Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
20 ม.ค. เวลา 14:30 • หนังสือ
ใช้เงินแบบไม่ต้องรู้สึกผิด ด้วย ‘กฏ 2X’ ใช้ฟุ่มเฟือยเท่าไหร่ลงทุนเท่านั้น
☕ เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นดราม่าเรื่องการใช้เงินซื้อกาแฟแก้วโปรด
ฝั่งหนึ่งบอกว่ามันเป็นการใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย “ถ้าไม่กินกาแฟแก้วละ xxx บาท ปีหนึ่งจะมีเงินก้อน xxxxx บาท เลยนะ”
ฝั่งหนึ่งก็อาจจะมองว่าก็หาเงินมาซื้อความสุขให้ตัวเอง “มันก็ไม่เห็นจะเป็นเรื่องแย่อะไร”
แต่เชื่อว่าบางคนก็คงอดไม่ได้หรอกที่จะมีความรู้สึกผิดเล็กๆ ข้างในใจว่า ‘อืมมม….หรือฉันควรเก็บเงินนี้ไว้เพื่อดีกว่านะ?’
มันมีทางสายกลางที่จะทำให้ความรู้สึกผิดนี้ลดลงรึเปล่า?
📖 นิก มักจิอุลลี (Nick Maggiulli) เล่าถึงเพื่อนสองคนของเขาไว้ในหนังสือการเงินชื่อว่า “Just Keep Buying”
➡ คนแรกชื่อเจมส์ (นามสมมุติ) คนนี้ใช้เงินแบบสุรุ่ยสุร่ายเหมือนมันงอกบนต้นไม้ เข้าร้านอาหารโดยไม่สนใจเลยว่าราคาที่ติดบนเมนูนั้นเท่าไหร่ เขาใช้เงินแบบไม่รู้สึกผิดอะไรเลย เพราะที่บ้านรวยมาก
➡ คนที่สองชื่อเดนนิส (นามสมมุติ) คนนี้ขี้เหนียวมาก ถึงขั้นพยายามเคยโกงแอปอูเบอร์ (เมื่อก่อนเป็นช่องโหว่ทางแอปฯ) โดยใช้เทคนิคการปักหมุดในพื้นที่ที่ราคาถูก กดเรียกรถ แล้วค่อยย้ายหมุดทีหลังเพื่อให้ค่าโดยสารถูกลง
สองคนสุดโต่งกันคนละแบบ
มักจิอุลลีอธิบายว่าในโลกปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะเอนไปทางเดนนิสกัน พยายามลดค่าใช้จ่ายทุกอย่าง รู้สึกผิดเวลาที่จะใช้เงินที่ตัวเองหามา
แต่เราต้องใช้ชีวิตแบบนี้จริงๆ เหรอ? มักจิอุลลีอธิบายว่า “ถ้าคุณกังวลว่าควรซื้ออะไรบางอย่างหรือไม่ขณะที่มีเงินเพียงพอแล้ว ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณ แต่เป็นกรอบความคิดที่คุณใช้คิดเรื่องรายจ่าย”
📍สิ่งที่เราต้องการคือวิธีคิดใหม่เรื่องการใช้จ่ายเงินเพื่อให้ตัดสินใจทางการเงินได้อย่างไม่ต้องรู้สึกผิด เคล็ดลับอันหนึ่งที่เขาแชร์คือ “กฏ 2X”
“กฎ 2X” คือ ‘เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องนำเงินจำนวนเท่ากันไปลงทุนด้วย’
ยกตัวอย่างครับว่าคุณอยากได้กางเกงยีนส์ตัวใหม่ 1,500 บาท ก็ต้องเอาเงิน 1,500 บาท ไปลงทุนด้วย (ซื้อหุ้น กองทุน หรือสินทรัพย์ที่สร้างรายได้)
มักจิอุลลีอธิบายว่า “สิ่งนี้ทำให้ผมประเมินว่าต้องการสิ่งนั้นมากแค่ไหน ถ้าผมไม่เต็มใจเก็บเงินเป็น 2 เท่าสำหรับสิ่งนั้น ผมก็จะไม่ซื้อสิ่งนั้น”
กฎนี้ช่วยขจัดความรู้สึกผิดทางจิตใจเกี่ยวกับการใช้เงินออกไป เพราะรู้ว่าความฟุ่มเฟือยที่จ่ายไป จะมาพร้อมกับการลงทุนในขนาดเท่าๆ กันในทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้
🎯 คำถามต่อมาคือ “แล้วเท่าไหร่ละคือฟุ่มเฟือย?”
“สิ่งนี้แตกต่างกันออกไปในแต่ละคนและเมื่อเวลาผ่านไป แต่อะไรก็ตามที่ทำให้คุณ ‘รู้สึก’ ฟุ่มเฟือยไม่ว่าจะเพื่อเป้าหมายใดๆ ถือเป็นการฟุ่มเฟือย”
ยกตัวอย่างเช่นหากคุณอายุ 25 ปี แล้วซื้อกาแฟแก้วละ 50 บาท แล้ว ‘รู้สึก’ ว่ามันคือของฟุ่มเฟือย มันก็คือของฟุ่มเฟือย แต่ถ้าซื้อน้ำอัดลมกระป๋องละ 15 บาท ไม่ได้รู้สึกว่ามันฟุ่มเฟือย มันก็ไม่ใช่
แต่ถ้าคุณอายุ 40 ปี แล้วซื้อกาแฟแก้วละ 150 บาท แล้ว ‘รู้สึก’ ว่ามันคือของฟุ่มเฟือย มันก็คือของฟุ่มเฟือย แต่ซื้อกาแฟแก้วละ 50 บาท แล้วไม่ได้รู้สึกว่ามันฟุ่มเฟือย มันก็ไม่ใช่
ขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่คุณมีต่อการจ่ายครั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น 50 บาท, 100 บาท, 10,000 บาท หรือหลักแสนหลักล้าน ‘กฎ 2X’ สามารถนำมาใช้ได้เพื่อเอาชนะความรู้สึกผิดและเพลิดเพลินกับเงินที่เติบโตขึ้นด้วย
นอกจากลงทุนแล้ว อีกทางเลือกหนึ่งที่มักจิอุลลีเสนอคือเราสามารถนำเงินที่จะลงทุนไปบริจาคหรือมอบให้องค์กรการกุศลก็ได้เช่นกัน
“นี่คือเคล็ดลับง่ายๆ อย่างหนึ่งที่จะช่วยปลดปล่อยคุณจากคุกแห่งความรู้สึกผิดในการซื้อ” มักจิอุลลีอธิบาย
[อ้างอิงหนังสือ #JustKeepBuying ]
#aomMONEY #MoneyHacks #การเงินส่วนบุคคล #ทริกการเงิน #แนวทางการใช้เงิน #เทคนิคการเงินสำหรับคนทั่วไป
บันทึก
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย