เมื่อวาน เวลา 09:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

การศึกษกลุ่มดาวฤกษ์อายุน้อยในทางช้างเผือก เกี่ยวกับการก่อตัวของดาวฤกษ์เหล่านี้

เมื่อ 6,000-7,000 ล้านปีก่อน กระจุกดาวขนาดใหญ่ (super star clusters) เป็นช่องทางหลักในการก่อตัวของดวงดาว โดยผลิตดาวดวงใหม่หลายร้อยดวงทุกปี การก่อตัวของดาวประเภทนี้มีแนวโน้มลดลง โดยพบกระจุกดาวขนาดใหญ่ในจักรวาลของเราได้น้อยมาก ปัจจุบันพบกระจุกดาวขนาดใหญ่เพียง 2 กระจุกในทางช้างเผือก และ 1 กระจุกในเมฆแมกเจลลันใหญ่ (Large Magellanic Cloud: LMC) ซึ่งล้วนมีอายุนับล้านปี
การสังเกตการณ์ของ JWST ได้ให้หลักฐานที่ชัดเจนว่าบริเวณ N79 เป็นที่ตั้งของกกระจุกดาวขนาดใหญ่กระจุกที่สองใน LMC ซึ่งมีอายุเพียง 100,000 ปี การค้นพบนี้ทำให้เหล่านักดาราศาสตร์สามารถเห็นการกำเนิดของกระจุกดาวขนาดใหญ่ในกาแล็กซีเพื่อนบ้านของเราได้
การวิจัยหลายความยาวคลื่นนี้ซึ่งผสมผสานข้อมูลจาก JWST และ ALMA ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่กับการกำเนิดของดาวฤกษ์ก่อนกำเนิด (protostars) และกระจุกดาวได้
จากการวิจัยครั้งใหม่นี้ นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตวัตถุดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อย (young stellar objects) ในระยะวิวัฒนาการต่างๆ ตั้งแต่ดาวฤกษ์อายุน้อยที่ฝังตัวอยู่ไปจนถึงวัตถุที่วิวัฒนาการแล้วซึ่งแตกตัวเป็นไอออนในสิ่งแวดล้อม ข้อมูลนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีที่ซับซ้อนซึ่งเกิดขึ้นในแหล่งเพาะพันธุ์ดาวฤกษ์เหล่านี้ รวมถึงการมีอยู่ของน้ำแข็ง โมเลกุลอินทรีย์ และฝุ่น ซึ่งเชื่อมโยงการก่อตัวของดาวเข้ากับเรื่องราวที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับการกระจายตัวของธาตุและสารประกอบทั่วทั้งจักรวาล
แปลและเรียบเรียงโดย
One To Many - A Brief Science
.
แหล่งอ้างอิง
[1] Young Stars in the Milky Way’s Backyard Challenge Our Understanding of How They Form
[2] JWST Mid-infrared Spectroscopy Resolves Gas, Dust, and Ice in Young Stellar Objects in the Large Magellanic Cloud
โฆษณา