Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
20 ม.ค. เวลา 11:48 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุป 68 มุมมอง อะไรจะเกิดขึ้นบ้างในปี 2568
ถอดรหัสโอกาสและความท้าทายจากนักเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ จากเวที KKP Year Ahead 2025
โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) และ คุณทวีศักดิ์ เผ่าพัลลภ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บล.เกียรตินาคินภัทร
1. ปี 2025 โลกจะเปลี่ยนแปลงเยอะแน่นอน
2. โลกจะเปลี่ยนไปมากจากการเข้ามาของทรัมป์
3. ความผันผวนในตลาดการเงินน่าจะมาเร็วขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของปีนี้
4. ตลาดหุ้นโลกเป็นขาขึ้นมา 1 ปีแล้ว และแนวโน้มขาขึ้นจะยังไม่จบ
5. ที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ถดถอย และโตเร็วกว่าเศรษฐกิจไทย
6. นโยบายของทรัมป์ ส่วนใหญ่ดีกับสหรัฐฯ แต่กระทบประเทศคู่ค้าให้เกิดความกังวล
7. นโยบายทรัมป์ 2.0 ทำให้ตลาดเคลื่อนไหวเหมือน ทรัมป์ 1.0 แต่ลำดับการใช้นโยบายต่างกัน
8. นโยบายทรัมป์ 1.0 เริ่มต้นด้วยการ “ลดภาษี” และตามด้วย “การกีดกันทางการค้า” แต่ทรัมป์ 2.0 ใช้การกีดกันทางการค้ามาก่อน
9. สหรัฐฯ จะกดดันการค้ากับประเทศต่างๆ ก่อน ถ้าไม่ได้ผล ก็จะขึ้นภาษี
10. สหรัฐฯ กำลังเผชิญกับการขาดดุลการค้า เพราะใช้จ่ายเกินตัว และพบว่าการใช้จ่ายนั้นมาจากภาครัฐเป็นส่วนใหญ่
11. นักเศรษฐศาสตร์มองนโยบายของทรัมป์เป็นผลลบ ตรงข้ามกับนักวิเคราะห์ที่มองว่าเป็นผลบวก
12. นโยบายของทรัมป์ ยังมีความไม่แน่นอนสูง
13. เศรษฐกิจสหรัฐฯ โต เพราะเป็นการเร่งตัวขึ้นจากช่วงโควิด-19 และมีการลงทุนเข้ามามากขึ้น
14. เศรษฐกิจสหรัฐฯ มักชะลอตัวลงเกือบทุกครั้ง เมื่อมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
15. ปี 2025 เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่ยังมีแนวโน้มโตได้ดีกว่าศักยภาพ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีประเด็นน่าเป็นห่วง
16. ดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง แต่อาจจะค้างในระดับสูงไปอีกระยะหนึ่ง
17. ปีนี้ความไม่แน่นอนมีค่อนข้างเยอะ ทำให้การคาดการณ์เศรษฐกิจค่อนข้างยาก
18. เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงเติบโตดีกว่าในภูมิภาคอื่นๆ
19. จีนไม่ได้อยู่เฉยกับทิศทางนโยบายของสหรัฐฯ เพราะพยายามลดการพึ่งพาสหรัฐฯ อยู่ แต่สหรัฐฯ กลับพึงพาจีนมากขึ้น
20. จีนทุ่มการลงทุน แต่ผลตอบแทนที่ได้กลับน้อยกว่าเดิม ทำให้ GDP โตช้า แม้จะลงทุนเท่าเดิม
21. หนี้รัฐบาลกลางของจีนมีน้อย แต่หนี้รัฐบาลท้องถิ่นมีเยอะ และกำลังฉุดรั้งเศรษฐกิจ
22. จุดแข็งของจีน คือเป็นมหาอำนาจในการเป็นผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม คิดเป็นสัดส่วน 35% ของโลก และจีนยังอยากเป็นผู้นำการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่ทันสมัย เช่น EV ด้วย
23. สิ่งที่จีนขาดมีอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ 1. น้ำมันดิบ, 2.บริการ 3.เกษตรกรรม
24. ไทยสามารถหาโอกาสจากสิ่งที่จีนขาดได้
25. จีนต้องนำเข้าอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ และที่ดินก็ลดลง ทำให้จีนนำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
26. ประชากรจีนแก่ตัว ยิ่งทำให้ขาดแคลนอาหาร ความต้องการอาหารของจีนเติบโตมากกว่าของโลกอย่างมาก
27. จีนยังมีปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคการผลิต ภาคการค้า และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
28. แนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปไม่ค่อยดี โตช้าลง ดังนั้นยุโรปไม่ใช่ตัวขับเคลื่อนหลักในเศรษฐกิจโลก
29. ยุโรปมีภาคการผลิตที่น่าเป็นห่วง การเมืองน่ากังวล ต้นทุนพลังงานยังสูง
30. ญี่ปุ่นเศรษฐกิจฟื้นอย่างช้าๆ ในขณะที่นโยบายการเงินยังคงกระตุ้นสวนทางกับประเทศอื่นๆ
31. ญี่ปุ่นยังมีปัญหาหนี้สาธารณะสูง
32. ประเทศไทย ต้องขยายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พยายามทำเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ และเป็น Hub ของอาหารและบริการ
33. ศักยภาพของประไทยถูกกดดัน ถือว่าค่อนข้างเหนื่อย จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เพราะคนน้อยลง แรงงานลด ผู้สูงอายุเพิ่ม
34. ภาคการท่องเที่ยวไทยโตช้าลง มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไม่มากเท่าเดิม
35. การผลิตภาคอุตสาหกรรมไทย ยังอ่อนแอจากการเข้ามาแข่งขันของสินค้าจีน
36. สินเชื่อจากภาคธนาคารยังคงหดตัว กระทบการบริโภคสินค้าคงทน (เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า) ต่อ
37. วงจรสินเชื่อภาคธนาคารกดดันภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง เพราะเมื่อธนาคารไม่กล้าปล่อยกู้ เศรษฐกิจก็ไม่เดิน
38. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจโตได้มากกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย
39. ภาคการท่องเที่ยว และภาคบริการยังคงเป็นเครื่องจักรสำคัญของเศรษฐกิจไทย แต่จะมีกำลังลดลง
40. ภาคอุตสาหกรรมกำลังเผชิญแรงกดดันจากความสามารถในการแข่งขัน
41. ประเทศไทยมีความเสี่ยงจากนโยบายของทรัมป์ เพราะไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในอันดับที่ 12 และที่มาของการเกินดุลค่อนข้างน่าสงสัย
42. สหรัฐฯ มีแนวโน้มให้น้ำหนักกับ “Fair Trade” โดยไทยอาจถูกกดดันให้ลดภาษีในบางสินค้าเพิ่มเติม
43. การย้ายฐานการผลิตส่วนใหญ่ในช่วงที่ผ่านมากระจุกตัวอยู่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์
44. ธนาคารแห่งประเทศไทยมีโอกาสลดดอกเบี้ยนโยบายลงในปีนี้
45. รัฐบาลคาดการณ์ว่าหนี้สาธารณะจะปรับตัวสูงขึ้นจนแตะขอบบนที่ 70% ของ GDP
46. รายรับของรัฐบาลอยู่ในทิศทางขาลง ในขณะที่รายจ่ายโดยเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าในอดีต
47. ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าที่ควรจะเป็น อาจเป็นผลมาจากนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะและมีการเกินดุล
48. ผลตอบแทนหุ้นไทย 5 ปีข้างหน้ามีโอกาสแพ้หุ้นโลก 2-3%
49. มีมุมมองเชิงบวกต่อตราสารหนี้คุณภาพสูงของไทย
50. มีมุมมองเชิงลบต่อค่าเงินบาท
51. ปัญหาเชิงโครงสร้างของไทย กดดันการเติบโตทั้งภาคบริการและภาคการส่งออก
52. คาดกำไรหุ้นไทยโต 3% ต่อปีในระยะยาว และผลตอบแทนหุ้นไทย อยู่ที่ 4.2% ต่อปี เทียบหุ้นโลกที่ 7.7% ต่อปี ในอีก 3-5 ปี ข้างหน้า
53. สินทรัพย์เสี่ยงยังเป็นขาขึ้น ผลตอบแทนยังเป็นบวก แต่น้อยลง
54. ในปี 2024 ตลาดเครดิตสร้างผลตอบแทนให้ตราสารหนี้ และปี 2025 พันธบัตรจะมีบทบาทสำคัญ
55. พันธบัตรสหรัฐฯ ยังช่วยลดความเสี่ยงได้ดีในกรณีที่เศรษฐกิจหรือตลาดแรงงานชะลอตัวลง
56. ช่วงที่ดีที่สุดของตลาดหุ้นและตลาดเครดิตผ่านไปแล้ว
57. ปี 2025 ไม่ใช่ปีของการ Take Risk แต่ให้เน้นกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และในแต่ละสินทรัพย์ก็ต้องมีการกระจายตัวที่ดีด้วย
58. ผลตอบแทนของหุ้นสหรัฐฯ โดดเด่นที่สุดในปีที่ผ่านมา
59. มีการปรับประมาณการกำไรของตลาดหุ้นโลกดีขึ้น
60. หุ้นญี่ปุ่นน่าสนใจจากการเติบโตเศรษฐกิจ กำไรโต, Valuation ดีขึ้น
61. หุ้นกลุ่มการเงินน่าสนใจ เพราะได้แรงหนุนจากค่าธรรมเนียม และ De-regulation
62. หุ้น S&P 500 Equal Weight น่าสนใจ เพราะได้รับประโยชน์จากการเติบโตขยายวง และลดความเสี่ยงกระจุกตัว และ Valuation ตึงตัว
63. คงคำแนะนำ Stay Invested ในหุ้นโลกจากเศรษฐกิจและกำไรที่เติบโตต่อ
64. ตราสารหนี้ เน้นกลยุทธ์ Global Income และเพิ่ม Duration ในตราสารหนี้ไทย
65. สินทรัพย์ทางเลือกยังชอบ Global Infra มากกว่า Global REIT
66. ทองคำ มี Upside, สินค้าโภคภัณฑ์ มี Downside
67. ค่าเงินบาทอาจอ่อนค่าสู่ 36 บาท ในครึ่งปีแรก
68. หุ้นไทย มีมุมมองระมัดระวัง ลดหุ้นไทย เพิ่มหุ้นโลก
#aomMONEY #KKPYearAhead2025
3 บันทึก
3
1
3
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย