20 ม.ค. เวลา 07:13 • ธุรกิจ

'การขนส่งทางราง'กุญแจสำคัญสู่โลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในปี 2568 ลดก๊าซเรือนกระจก 15-20 ล้านตัน CO₂e

การพัฒนาระบบรางช่วยเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางของไทยจาก 1.68% ในปี 2562 เป็น 2.21% ในปี 2566 คาดลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ลงต่อเนื่องแตะ 12.8% ในปี 2568 ช่วยเศรษฐกิจไทยประหยัดได้รวม 234,000 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 15-20 ล้านตัน CO₂e หนุนศักยภาพการแข่งขันและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
การพัฒนาระบบขนส่งทางรางของไทยกำลังเป็นกุญแจสำคัญในการลดต้นทุนโลจิสติกส์และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในเวทีโลก โดยในปี 2568 ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP คาดว่าจะลดลงเหลือ 12.8% จากการเพิ่มระยะทางรถไฟทางคู่และเปลี่ยนโหมดขนส่งจากถนนสู่รางที่มีต้นทุนต่ำกว่าเกือบ 3 เท่า ผลสำเร็จนี้ไม่เพียงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ แต่ยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยสำคัญ พร้อมสร้างรากฐานการขนส่งที่ยั่งยืนเพื่ออนาคตของประเทศ
เปลี่ยนโหมดขนส่งจากรถสู่รางลดต้นทุนต่ำกว่าเกือบ 3 เท่า
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีปี 2567 เหลือ 13.6% จากระยะทางของรถไฟทางคู่ที่เพิ่มขึ้น 18.5% ส่งผลให้ทิศทางการเปลี่ยนโหมดขนส่งจากรถสู่รางซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าเกือบ 3 เท่า มีความชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้ คาดปี 2568 ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีของไทยมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันแตะระดับ 12.8% ตามแผนพัฒนารถไฟทางคู่และรถไฟสายใหม่ แนะเร่งเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีในอัตราเร่ง
ไทยมีต้นทุนค่าขนส่งต่อจีดีพีปรับเพิ่มขึ้นเป็น 14.1%
สถานการณ์ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีไทยปี 2566 จากการเปิดเผยของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์)ชี้ว่า ไทยมีต้นทุนค่าขนส่งต่อจีดีพีปรับเพิ่มขึ้นเป็น 14.1% ขยับตัวขึ้นต่อเนื่องจากที่สูงอยู่แล้วในปี 2565 ที่ระดับ 14.0%
โดยถึงแม้ในเชิงรายละเอียดต้นทุนการขนส่งทางบกจะปรับลดลงตามดัชนีขนส่งสินค้า(Shipment Index) และราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวลงจากปีก่อนหน้า แต่ต้นทุนในการขนส่งไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ที่มีสัดส่วนเกือบ 10% ของต้นทุนการขนส่งรวม กลับปรับเพิ่มถึง 31.7% จากทิศทางธุรกิจ e-Commerce ที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องจากกระแส Live Commerce
ซึ่งสถานการณ์ที่ตัวเลขต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีที่ปรับเพิ่มย่อมเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับภาครัฐในการแข่งขันเพื่อดึงดูดการลงทุนของผู้ประกอบการต่างชาติที่ในปัจจุบันไทยก็มีข้อเสียเปรียบในหลากหลายมิติ
ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์
โฆษณา