19 ม.ค. เวลา 00:36 • หุ้น & เศรษฐกิจ

แพทย์บางคนอาจมีรายได้จากการทำงานหลายประเภท 40(1) 40(2) 40(6) ควรยื่นภาษีให้ถูกต้อง มีข้อสังเกตยังไง

รายได้ 40(1) จะเป็น เงินเดือน, เงิน พตส., P4P, เงินเวรที่ได้จากทางโรงพยาบาลที่ได้ตกลงจ้างตามสัญญาจ้าง
รายได้ 40(2) เงินที่ รพ. จ่ายให้แพทย์ จากการเข้าเวร ตรวจ OPD ที่โรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลที่ทำงานประจำอยู่ ค่าการันตีรายชั่วโมง
ซึ่งรายได้ที่เป็น 40(1) และ 40(2) ต้องนำมารวมกัน หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บ.
เงินได้จากวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลป์ หรือ 40(6) ค่าตอบแทนที่ได้รับไม่แน่นอน เช่น DF (doctor fee) , เปิดคลินิกเองที่ไม่มีผู้ป่วยค้างคืน ซึ่ง 40(6) สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% ไม่มีเพดานแบบ 40(1) หรือเลือกหักตามจริง ซึ่งต้องมีเอกสารยืนยันค่าใช้จ่าย
ถ้าแพทย์ไปรับ job รพ เอกชน หรือ คลินิกอื่น อาจมีความสับสนว่า จะเป็น 40(2) หรือ 40(6) ซึ่งสรรพากร เขียนไว้ว่า
“ สำหรับค่าตอบแทนที่แพทย์ได้รับ ซึ่งจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องปรากฏว่าแพทย์ได้เปิดคลินิกรักษาคนไข้เป็นการส่วนตัว หรือแพทย์ทำสัญญาหรือ ตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือและ อุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของแพทย์ เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วยโดย แพทย์เป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาเองและมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร
หรือแพทย์ทำสัญญาหรือตกลงกับ สถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของแพทย์เพื่อ ตรวจและรักษาผู้ป่วย และมี ข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย โดยสถานพยาบาลเป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาแทนแพทย์ แล้วนำมาจ่ายให้กับแพทย์เพื่อแบ่งรายได้ให้สถานพยาบาล เงินได้ที่แพทย์เรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่เฉพาะส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของสถานพยาบาลออก”
ถ้าเป็น 40(6) แพทย์ต้องเป็นผู้ใช้สถานที่ และรับเงินจากผู้ป่วย แล้วค่อยแบ่งให้ รพ. ดังนั้นการคิดรายได้ จะเป็นแบบนี้ เช่น แพทย์คิด DF 300 บ. แบ่งให้ รพ. 20% = 60 บ. รายได้ที่ต้องนำมายื่นภาษีของแพทย์คือ 300 บ. นะ
ถ้ามีการรันตีราย ชม และแพทย์คิด DF จะเป็น แบบนี้ เช่น แพทย์ได้การรันตี ชม. ละ 400 บ. และตรวจได้ DF 300 บ. ส่วน 300 บ. จะเป็น 40(6) ส่วนที่เหลือที่ รพ ต้องจ่ายเพิ่มให้แพทย์ เพื่อให้ครบการันตีราย ชม. จะเป็น 40(2)
40(6) จะเป็นเงินที่คนไข้จ่ายให้แพทย์ ส่วน 40(2) เป็นเงินที่ รพ. จ่ายให้
40(6) ต้องมีเงื่อนไขเรื่องขอใช้สถานพยาบาลประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้วย
เงินได้ 40(6) สถานพยาบาลไม่ได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ส่วนเงินได้ประเภท 40(1) และ 40(2) สถานพยาบาลมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งสรรพากร ดังนั้นเงินได้ 40(6) สถานพยาบาลอาจให้มาเป็นใบรับรอง ไม่ได้เป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) (ผู้จ่ายเงินเป็นผู้ป่วย ไม่ใช่สถานพยาบาล) และอาจไม่ขึ้นใน Digital My Tax ของสรรพากร
ควรยื่นเงินได้ให้ถูกต้องและเก็บเอกสารไว้ด้วย สรรพากรสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้สูงสุด 5 ปี
#ภาษี #วางแผนภาษี #ค่าใช้จ่าย #มนุษย์เงินเดือน #ยื่นภาษี #คิดภาษี #คำนวณภาษี #ยื่นภาษี #เงินได้ #ประเภทเงินได้ #ค่าใช้จ่าย #หักค่าใช้จ่าย #หมอยุ่อยากมีเวลา #ภาษ๊สำหรับแพทย์ #รายได้แพทย์ #เงินได้แพทย์
โฆษณา