Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MarketThink
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
18 ม.ค. เวลา 03:00 • การตลาด
รวม 10 ไอเดีย ตั้งราคาสินค้า ที่ปรับใช้ได้กับหลายธุรกิจ พร้อมตัวอย่างสินค้าอะไร เหมาะใช้วิธีไหน
1. Economy Pricing
แปลตรง ๆ ก็คือการตั้งราคาแบบประหยัด เป็นการตั้งราคาที่มีจุดมุ่งหมาย คือการขายสินค้าให้มีราคาถูกที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มองหาความประหยัด หรือมีงบประมาณในการซื้อสินค้าจำกัด
ลักษณะของสินค้าที่ใช้การตั้งราคาในรูปแบบนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสินค้าที่เรียบง่าย ใช้งานได้ในระดับพื้นฐาน มีคุณภาพทั่ว ๆ ไป เพื่อควบคุมต้นทุนการผลิต ให้สามารถตั้งราคาถูกได้
โดยตัวอย่างของสินค้าที่ใช้กลยุทธ์การตั้งราคาแบบนี้ เช่น
- สมาร์ตโฟนราคาประหยัด
- รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นเริ่มต้น
2. Premium Pricing
เป็นการตั้งราคาสินค้าที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับ Economy Pricing
คือการตั้งราคาสินค้าให้สูงกว่าคู่แข่งอื่น ๆ ในท้องตลาด เพื่อสร้างภาพลักษณ์ความพรีเมียม แสดงถึงความหรูหรา และคุณภาพที่เหนือกว่า ให้กับตัวสินค้าและแบรนด์
โดยกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าแบบ Premium Pricing มักจะนิยมใช้กับสินค้าทางด้านเทคโนโลยี สินค้าแบรนด์หรู สินค้าแฟชั่น และเครื่องประดับ
แต่สินค้าที่จะตั้งราคาแบบนี้ได้ จะต้องมีความพิเศษบางอย่าง เพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นตามราคาสินค้า
เช่น คุณภาพ ความแตกต่าง ความหรูหรา ฟีเชอร์การใช้งานที่ดีกว่า หรือมีความหายาก จนกระตุ้นให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินในราคาที่สูงขึ้นกว่าสินค้าทั่ว ๆ ไป
แต่หากสินค้าที่ใช้กลยุทธ์การตั้งราคาแบบ Premium Pricing ไม่ได้มีความพิเศษ ที่ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าอื่น ๆ ที่มีการใช้งานไม่ต่างกัน แต่มีราคาถูกกว่าแทน
3. Freemium Pricing
เป็นกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าสำหรับสินค้าที่เป็นซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยเฉพาะ
โดยกลยุทธ์การตั้งราคาแบบ Freemium Pricing จะเปิดให้ลูกค้าใช้บริการซอฟต์แวร์ หรือแพลตฟอร์มแบบฟรี ๆ แต่จะใช้งานได้เพียงฟีเชอร์ในระดับพื้นฐานเท่านั้น หรือมีโฆษณาแทรกในระหว่างการใช้งาน
แต่หากต้องการใช้ฟีเชอร์ที่เพิ่มขึ้น หรือไม่มีโฆษณาแทรก จะต้องจ่ายค่าบริการ Subscription ตามที่เจ้าของซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มเป็นผู้กำหนด
ตัวอย่างของสินค้าที่มีการตั้งราคาแบบ Freemium Pricing
- Spotify ที่ให้ฟังเพลงฟรี แต่มีโฆษณาแทรก ซึ่งถ้าอยากฟังแบบไม่มีโฆษณาแทรก ก็จะต้องเสียค่าสมัครสมาชิกรายเดือน
- ซอฟต์แวร์ Anti-Virus บนคอมพิวเตอร์ ที่มีฟีเชอร์ป้องกันคอมพิวเตอร์แค่ในระดับพื้นฐาน แต่ถ้าอยากได้ฟีเชอร์ที่มากขึ้น ก็ต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติม
4. Subscription Pricing
เป็นการตั้งราคาสินค้าแบบจ่ายเงินรายเดือน หรือรายปี เพื่อใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์ตามความต้องการของลูกค้า
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว สินค้าที่มีการตั้งราคาแบบ Subscription Pricing มักเป็นสินค้าที่เป็นซอฟต์แวร์ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Spotify, Netflix, Google Drive และ iCloud
แต่ในช่วงหลัง ๆ ก็เริ่มเห็นสินค้าชนิดอื่นใช้กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าแบบ Subscription Pricing เช่นกัน
เช่น เครื่องกรองน้ำ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ใช้การทำสัญญาเช่าซื้อโดยจ่ายเงินเป็นรายเดือน คล้าย ๆ กับการ Subscription โดยที่ลูกค้าไม่ต้องจ่ายเงินก้อนเพื่อซื้อสินค้า
นอกจากนี้ การตั้งราคาสินค้าแบบ Subscription Pricing อาจแบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็น
- การตั้งราคา Subscription ตามปริมาณการใช้งานมาก-น้อย เช่น Dropbox
- การตั้งราคา Subscription ตามจำนวนผู้ใช้งาน เช่น Zoom
- การตั้งราคา Subscription ตามจำนวนฟีเชอร์ที่ต้องการใช้งาน เช่น Canva
5. Volume Pricing
เป็นกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าตามจำนวนสินค้าที่ซื้อ ยิ่งซื้อมาก ราคาต่อหน่วยยิ่งถูกลง ซึ่งคนไทยน่าจะคุ้นเคยกับการตั้งราคาสินค้าในรูปแบบนี้กับร้านค้าประเภท “ขายส่ง”
ไม่ว่าจะเป็น สินค้าอุปโภค บริโภค เสื้อผ้า สินค้าแฟชั่น สินค้าเทคโนโลยี ก็มักมีการตั้งราคาในรูปแบบนี้แทบทั้งสิ้น
โดยที่การตั้งราคาสินค้าแบบ Volume Pricing อาจมีการแบ่งราคาเป็น Tier ที่แตกต่างกัน ตามปริมาณการซื้อสินค้า เช่น หากซื้อสินค้าชิ้นเดียว จะขายในราคาชิ้นละ 50 บาท แต่หากซื้อสินค้า 10 ชิ้นขึ้นไป จะขายในราคาชิ้นละ 45 บาท
6. Loss Leader Pricing
คือการตั้งราคาสินค้าแบบตั้งใจขายขาดทุน หรือได้กำไรในอัตราที่ต่ำมาก ๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าอื่น ๆ ในร้าน
ตัวอย่างเช่น
- การหมุนเวียนในการจัดโปรโมชันสินค้าบางชนิดในซูเปอร์มาร์เก็ต ที่เน้นขายถูกกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตที่อื่น ๆ แต่เมื่อลูกค้าเข้ามาแล้ว ก็อาจได้สินค้าชนิดอื่น ซึ่งได้กำไรสูงกว่าติดไม้ติดมือกลับไปด้วย
7. Geographic Pricing
เป็นกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าตามสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน เป็นผลมาจากความแตกต่างด้านต้นทุนการผลิต การขนส่ง อัตราภาษี และความเต็มใจที่จะจ่ายของลูกค้า
ตัวอย่างเช่น
- สินค้าในร้านสะดวกซื้อบนเกาะ อาจมีราคาที่สูงกว่าปกติ เนื่องจากมีต้นทุนการขนส่งทางเรือที่เพิ่มขึ้น
- ธุรกิจขนส่ง ที่คิดค่าขนส่งแพงขึ้น เมื่อส่งสินค้าไปยังพื้นที่ห่างไกล
8. Market-Based Pricing
เป็นกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้า โดยอ้างอิงจากปัจจัยต่าง ๆ ในท้องตลาด เช่น ราคาสินค้าของคู่แข่ง ความต้องการของลูกค้า ต้นทุนการผลิต และ Product Life Cycle ของสินค้าในแต่ละช่วงเวลา
แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อพูดถึงการตั้งราคาสินค้าแบบ Market-Based Pricing คนจะนึกถึงการตั้งราคาสินค้า โดยอ้างอิงจากราคาสินค้าของคู่แข่ง
เช่น สมมติว่าสินค้าของคู่แข่งขายที่ราคา 1,000 บาท สินค้าจากแบรนด์อื่น ๆ ที่จะเข้ามาทำตลาด ก็ควรตั้งราคาใกล้เคียงกัน เพื่อให้สามารถแข่งขันกันได้
ซึ่งกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าแบบนี้ เหมาะกับสินค้าทั่ว ๆ ไป
ยกเว้นแต่ว่า สินค้าของเราเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ มีความแตกต่าง ก็อาจหันไปใช้กลยุทธ์ Premium Pricing ที่ตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่งได้
9. Low-High Pricing
เป็นการตั้งราคาสินค้าให้สูงไว้ก่อน แต่เมื่อลูกค้าจะซื้อสินค้าจริง ๆ ก็จะมีโปรโมชัน ที่ทำให้ราคาสินค้าที่ลูกค้าจะต้องจ่ายจริง ๆ ถูกลง
ยกตัวอย่างเช่น
- ห้างสรรพสินค้า หรือร้านขายเสื้อผ้า ที่มีการจัดโปรโมชันลดราคาตลอดทั้งปี เพื่อดึงดูดลูกค้าที่ต้องการประหยัดเงิน หรือกลุ่มลูกค้าที่มีความอ่อนไหวต่อราคาสูง (High Price Sensitivity) ให้ตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
10. Hourly Pricing
เป็นกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าที่มักใช้กับการบริการต่าง ๆ เช่น บริการทำความสะอาด นวดแผนไทย หรือบริการซ่อมแซมต่าง ๆ ที่มีการคิดค่าแรงเป็นรายชั่วโมง
โดยยิ่งใช้บริการนาน ราคาที่ลูกค้าจะต้องจ่ายก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
แตกต่างจากการตั้งราคาสินค้าแบบ Project-Based Pricing ที่คิดค่าบริการแบบเหมา ไม่ว่าจะใช้บริการนานเพียงใด ก็จ่ายเงินในเรตราคาที่ตกลงกันไว้
●
https://adaddictth.com/knowledge/9-Pricing-Strategies
●
https://zapier.com/blog/pricing-strategy/
●
https://www.reactev.com/blog/market-pricing
●
https://www.marketthink.co/54596
●
https://commercetools.com/blog/top-ecommerce-pricing-strategies-for-businesses-in-2024
●
https://dealhub.io/glossary/economy-pricing/
●
https://competera.ai/resources/articles/economy-pricing-your-key-to-competitive-pricing-strategy
●
https://www.indeed.com/career-advice/career-development/geographical-pricing
●
https://www.shopify.com/blog/what-is-premium-pricing
การตั้งราคา
กลยุทธ์การตั้งราคา
13 บันทึก
18
10
13
18
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย