Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Is Life
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 12:46 • ข่าวรอบโลก
นักวิจัยถูกนายจ้างไล่ออก หลังปฏิเสธการขึ้นเครื่องบินกลับมาทำงาน เพราะไม่อยากปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ชายคนนี้มีชื่อว่า ดร.จานลูกา กริมัลดา เป็นนักวิจัยด้านสภาพอากาศชาวอิตาลี
เดือนตุลาคมเมื่อสองปีก่อน เขาถูกสถาบัน Kiel Institute for the World Economy (IfW) เลิกจ้างอย่างกระทันหัน
สาเหตุเป็นเพราะ นักวิจัยปฏิเสธการขึ้นเครื่องบินจากประเทศปาปัวนิวกินี กลับมายังประเทศเยอรมัน หลังจากทำงานเสร็จ
ดร.จานลูกา บอกกับที่ทำงานว่า “ขอเดินทางแบบช้าๆ” ไม่อยากรีบเร่งเดินทางด้วยเครื่องบินโดยสาร
แม้ทาง (ที่บริษัทเลือกให้) จะเร็วกว่า แต่มันปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะกว่า
ขอต่อรถเมล์ ลงเรือ นั่งรถไฟ เดินทางแบบคาร์บอนต่ำเพื่อไม่ทำร้ายโลกไปมากกว่าเดิม
ในตอนนั้น ดร.จานลูกา ได้ทำเรื่องขอลางานไว้ล่วงหน้า เพื่อใช้เวลาเดินทางได้ตามที่ต้องการ
แต่ต้นสังกัดปฏิเสธ พร้อมกำชับว่า ต้องกลับมาถึงที่ทำงานภายใน 5 วัน ไม่เช่นนั้นจะถูกไล่ออก
แถมก่อนหน้านั้นสถาบันวิจัยเคยอนุญาตให้ ดร.จานลูกา ทำอย่างนั้นแล้วครั้งหนึ่งในการเดินทางขาไป
ผ่านการขึ้นรถโดยสารสาธารณะ รถทัวร์ รถไฟ ลงเรือขนส่งสินค้า ใช้เรือข้ามฟากเป็นบางช่วง
เส้นทางบางช่วงที่ต้องเดินทางผ่านปากีสถานยังต้องใช้ตำรวจคุ้มกัน
เป็นการเดินทางที่ไม่ง่าย (แค่นึกถึงเรื่องการเตรียมวีซ่าก็เหนื่อยแล้ว) แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้
และ ดร.จานลูกา กริมัลดา พิสูจน์แล้วว่าทำได้
ใช้เวลาเดินทางรวมทั้งหมด 35 วัน จากระยะทาง 27,000 กิโลเมตร
แต่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าการบิน 10 เท่า
ประหยัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ประมาณ 4.5 เมตริกตัน
อย่างไรก็ดี ในมุมของนายจ้าง เหตุที่ต้องเร่งให้นักวิจัยเดินทางกลับให้เป็นไปตามกำหนด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเวลางานเลยกำหนดมาแล้ว และเป็นเหตุไม่คาดคิดจากปัจจัยภายนอกที่ไม่มีใครอยากให้เกิด
ดังนั้น จึงไม่ควรใช้วิธีเดินทางแบบเดียวกับขาไป
และปกติในการส่งนักวิจัยไปยังสถานที่ห่างไกล IfW จะซื้อคาร์บอนเครดิตชดเชยการบินอยู่แล้วด้วย
เหตุการณ์นั้นจบลงที่ ดร.จานลูกา ได้ฟ้องต่อศาลแรงงาน เพื่อของานคืน แต่แพ้ในศาลชั้นต้น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567
ผู้พิพากษาเสนอการประนีประนอม โดยนักวิจัยจะไม่ได้รับงานคืน แต่ให้ขยายจ้างออก เพื่อให้เขาได้รับเงินค่าจ้างอีก 2 เดือน
แต่นักวิจัยไม่ยอมแพ้ เพราะเขาต้องการสื่อว่า “เป็นไปไม่ได้ที่จะมีคนถูกไล่ออกเพียงเพราะพวกเขาปฏิเสธการขึ้นเครื่องบิน”
จนล่าสุดกลางเดือนมกราคม 2568 ศาลอุทธรณ์ก็พิจารณาว่า เป็นงานเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โดย IfW ยอมจ่ายเงินชดเชยเป็นจำนวน 75,000 ยูโร หรือประมาณ 2,600,000 บาท
ซึ่งนักวิจัยบอกว่า จะนำไปบริจาคให้กับกิจกรรมปกป้องสิ่งแวดล้อม และใช้ในงานรณรงค์
ดร.จานลูกา กริมัลดา ออกมาเปิดเผยภายหลังว่า “รู้สึกเศร้าและมีความสุขในเวลาเดียวกัน”
เขาเสียใจเพราะต้องสูญเสียงานที่รักไป
แต่ก็สุขใจ ที่ผู้พิพากษาเข้าใจในเหตุผล และเห็นว่าการไล่ออกจากเรื่องนี้เป็นความผิดปกติ
ทางด้านทนายที่ว่าความไว้ ดร.จานลูกา บอกว่า คดีนี้ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ และย้ำถึงความสัมพันธ์ที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างกฎหมายแรงงานและแนวทางปฏิบัติที่คำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ
และถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการอภิปรายเกี่ยวกับสิทธิของพนักงานในการยืนหยัดเพื่อหลักการด้านสภาพภูมิอากาศ
และถึงเวลาแล้วที่ผู้กำหนดนโยบายและกลุ่มการเจรจาต่อรองร่วม เช่น สหภาพแรงงาน จะต้องคำนึงถึงความเชื่อเหล่านี้และบรรจุไว้ในสิทธิแรงงาน
ดร.จานลูกา กริมัลดา ยังเล่าอีกว่า การเดินทางไกลครั้งนั้นทำให้เขาได้พบผู้คนเป็นจำนวนมาก และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยน นำเสนอปัญหาวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ผู้คนข้างทางได้รู้
“ฉันแค่อยากสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนทำบางสิ่งบางอย่างที่แปลกใหม่หรือคิดนอกกรอบ” Grimalda กล่าวสรุป
“เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อเอาชนะความกลัวของตนเอง ซึ่งจะทำให้มีวิถีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้น”
อ้างอิง
This Italian climate researcher was fired for refusing to fly - now he’s won compensation
https://shorturl.asia/GdLhf
‘I'm not going to give up on my principles’: Meet the Italian scientist fired for refusing to fly
https://shorturl.asia/SkHZj
Klimaforscher verliert vor dem Arbeitsgericht
https://shorturl.asia/CumiU
ข่าวรอบโลก
สิ่งแวดล้อม
เรื่องเล่า
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย