18 ม.ค. เวลา 10:32 • สุขภาพ

เด็กไทยเกิดน้อยเป็นอันดับ 3 ของโลก แซงญี่ปุ่น

จากการเปิดเผยข้อมูลของ Global Statistics ระบุว่าข้อมูลประเทศไทย มีอัตราการเกิดที่ลดลงมากที่สุด โดยลดลงถึง 81% ในช่วงระหว่างปี 1950 - 2024 ขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก แซงหน้าญี่ปุ่น โดยอันดับ 1 ตกเป็นของกาหลีใต้ ลดลง 88% 2. จีน ลดลง 83% 3. ไทย ลดลง 81% 4. ญี่ปุ่น ลดลง 80% และ 5. อิหร่านลดลง 75%
3
สังคมไทยกำลังเข้าสู่ "สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์" (Super-Aged Society) เร็วยิ่งขึ้น
โดยประเทศไทยกำลังเผชิญกับอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างรวดเร็ว จากสถิติที่ผ่านมา อัตราการเกิดเฉลี่ยต่อผู้หญิงหนึ่งคนลดลงจาก 6.3 คนในปี 1960 เหลือเพียง 1.2 คนในปี 2023 ซึ่งต่ำกว่าระดับทดแทนประชากรที่ 2.1 คน
1
มีหลากหลายปัจจัยที่พาไทยมาถึงจุดๆนี้ แต่โดยรวมแล้วมีปัจจัยหลักๆได้แก่
3
1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ถือเป็นปัจจัยหลักของปัญหานี้ ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก เช่น การศึกษา การดูแลสุขภาพ และค่าใช้จ่ายพื้นฐาน ทำให้คู่สมรสจำนวนมากลังเลที่จะมีลูก อีกทั้งปัญหาความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เช่น หนี้ครัวเรือนสูงและรายได้ที่ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ อีกทั้งขาดแรงจูงใจจากนโยบายของรัฐในการสนับสนุนครอบครัว เช่น การให้เงินช่วยเหลือสำหรับเด็กหรือการดูแลบุตรในที่ทำงาน
4
2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม
1
สังคมในปัจจุบันมุ่งเน้นเรื่องบทบาทที่เท่าเทียมกันในสังคมมากขึ้น ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายแวดวง และมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานมากขึ้น และมุ่งเน้นการพัฒนาตนเองในด้านอาชีพและการศึกษา ส่งผลให้การแต่งงานและการมีลูกถูกเลื่อนออกไป อีกทั้งคู่รักหลายคู่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตส่วนตัวมากกว่าการสร้างครอบครัวขนาดใหญ่เหมือนเช่นในอดีต
5
3. ปัญหาการมีบุตรยาก
1
แต่งงานเมื่อพร้อม แต่บางทีกว่าจะพร้อม หลายอย่างก็ดูเหมือนจะสายไป ผู้หญิงในวัย 30++ เผชิญปัญหามากมายในการมีบุตร ทั้งการมีบุตรยาก ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการมีบุตรช้า อีกทั้งปัญหามลพิษ และความเครียดจากการทำงาน ก็มีผล
อย่างมากต่อการมีบุตร
1
สภาวะที่เป็นอยู่ตอนนี้ทำให้ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานในอนาคต ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ กระทบต่อการสร้างนวัตกรรมและศักยภาพทางการแข่งขันในระดับประเทศ สวนทางกันกับประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น จะเกิดแรงกดดันต่อระบบสวัสดิการ เช่น กองทุนประกันสังคมและงบประมาณด้านสุขภาพ
1
ประเทศไทยเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี 2022 โดยประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มเข้าสู่ สังคมสูงวัยระดับสูงสุด (Super-Aged Society) ในปี 2031 เมื่อประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 28% ของประชากร อัตราส่วนระหว่างวัยทำงานและผู้สูงอายุลดลง จาก 6 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คนในปี 1990 เหลือเพียง 2 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คนในปี 2023 และคาดการณ์ว่าภายใน 70 ปีข้างหน้า ประชากรไทยจะลดลงเหลือครึ่งหนึ่งจากจำนวนปัจจุบัน
2
แน่นอนว่ามาตรการผลักดันแบบปลายเหตุที่ภาครัฐทำอยู่ตอนนี้ นอกจากจะไม่ช่วยให้ปัญหาดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ประชาชนรู้สึกรำคาญและสิ้นหวังในการบริหารงานของรรัฐบาล และแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ คนไทยทุกคน จะต้องได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้แน่นอน
1
อ้างอิง
โฆษณา