20 ม.ค. เวลา 01:06 • การตลาด

การตลาดที่เอาแต่ Sale แต่ไม่มี Sense จะไปไม่รอด!

นักการตลาดลองฝึกเอ๊ะให้บ่อย มาเจาะลึกการทำโฆษณา โดยแม่ทัพใหญ่จาก GroupM
🖥️ ข้อมูลการวิจัยของ GroupM เผยให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับโฆษณา
- 38% ของผู้บริโภคกล่าวว่า พวกเขาพบเจอโฆษณาจำนวนมากเกินไป
- 65% รู้สึกว่าโฆษณามีการแสดงซ้ำบ่อยเกินไป
- 41% ระบุว่าพวกเขาเห็นโฆษณาสำหรับสินค้าที่พวกเขาไม่ได้ชื่นชอบ
ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ 79% ของผู้บริโภคชาวไทยได้ดำเนินการเพื่อบล็อกหรือหลีกเลี่ยงโฆษณาบนอุปกรณ์ของตัวเอง
🌏 จากข้อมูลนี้กำลังบ่งบอกอะไรให้กับคนทำโฆษณาในปี 2025 ?
เมื่อการทำโฆษณาเปลี่ยนไปในทุกยุค ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการสร้างกลยุทธ์การตลาดแบบข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-Platform Marketing) เพียงอย่างเดียว หรือต่อวันนี้คุณมีการวางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน (Strategic Planning) แต่คุณกลับไม่เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างแท้จริงก็ไม่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้ แต่ในยุคนี้การคำนึงถึงเรื่องของ สร้างการเชื่อมโยงที่มีความหมาย (Meaningful Connections) ก็สำคัญไม่แพ้กัน ว่าเราจะทำอย่างไรไม่ให้สร้างความรู้สึกหนักใจ หรือรบกวนผู้ชม รบกวนลูกค้าของเราจากโฆษณามากเกินไป
วันนี้ CREATIVE TALK ได้รับเกียรติจากแม่ทัพใหญ่แห่ง GroupM คุณปัทมวรรณ สถาพร CEO - GroupM Thailand ถึงมุมมองการทำโฆษณา และการทำการตลาดในปี 2025 ทิศทางในปีนี้จะเป็นอย่างไร มีเรื่องไหนที่นักการตลาด และคนทำธุรกิจควรจะต้องรู้ และปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง!
คุณปัทมวรรณ สถาพร CEO - GroupM Thailand
🚫 ปีนี้! หนึ่งในประเด็นที่กลับมาทวนคือเรื่องของการ Block และ Avoid ในการดูโฆษณา
เริ่มต้นจากคำว่า Block คือการเราอาจจะซื้อ Premium Features จากแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง เพื่อไม่ให้เห็น Ads จากการรบกวนดูสิ่งที่เราสนใจ ส่วน Avoid คือการที่เราเห็นโฆษณา แต่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามไม่สนใจ กด Skip ทันที หรือไม่ดูเลย!
จากข้อมูลข้างต้นที่บ่งบอกว่า 79% ของผู้บริโภคชาวไทยได้ดำเนินการเพื่อบล็อกหรือหลีกเลี่ยงโฆษณาบนอุปกรณ์ของตัวเอง แม้ตัวเลขอัตราการ Block จะสูงแต่กลับไม่น่าเป็นห่วงมาก เพราะสิ่งที่น่าเป็นห่วงกว่าคือการไม่ดูโฆษณาเลย
🤔 ทำโฆษณาในยุคนี้ เพื่อลดอัตราการถูก Block และ Avoid ในปี 2025 ต้องเริ่มต้นตั้งสติ แล้วแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ?
✨ 1. Time and Placement
สิ่งสำคัญคือคุณต้องรู้ว่าผู้บริโภคอยู่ในโหมดไหน คนมักบอกว่าสื่อ TV จะตายหายไป แต่จริง ๆ ไม่ใช่ ทุกวันนี้คนยังเปิดทีวีดู ยังมีโฆษณาในทีวีอยู่ หรือ OOH (Out Of Home) สื่อนอกบ้านอย่างป้ายบน BTS หรือโฆษณาตามสถานที่ต่าง ๆ สื่อนอกบ้านก็ยังถูกใช้อย่างกว้างขวางเช่นกัน
ทุกสื่อ ทุกพื้นที่ มีความสำคัญ อยู่ที่เราจะปรับโหมดการมอง ปรับโหมดการเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคกับแบรนด์เราอย่างไร การเลือกเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมสำคัญมากในการทำโฆษณา เพื่อให้ข้อความหรือเนื้อหาไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
✨ 2. Access and Content
ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาการสื่อสาร สินค้า, บริการ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่สื่อสารออกไปมันเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ทำโปรดักต์น้ำมันเครื่อง แต่เอาเด็กเข้ามาอยู่ในโฆษณา บางคนอาจจะมองว่าเอ๊ะ! มันใช่หรอ แต่ถ้าเราเข้าใจลึกกว่านั้น ใน Target นี้ที่เรากำลังอยู่มันมีผู้ชายที่มีลูกเล็ก เรารู้พฤติกรรมเชิงลึกขนาดนั้นไหม เรา Personalize ได้ขนาดนั้นไหม รวมไปถึงการครีเอตเนื้อหาให้น่าสนใจตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภค
เพราะเมื่อไหร่คอนเทนต์มันถูกต้อง มันจะวิ่งกลับไปที่ Time and Placement เมื่อคอนเทนต์ที่ใช่ มาในจังหวะเวลาและสถานที่ ที่ใช่ มันจะสร้างอิมแพคกับผู้บริโภค เพราะเขาสนใจเนื้อหา โฆษณาที่เขาดูมันคุ้มค่ากับการรับชมเพราะมันตรงกับพฤติกรรมในช่วงเวลานั้นของเขานั่นเอง
✨ 3. Qualitative (การเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง)
ไม่ว่าจะทำธุรกิจ หรือทำการตลาดเราไม่อาจคาดเดาได้อีกแล้ว ทุกวันนี้เรามีการใช้ Data Point มาอ่าน มาทำความเข้าใจ เพื่อเห็นเป็นเปอร์เซ็นต์ และลึกเข้าไปอีกนั่นคือ Qualitative คือการมองลึกเข้าไปในความหมายและเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่ไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่เข้าใจความรู้สึก ความคิดเห็น หรือพฤติกรรมในบริบทที่ซับซ้อนของผู้บริโภคที่ต้องปรับให้เข้ากับทุกสถานการณ์
ตัวอย่างเช่น เรื่องการถูก Block ทำไมลูกค้าถึง Block แล้วเขา Block เราอย่างไร ต้องรู้ให้ได้ว่าอะไรที่จะส่งผลให้เขา Block โฆษณาของเรา นี่คือการลงลึกในระดับ Qualitative โดยการนำทั้งตัวเลขจาก Data และการเข้าใจ Qualitative มาผสมผสานกันเป็นข้อมูลชุดใหม่ ซึ่งอาจจะเริ่มเก็บข้อมูลเชิงลึกจากการ การสัมภาษณ์ (Interviews), การสนทนากลุ่ม (Focus Groups) หรือการสังเกตการณ์ (Observations) ก็ได้เช่นกัน
สุดท้ายนี้คีย์สำคัญที่สุดนอกเหนือจากการมีข้อมูลที่ดีแล้ว “คน” ที่วิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำก็สำคัญ เสมือนกับการมีของครบทุกอย่าง แต่คนที่จะรังสรรค์ของเหล่านี้สำคัญไม่แพ้กัน เมื่อมีวัตถุดิบที่ดีแล้ว ก็ต้องมีคนทำงานที่เข้าใจวัตถุดิบและต่อยอดมันได้จริง!
✨ 4. อย่ารีบใช้ Influencers โดยหวังพึ่งแต่คนดัง และตั้งโจทย์ที่ไม่ชัดเจน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าบ้านเรา Mega influencers หรือดาราที่เรารู้จักได้รับความนิยมอย่างมาก และยังมี Macro Influencer, Micro Influencer และ Nano Influencer กลายเป็นว่ายุคนี้ใครเป็น influencers ได้หมดแล้ว แต่โจทย์สำคัญกว่านั้นของนักการตลาดในยุคนี้ คือคุณต้องรู้โจทย์ตัวเอง เข้าใจวัตถุประสงค์อย่างแม่นยำ
ตัวอย่างเช่น คุณใช้ Mega influencers หมายความว่าคุณต้องการ Awareness (การรับรู้) ที่เร็วมากพอ นี่คือมิติของการรับรู้ที่เร็ว เห็นสินค้าเร็ว เห็นบริการต่าง ๆ ที่มากพอ แต่ไม่ได้หมายถึงผู้บริโภคจะเชื่อว่าดาราคนนี้ใช้จริงนะ แต่เป้าหมายชัดเจนว่าต้องการ Awareness อย่างรวดเร็ว
หรืออีกตัวอย่างถ้าหากเป้าหมายเราต้องการเรื่องของ Engagement (การมีส่วนร่วม) แสดงว่าคุณก็อาจจะเริ่มใช้ Micro Influencer และ Nano Influencer ที่มีความใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น เพราะการรีวิวของคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้จริง ซึ่งมันอาจจะไม่ Awareness เร็ว แต่โจทย์เราคือต้องการให้ผู้บริโภครู้สึกมีส่วนร่วม รู้สึกเป็นกันเอง ไม่ใช่การ Awareness ที่เร็ว
✨ 5. ฝึกเอ๊ะให้มาก! ทำการตลาดถ้าคิดแต่จะ Sale แต่ไม่มี Sense อยู่ไม่รอด!
หน้าที่ของนักการตลาดก็มักจะคาดหวังเรื่องของ Sale เป็นปกติ คือเราจะขายของอย่างไรให้ได้เยอะที่สุด ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่คนส่วนใหญ่ใช้คือ Influencer Marketing จำไว้ให้ดีว่าในวันนี้ผู้บริโภคฉลาดขึ้น เขารู้ว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง หรือแบรนด์นี้จริงใจ แบรนด์นี้หวังแต่ผลประโยชน์
สิ่งสำคัญของคนทำแบรนด์ และนักการตลาดทุกคนคือต้องฝึกเอ๊ะ! ฝึกให้เป็นทักษะ ฝึกให้เป็นนิสัยได้ยิ่งดี อย่ารีบทำ อย่ารีบคิด แต่เผื่อใจเอ๊ะไว้บ้าง ว่าถ้าทำแบบนี้จะส่งผลกระทบอะไรบ้าง ว่ามันถูกต้องในสิ่งที่ทำไหม หรือถ้าข้อมูลนี้ไปอยู่ในมือของ Influencer ซึ่งมันอาจจะควบคุมไม่ได้ทั้งหมด เรามั่นใจหรือไม่ว่าถูกต้อง ถ้าอยาก Gain Trust จากผู้บริโภค วันนี้เราเชื่อมั่นในคุณค่าแบรนด์ เชื่อในสิ่งที่ทำของเรามากพอแล้วหรือยัง
มีข้อมูลที่น่าสนใจเป็นเคสเกี่ยวกับหลาย ๆ องค์กรที่ทำเรื่อง Beauty ว่าเขาจะไม่ทำ AI Deepfake เด็ดขาดในการมาพูดเรื่องผิวที่ดี เพราะนั่นหมายถึงคุณกำลังทำลาย Trust ลูกค้าทันที ความเชื่อใจมันจะหายไป แล้วนี่คือการหลอกลวงอย่างหนึ่ง ดังนั้น Trust จะเกิดขึ้นได้คุณต้องมีจริยธรรม หรือถ้าเราทำสิ่งนี้แล้วญาติพี่น้อง พ่อแม่เราเชื่อแล้วใช้ เราพอใจไหม เราโอเคไหมถ้าเขาเจอแบบนี้ ถ้าคำตอบคือไม่ อย่าหาทำ!
✨ 6. การมีพาร์ทเนอร์ที่ดีสำคัญมาก!
หากปัญหาเกิดไปแล้ว การคุยกับแพลตฟอร์มตรงเพื่อศึกษาช่วยได้! เช่น การคุยกับแพลตฟอร์มที่เรากำลังเผชิญอยู่โดยตรง ว่าเราจะทำอย่างไรให้มันไม่ Inclusive หรือการเหมารวมของข้อมูล เพื่อจะได้วัดผลที่ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นในการ Block และ Avoid ซึ่งการทำงานร่วมกับพาสเนอร์เป็นอีกจุดที่สำคัญในการจัดการเรื่องนี้
🤔 และสุดท้ายนี้ อีกประเด็นที่สำคัญของนักการตลาด และคนทำธุรกิจที่นอกเหนือจากการทำโฆษณา คือการกลับมาโฟกัสเรื่องของ Branding ปีนี้กลับมาคิดให้เยอะขึ้นกว่าเดิม ช้าลงได้แต่ต้องชัวร์!
5 เรื่องที่คนทำแบรนด์ และนักการตลาดต้องกลับมาโฟกัสในปี 2025
🎯 [ Brand Purpose เราทำสิ่งนี้เพื่ออะไร ? ]
จุดประสงค์ของแบรนด์ เป็นหัวใจสำคัญที่บอกว่าแบรนด์ของคุณมีคุณค่าอะไร และสิ่งนี้ช่วยเปลี่ยนแปลงโลกหรือสังคมในทางที่ดีขึ้นได้อย่างไร ?
🎯 [ Brand Positioning แบรนด์ของคุณยืนอยู่ตรงไหน ? ]
ต้องรู้ตำแหน่งของแบรนด์ในตลาดให้ชัดเจน ว่าแบรนด์ของคุณแตกต่างหรือโดดเด่นจากคู่แข่งอย่างไร ?
🎯 [ Stand For แบรนด์ของเราสนับสนุนหรือยืนหยัดเพื่ออะไร ? ]
กลับมาทบทวนให้ดี ค้นหาจุดยืนที่ชัดเจนของแบรนด์ในเรื่องที่สำคัญต่อคุณและผู้บริโภค เช่น ความยั่งยืน ความเป็นธรรม หรือคุณภาพ อย่างในวันนี้เรื่องของ Sustainability ปีนี้ก็วนกลับมาอีกแล้ว เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ปีก่อนเราเห็นว่าน้ำท่วมเกิดขึ้น
ซึ่งในปีนี้แบรนด์ที่ For Good หรือแบรนด์ที่ทำสิ่งดี ๆ แบรนด์สามารถเข้ามาโฟกัสได้จริง เราจะมีมิติตรงนี้เพิ่มขึ้น ถ้าจุดยืนคุณชัด คุณจะได้เปรียบมาก ๆ ในการสร้าง Branding และที่สำคัญต้องทำด้วยความจริงใจ ไม่ใช่เพียงเพราะกระแส แต่ต้อง believe จากใจจริง
🎯 [ Target Consumer เรากำลังสื่อสารกับใคร ? ]
วันนี้กลับมาดูว่ากลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) ของเราคือใคร หรือต้องลงให้ลึกไปกว่านั้นอีก วันนี้ Consumer ของเราเปลี่ยนไปไหม และเราจะพัฒนาอะไรเพิ่มเติมได้บ้าง เราต้องเข้าใจ Behaviour ของ Consumer ว่าเขาต้องการอะไรจาก Product & Service ของเรา ?
🎯 [ โฟกัสเรื่องของ Innovation หรือ Collaboration ]
นอกเหนือจากการวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันเพื่อปรับตัวสินค้าและบริการ รวมถึงพิจารณานวัตกรรมใหม่ ๆ (Innovation) หรือการร่วมมือกับแบรนด์ (Collaboration) ก็สำคัญมาก วันนี้เราอยู่เพียงลำพังไม่ได้ การมีพาสเนอร์ที่ดีสำคัญ เพื่อขยายขอบเขตความเป็นไปได้ใหม่ ๆ มากขึ้น
แม้ช่วงนี้จะมีเรื่องของ Value-Conscious หรือการตระหนักรู้ของผู้บริโภค เพราะทุกวันนี้ผู้บริโภคจะคิดเยอะขึ้น จะจ่ายอะไรก็คิดละเอียดขึ้น แต่ในทางกลับกันก็มีอีกส่วนที่ชอบอะไรที่เป็น Limited Edition ตัวอย่างที่ทุกคนคุ้นเคยนั่นคือ Popmart แบรนด์ที่ใช่คำว่าอยู่มาสักพักแล้ว และสินค้าก็ไม่ใช่ถูก ๆ แต่ทำไมเขาถึงจับตลาดได้ หนึ่งในนั้นคือการ Collaboration กับศิลปินมากมาย เมื่อไหร่ที่สินค้ามีจำนวนจำกัด และเป็นที่สนใจก็มักจะซื้อหมดในทุกครั้ง นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างของแบรนด์ที่มี Brand Positioning ชัดเจน
สุดท้ายนี้ด้วยความตั้งใจของ Thailand Digital Playbook 2025 โดย GroupM ได้นำเสนอข้อมูล Trends, Insight เพื่อเป็นแนวทางให้กับทุกอุตสาหกรรม และนักการตลาด เสมือนคู่มือเล็ก ๆ ในการนำไปต่อยอดในการทำการตลาด และการทำธุรกิจในปี 2025 นี้
สามารถดาวน์โหลดเนื้อหา
Thailand Digital Playbook 2025 โดย GroupM เพิ่มเติมได้ที่
✍🏻 สัมภาษณ์ เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
🎨 ภาพประกอบ: อลิสา อรุณสิริเลิศ
โฆษณา