Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Principle Law & Advisory
•
ติดตาม
22 ม.ค. เวลา 04:39 • ธุรกิจ
Principle Law and Advisory Co., Ltd.
[PDPA: The Series] EP 6: บทลงโทษและค่าปรับตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตอนที่ 3
นอกเหนือจากบทลงโทษทางแพ่งและบทลงโทษทางอาญาที่เราได้กล่าวถึงมาแล้วในสอง EP. ก่อนหน้านี้ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังได้กำหนดโทษทางปกครองโดยมุ่งเน้นไปที่การปรับเงินตามความร้ายแรงของการกระทำผิดด้วย ซึ่งโทษทางปกครองตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้นสามารถสรุปได้ดังนี้
1. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1,000,000 บาท
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องระมัดระวังในกรณีต่อไปนี้ซึ่งหากไม่ดำเนินการตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจจะถูกโทษปรับทางปกครองสูงสุด 1,000,000 บาทได้ เช่น การไม่ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลในรูปแบบที่คณะกรรมการกำหนด (มาตรา 19 วรรคสาม) หรือการไม่แจ้งผลกระทบจากการถอนความยินยอม (มาตรา 19 วรรคหก) เป็นต้น
นอกจากนี้ หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด(มาตรา 23) ก่อนหรือระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ไม่แจ้งวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม หรือ ระยะเวลาในการเก็บรวบรวม เป็นต้น หรือหากไม่ดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลในการเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูล (มาตรา 30 วรรคสี่) ก็จะถือเป็นการกระทำผิดและอาจได้รับโทษปรับทางปกครองได้
และที่สำคัญการไม่ทำบันทึกรายการเกี่ยวกับกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (RoPA) ตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง ก็เป็นอีกหนึ่งที่สามารถถูกลงโทษปรับได้ หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด หรือในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง ก็เป็นเหตุให้ต้องรับโทษปรับทางปกครองตามกฎหมายคุ้มครองส่วนบุคคลได้เช่นกัน
2. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 3,000,000 บาท
โทษปรับทางปกครองสำหรับการละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจสูงสุดถึง 3,000,000 บาทได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ทำการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 21) หรือกรณีที่ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมโดยไม่จำเป็น (มาตรา 22) ซึ่งเป็นการละเมิดหลักการของการเก็บข้อมูลเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลเก็บข้อมูลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีฐานทางกฎหมายอื่นรองรับ (มาตรา 24) หรือ กรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งอื่น โดยไม่ได้ปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย เช่น ไม่ได้แจ้งถึงการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งอื่นให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบโดบไม่ชักช้าตามมาตรา 25 เป็นต้น
อีกหนึ่งประการที่องค์กรมักมองข้ามจนส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะโดนโทษทางปกครองได้ คือ เมื่อเจ้าของข้อมูลใช้สิทธิในการคัดค้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล แต่ผู้ควบคุมข้อมูลยังคงใช้ข้อมูลต่อไป หรือกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลไม่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น กรณีมีเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล แต่ไม่แจ้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ถึงการละเมิดภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่ทราบเหตุ ตามมาตรา 37 (4) หรือการขอความยินยอมโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าของข้อมูลเข้าใจผิดวัตถุประสงค์ เป็นต้น
3. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5,000,000 บาท
โทษปรับทางปกครองในกรณีความผิดที่มีความร้ายแรงอาจสูงถึง 5,000,000 บาท เช่น การฝ่าฝืนตามมาตรา 26 กล่าวคือ เมื่อผู้ควบคุมข้อมูลเก็บรวบรวมข้อมูลอ่อนไหว เช่น ข้อมูลทางเชื้อชาติ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ซึ่งถือเป็นการละเมิดที่มีผลกระทบสูงต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูล
หรือกรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือเปิดเผยข้อมูลอ่อนไหวตามมาตรา 26 โดยไม่ได้รับความยินยอม หรือนอกขอบเขตวัตถุประสงค์ตามมาตรา 27 หรือกรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลอ่อนไหวตามมาตรา 26 ไปต่างประเทศ โดยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 28 และ 29
การลงโทษปรับทางปกครองจะมีบทลงโทษที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญมีอำนาจในการพิจารณาและสั่งลงโทษ รวมถึงการตักเตือนก่อนที่จะสั่งลงโทษปรับ โดยคณะกรรมการจะพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมการกระทำผิด ขนาดของกิจการและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง
จะเห็นได้ว่ากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมีบทลงโทษที่ร้ายแรง ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัดเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษตามกฎหมายและเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือขององค์กร
ที่มา :
https://pdpathailand.com/news-article/pdpa-3-type-penalty/?srsltid=AfmBOoqfC-wQgwfE9lbyOElSsqKFUCYlXwpKFRyv5L03pljZGs8BCYld
.
.
Principle Law & Advisory
www.principlethailand.com
Get in Touch :(+66)82–856–3644
attorney@principlethailand.com
.
FB : principlelawandadvisory
Blockdit :
https://www.blockdit.com/principle.law.advisory
Medium :
https://medium.com/@principle.law.advisory
Linkedin :
https://www.linkedin.com/company/principle-law-advisory/
.
#PrincipleLawAndAdvisory #LegalExcellence #YourLegalPartners #BusinessLaw #RealEstateLaw #HotelLaw #TechLaw #StartupLaw #ClientSuccess
principlethailand.com
Home | Principle Law & Advisory
Thailand’s legal advisor with a global practice.
ธุรกิจ
การทำงาน
การลงทุน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย