Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
AR.CHER.PV
•
ติดตาม
19 ม.ค. เวลา 14:33 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ว่าด้วยเรื่อง “ความสุข”
ในชีวิตประจำวัน เราต้องการสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา หากเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยคงไม่พ้นการอยากได้เกรดดี ๆ รอดพ้นจากเกรดเอฟ หรือรีไทร์ ใกล้ตัวมาอีกหน่อย เวลานี้คุณอาจจะหิวและอยากออกไปหาอะไรสักอย่างมาทาน หรืออยากพักผ่อนนอนดูซีรีส์บนเตียงนุ่ม ๆ หลังจากทำงานที่แสนจะเหนื่อย ความต้องการเหล่านี้เป็นสิ่งปกติในชีวิตมนุษย์ แล้วทำไมล่ะ เราจึงมีความต้องการเหล่านี้ อยู่ ๆ ก็มีหรอ?
นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์หลายท่านไม่ได้มองเรื่องนี้อย่างผิวเผิน แต่คิดลึกลงไปอีกว่าทำไมมนุษย์จึงมีความต้องการ? นักปรัชญาชาวกรีกที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีตอย่างอริสโตเติลได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความต้องการหลากหลายแบบของมนุษย์ เช่น ทำไมต้องทำงาน? เพื่อหาเงิน? ได้เงินมาทำอะไร? ใช้จ่าย? ใช้จ่ายเพื่ออะไร? จนได้คำตอบสุดท้ายของสิ่งที่มนุษย์ต้องการก็คือ “ความสุข”
ในยุคต่อมา เทคโนโลยีและวิทยาการทางชีววิทยามีการพัฒนามากขึ้นจนเราทราบว่าร่างกายมนุษย์ประกอบไปด้วยอวัยวะมากมาย และอวัยวะเหล่านั้นทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบโดยมีศูนย์กลางการควบคุมกลไกการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย นั่นก็คือ “สมอง” และแน่นอนว่าความสุขก็เป็นหนึ่งในกลไกนั้น การที่เรารู้สึกสุขเป็นผลจากการที่สมองหลั่งสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า “โดปามีน”
จริง ๆ แล้วสารสื่อประสาทที่เกี่ยวกับความสุขมีอยู่หลายชนิด เช่น มอร์ฟีน เซโรโทนิน และเอ็นโดรฟิน สารสื่อประสาทเหล่านี้มีผลทำให้เรารู้สึกในทันที เช่น มอร์ฟีนที่หลายคนรู้จักช่วยในการระงับความเจ็บปวด แต่ “โดปามีน” นั้นแตกต่างออกไป สารนี้ทำให้เรามีความอยากหรือต้องการในสิ่งที่ในปัจจุบันยังไม่มี ทั้งความรักที่หอมหวาน งานที่สมบูรณ์แบบ หรือแม้กระทั่งข้าวสักจานที่คุณกำลังอยากทาน
โดปามีนส่งผลอย่างมากในวิวัฒนาการของมนุษย์ มันทำให้เราอยากรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ อยากไปในที่ที่ไม่เคยไป ทำให้เราได้คำตอบที่เป็นประโยชน์ต่อการเข้าใจและพัฒนาสิ่งต่าง ๆ จนเกิดความรู้หรือสิ่งใหม่ ๆ
จากการที่อริสโตเติลตั้งคำถามว่า “ทำไมมนุษย์จึงมีความต้องการ?” นั่นก็เป็นผลของโดปามีน แน่นอนว่าในข้อดีย่อมมีข้อเสีย เมื่อมีสิ่งที่คุณอยากได้แต่ไม่สามารถได้มาจะรู้สึกอย่างไร? เช่นในกรณีที่คุณอยากได้ไอโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด แต่คุณไม่มีเงินที่จะซื้อมัน หลายคนคงไม่ชอบหรือรู้สึกตรงข้ามกับความสุข นั่นก็คือ “ทุกข์” ใช่แล้วโดปามีนทำให้เกิดทุกข์ได้เช่นกัน
จากทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าสมองของเราควบคุมความรู้สึกต่าง ๆ ผ่านสารสื่อประสาท สารสื่อประสาทที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ “โดปามีน” ซึ่งเกี่ยวข้องกับความอยากได้ในสิ่งที่ไม่มี หากเราได้รับสิ่งที่อยากได้ เราก็จะรู้สึกสุข แต่หากเราไม่ได้สิ่งนั้น เราก็จะเกิดความทุกข์ โดปามีนจึงเป็นสารที่เป็นทั้งพรและคำสาปของมนุษย์เรา
อ้างอิง:
Lieberman, D. Z., & Long, M. E. (2018). The Molecule of More: How a Single Chemical in Your Brain Drives Love, Sex, and Creativity—and Will Determine the Fate of the Human Race. BenBella Books
วิทยาศาสตร์น่ารู้
วิทยาศาสตร์สุขภาพ
เรื่องราววิทยาศาสตร์
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย