4 มี.ค. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม

‘อภิมหาภัยแล้ง’ ครั้งใหญ่กำลังมา! ทั่วโลกเจอแล้งรุนแรงและยาวนานเป็นปี

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” กำลังทำให้ “ภัยแล้ง” ที่เกิดในโลกนี้รุนแรงมากขึ้นและเลวร้ายลงเรื่อย ๆ จนอาจเกิดเป็น “อภิมหาภัยแล้ง” (Megadrought) นั่นคือ ภัยแล้งรุนแรงเกิดขึ้นนานขึ้น บ่อยครั้งขึ้น และรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทั่วโลก ตามข้อมูลจากการศึกษาใหม่ของสถาบันวิจัยป่าไม้ หิมะ และภูมิทัศน์แห่งสหพันธรัฐสวิส (WSL) ร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีออสเตรีย (ISTA)
โดยเฉลี่ยแล้ว ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา พื้นที่ที่ประสบภัยแล้งได้ขยายออกไปอีก 50,000 ตร.กม.ต่อปี ซึ่งเท่ากับมากกว่าพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและเชียงใหม่ สองจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดของไทยรวมกันเสียอีก
2
การขยายตัวของพื้นที่ภัยแล้งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลต่อระบบนิเวศ เกษตรกรรม และการผลิตพลังงาน
ตัวอย่างที่ชัดเจนของแนวโน้มเหล่านี้คือ ภัยแล้งครั้งใหญ่ที่กินเวลานานถึง 15 ปีในชิลี ซึ่งยาวนานที่สุดในรอบ 1,000 ปี ภัยแล้งดังกล่าวทำให้น้ำสำรองของประเทศเกือบจะหมดลง ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคเกษตรกรรมและการทำเหมืองที่สำคัญ
1
แต่ที่น่าสังเกตคือ “ปัญหาภัยแล้ง” จะได้รับความสนใจก็ต่อเมื่อส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมหรือป่าไม้ ซึ่งหากเกิดภัยแล้งกับภาคส่วนอื่น ก็อาจถูกตีความว่าไม่รุนแรง และไม่ถูกพูดถึง
ระบบนิเวศในแต่ละพื้นที่ตอบสนองต่อภัยแล้งแตกต่างกันอย่างไร โดยทุ่งหญ้าในเขตอบอุ่นได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด โดยได้รับผลกระทบทันทีจากความแห้งแล้งที่ยาวนาน ไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้ ในขณะที่ป่าฝนเขตร้อนอาจสามารถบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งได้ชั่วคราว หากมีน้ำสำรองเพียงพอ แต่การขาดแคลนน้ำเป็นเวลานานอาจทำให้ต้นไม้ได้รับความเสียหายในระยะยาวและตายได้
1
ในทางกลับกัน ป่าเขตหนาว หรือป่าไทกา กลับเจริญเติบโตได้ดีในช่วงเริ่มต้นของภัยแล้ง เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ฤดูกาลเจริญเติบโตของพวกมันยาวนานขึ้น แต่เมื่อภัยแล้งกินระยะเวลานานพืชพรรณและระบบนิเวศในเขตนี้จะเริ่มได้รับผลกระทบ โดยพืชพรรณไทกาใช้เวลานานที่สุดในการฟื้นตัวจากภัยแล้ง
1
ปัจจุบันแต่ละประเทศมีมาตรการในการบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง ด้วยชุดความคิดว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกปี หรือต้องเกิดขึ้นตามฤดูกาล ซึ่งมีการรับมือที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับอภิมหาภัยแล้งครั้งใหญ่ที่ยาวนานและรุนแรงกว่าที่ต้องเจอในอนาคต
โฆษณา