4 ชั่วโมงที่แล้ว • สิ่งแวดล้อม

นักวิชาการยก ‘กรุงโซล’ ในวันที่ฝุ่น PM2.5 แรง มูลค่าสุขภาพอนามัยของประชาชนต้องมาก่อน

☝️Click >> ‘นักวิชาการ’ ยกกรอบอำนาจ ‘ผู้ว่ากรุงโซล’ เทียบ ‘ผู้ว่ากรุงเทพฯ’ ทำไมในวันที่ฝุ่น PM2.5 รุนแรง ถึงเอาอยู่!!
🔎Clear >> ไม่นานมานี้ ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘Sonthi Kotchawat’ ในหัวข้อ ‘ผู้ว่ากรุงโซล กับ ผู้ว่ากรุงเทพในวันที่ฝุ่น PM2.5 รุนแรง’ ระบุว่า...
1.ประเทศเกาหลีใต้ประสบกับฝุ่น PM2.5 อย่างรุนแรงในช่วงฤดูหนาวเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยรัฐบาลได้ประกาศให้ฝุ่น PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานจนถึงระดับที่มีผลต่อสุขภาพ หรือ ‘Unhealthy’ เป็นภัยพิบัติทางสังคม (Social disaster) ที่ต้องจัด การแก้ไขทันทีโดยกำหนดแผนเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ปี 2016 จนถึงปี 2022 และยังให้มีการใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน เรียกว่า ‘Comprehensive Plan on Fine dust Management’
โดยกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น Commander สามารถสั่งการลดแหล่งกำเนิดมลพิษในเมืองได้เบ็ดเสร็จและยังสามารถยกเลิกมาตรการดังกล่าวได้เมื่อภัยพิบัติหมดไป
2.ในวันที่คาดว่าคุณภาพอากาศในกรุงโซลมีจะค่าเกินค่ามาตรฐานในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรื อ Unhealthy โดยตามแผนผู้ว่าการกรุงโซลมีอำนาจประกาศให้ประชาชนสามารถใช้ระบบขนส่งมวลได้ฟรี เช่น รถไฟฟ้าใต้ดินและบนดิน รถ ขนส่งสาธารณะ รถไฟ เป็นต้น ในช่วงเวลาเร่งด่วนตั้งแต่ 05.00-09.00 น. และ ช่วงเวลา 18.00-21.00 น. และขอความร่วมมือประชาชนไม่ต้องนำรถยนต์ออกมาวิ่งบนถนนในช่วงเวลาดังกล่าว
รวมทั้งสั่งลดกำลังการผลิตของโรงงานที่ใช้ฟอสซลเป็นเชื้อเพลิง, ตั้งเขตห้ามนำรถยนต์ดีเซลเก่าวิ่งเข้าเมืองตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ย. ถึงเดือน ก.พ., ให้เปลี่ยนรถบัสโดยสารในเมืองต้องเป็นรถยนต์ EV ทั้งหมด, สั่งห้ามเผาในที่โล่ง เป็นต้น
...ทั้งนี้เกาหลีใต้สามารถพยากรณ์คุณภาพอากาศและคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5 ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำอย่างน้อย 5 วัน โดยผู้ว่าการกรุงโซลจะประกาศให้ประชาชนทราบและเสนอมาตรการดังกล่าวออกไป
...ผู้ว่ากรุงโซลทุกสมัยจะต้องมีนโยบายดังกล่าวอย่างชัดเจน ยึดหลัก ‘คุณภาพชีวิตของประชาชนยิ่งใหญ่กว่าเงินตราที่เสียไป’ (The value of human beings is far greater than that of money) ถึงแม้จะเสียรายได้มหาศาลก็ไม่เป็นไร แต่มูลค่าสุขภาพอนามัยของประชาชนต้องมาก่อน
3.ปี 2022 เกาหลีใต้ได้จัดการแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศให้ลดลงได้อย่างมาก เช่น ใช้รถเครื่องยนต์และน้ำมัน Euro6, เริ่มใช้รถยนต์ EV, ยกเลิกสถานประกอบการและโรงงานที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง, เพิ่มสวนสาธารณะโดยมีขนาดของพื้นที่สีเขียวเป็นอันดับ 7 ของโลก คิดเป็น 27.8% ของพื้นที่กรุงโซลและมีสวนสาธารณะขนาดต่าง ๆ มากกว่า 2,200 แห่ง เป็นต้น
...แต่อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ก็ยังประสบกับฝุ่นละอองที่พัดข้ามแดนจากประเทศจีนในบางช่วงเวลาเท่านั้นแต่ฝุ่น PM2.5 ในกรุงโซลในปี 2024 ลดลงถึง 75% สภาพอากาศดีเยี่ยมถึงปานกลาง
4.สำหรับประเทศไทยเจ้าภาพจัดการฝุ่นละอองมีหลายหน่วยงานตามแผนปฏิบัติการของชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเพียงใช้ พรบ.การสาธารณสุขเรื่องเหตุรำคาญ และ พรบ.โยธา และผังเมืองเรื่องการก่อสร้างและปลูกต้นไม้ และ พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเท่านั้น ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าภัยจากฝุ่น PM2.5 ถือเป็นภัยพิบัติหรือไม่ ที่เหลือเป็นอำนาจของหน่วยงานอื่น ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการจัดการฝุ่น PM2.5 ได้เหมือนประเทศเกาหลีใต้
โฆษณา