19 ม.ค. เวลา 16:25 • สุขภาพ

คนเราควรนอนตอนกี่โมง ถึงจะดีต่อร่างกาย

ต่อเนื่องกับเรื่องการนอน ผมสังเกตตัวเองมาสักพักแล้วว่า เวลานอนดึกบ่อยๆ อดนอนบ่อยๆ นอนผิดเวลาบ่อยๆ แล้วมานอนเร็วแบบหักโหม เมื่อวานนอนตีห้า วันหยุดกลับมานอนทุ่มนึง นอกจากจะนอนไม่ค่อยหลับแล้ว ตื่นมาก็รู้สึกไม่สดชื่น ไม่อิ่ม ไม่สัมผัสถึงการนอนอย่างที่อยากได้
3
การนอนหลับมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูร่างกายและสมอง การพักผ่อนที่เพียงพอช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ปรับสมดุลของฮอร์โมน และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และจดจำข้อมูล หากเราอดนอนหรือนอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และภาวะซึมเศร้า การนอนจึงสำคัญมากต่อร่างกายของคนเราโดยไม่ต้องสงสัย
1
แล้วเราจะนอนตอนกี่โมงดี
คำแนะนำของ National Sleep Foundation ระบุว่า ความต้องการการนอนหลับจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ ดังนี้:
ทารกแรกเกิด (0-3 เดือน): ควรนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
เด็กเล็ก (4-11 เดือน): ควรนอน 12-15 ชั่วโมงต่อวัน
วัยเด็ก (1-5 ปี): ควรนอน 10-14 ชั่วโมงต่อวัน
วัยรุ่น (14-17 ปี): ควรนอน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
1
ผู้ใหญ่ (18-64 ปี): ควรนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
1
ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป): ควรนอน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
แม้ว่าความต้องการการนอนหลับจะต่างกัน แต่การเลือกเวลาเข้านอนก็มีความสำคัญ หากอ้างอิงจากนาฬิกาชีวภาพของมนุษย์ (Circadian Rhythm) ตาม loop การนอนแบบ non-REM และ REM (ขออนุญาตไม่พูด พูดหลายรอบแล้ว) ซึ่งควบคุมวงจรการหลับ-ตื่นของเรา พบว่าเวลาเข้านอนที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 21.00-23.00 น. เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งช่วยให้เรารู้สึกง่วงและนอนหลับได้ง่ายขึ้น(เป็นข้อมูลภาพร่วม ขึ้นกับเงื่อนไขสุขภาพแต่ละคน)
1
มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนของคนเรา คนเข้าเวรอย่างผมการจัดการเวลานอนก็จะเป็นเรื่องที่ยากนิดนึง(ไม่นิดหรอก) นอกจากนนี้ ความเครียดหรือความวิตกกังวล
สิ่งแวดล้อม แสง เสียง และอุณหภูมิในห้องนอนมีผลต่อคุณภาพการนอนหลับ รวมถึงยาบางชนิด ที่ส่งผลกระทบต่อการนอนของเราได้เช่นกัน
3
นอกจากนี้ จากการทดลองกับตัวเอง ผมก็พบว่า ในช่วงที่ผมกำหนดเวลาเข้านอนและตื่นให้เป็นประจำทุกวัน ทำให้รู้สึกว่านอนดีขึ้น อาจจะไม่ต้องหัวค่ำขนาดนั้น แค่สม่ำเสมอ(ต้องขายเวรให้ได้ด้วย) หลีกเลี่ยงการใช้หน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ลดแสงและเสียงรบกวน หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและอาหารมื้อหนักก่อนนอน(ไม่อ้วนด้วย) และสุดท้ายออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ(ไม่หนักมาก โดยเฉพาะช่วงใกล้เวลานอน) ก็จะทำให้คุณภาพการนอนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
1
อ้างอิง
โฆษณา