ม.ค. เวลา 16:59 • ไลฟ์สไตล์

“แคนเป่าเสียงก้องฟ้า คนเป่าเว้าความจริงใจ เสียงแคนฮ้องยาวไกล ความฮักอ้ายกะคือกัน”

ฮั่นว่าเป็นคนอีสาน สิบ่ฮู้จักท่วงทำนองแห่งชีวิตได้จั่งใด๋ ‘แคน’ เครื่องเป่าที่ทำจากไม้ไผ่หรือเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน ในอดีตมักถูกใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมตามหมู่บ้าน ภายหลังนำมาใช้เล่นเพื่อความบันเทิงและจรรโลงใจ
ลายแคนอีสานถูกขับกล่อมและเป่าบรรเลงด้วยริมฝีปากของ ‘หมอแคน’ บุคคลผู้มีความชำนาญในการเป่าแคน ไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย ผู้ที่ฝึกตนในการเป่าแคนอย่างช่ำชองสามารถถูกเรียกว่าหมอแคนได้เช่นเดียวกัน
พามาทำความรู้จัก “ท้าวหมาหยุย” หมอแคนหนุ่มวัย 24 ปี ผู้เชื่อว่าแคนคือศาสนาที่นำพาเขาไปพบเจอกับเรื่องราวใหม่ๆ ในโลกของดนตรี และเชื่อว่ากำแพงภาษาสามารถพังทลายลงได้ หากมีเสียงเพลงเป็นตัวขับกล่อม
• ชายผู้ชื่อหมาหยุย
“ผมตั้งชื่อเฟซบุ๊กว่า ท้าวหมาหยุย เพราะคิดว่าเท่ดี คนที่ไม่รู้จักชื่อจริงก็เรียกชื่อนี้ จนเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะศิลปินเลยใช้ชื่อนี้ต่อ”
จากตำนานนิทานพื้นบ้าน ‘ท้าว’ แปลว่า ‘นาย’ ต่อท้ายด้วย ‘หมาหยุย’ กลายเป็นชื่อของลูกกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ เพราะได้ให้กำเนิดลูกชายออกมาเป็นหมา ท้าวหมาหยุยถูกนำมาใช้เป็นคำแทนชื่อ หรือ AKA ในวงการศิลปินของ ‘ดิว-พงษ์ศักดิ์ วันศรี’ หมอแคนหนุ่มจากกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เนื่องจากชื่อมีความพิเศษและไม่ซ้ำใคร
ดิวเกิดและเติบโตในพื้นที่ที่ยังมีความเชื่อในการนับถือผี เนื่องจากวัฒนธรรมของดิวเติบโตในอีสานใต้ที่ยังคงความเชื่อเรื่องนี้ พร้อมซึมซับวัฒนธรรมหลากหลายในหมู่บ้าน ทั้งเขมร ส่วย และลาว ทั้งยังพูดภาษาเขมรได้
อ่านบทความ "ท้าวหมาหยุย จากคนที่เคยหลงลืม สู่ศาสนาแคนแห่งชีวิต" ได้ที่
เรื่อง : เนตรนภา ก๋าซ้อน
ภาพ : ท้าวหมาหยุย
#ลาวเด้อ #Louder #ท้าวหมาหยุย #หมอแคน #ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
โฆษณา