6 ชั่วโมงที่แล้ว • ประวัติศาสตร์

ที่มาของ “ วันแห่งแกงกะหรี่”

วันนี้วันที่ 22 มกราคม เป็นวันแห่งแกงกะหรี่ หลายคนอาจสงสัยว่ามันมีวันแบบนี้ด้วยเหรอ วันนี้ผมจึงจะขอเล่าที่มาที่ไปว่าทำไมถึงมีวันแห่งแกงกะหรี่นี้ขึ้นมา
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1889 ที่ประเทศญี่ปุ่น ทางโรงเรียนประถมยามากาตะ เห็นว่ามีนักเรียนจำนวนมากที่ขาดสารอาหาร ทำให้พัฒนาการทางการเรียนช้า จึงได้เริ่มแจกอาหารกับนักเรียนที่ยากจน นักเรียนยากไร้ที่ไม่ได้รับโภชนาการที่ดีจากที่บ้าน โดยจะแจกอาหารพวกข้าวปั้น ปลาทอดและผักดอก
ต่อมาในปี 1946 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ได้มีการแจกจ่ายอาหารกลางวันกับนักเรียนมากขึ้นทั่วโตเกียว รวมไปถึงเมืองคานากาวะ ชิบะ และเมืองหลักๆ ในญี่ปุ่น ทำให้มีเด็กนักเรียนได้รับอาหารกลางวันถึง 3 ล้านคน โดยเมนูอาหารที่แจกจะเป็นพวกนมกับขนมปัง ต่อมาก็เริ่มมีเมนูที่หลากหลายขึ้นอย่าง ขนมปังทอด ครีมสตูว์ ซอสเนื้อ
ต่อมาในปี 1982 ทางรัฐบาลญี่ปุ่นต้องการให้เด็กกินอาหารที่มีโภชนาการที่ดี ได้สารอาหารครบถ้วน ให้เหมาะกับวัย เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ได้ดี ทางสภานักกำหนดอาหารโรงเรียนแห่งญี่ปุ่น จึงได้ทำการศึกษาและเลือกสรรอาหารที่จะนำมาให้เด็กๆ ได้รับประทานแล้วมีสารอาหารครบถ้วน และเด็กๆ ต้องชื่นชอบรสชาติด้วย
ซึ่งหนึ่งในเมนูที่ได้ผลออกมาก็คือ “แกงกะหรี่” นี่เอง เมนูแกงกะหรี่จึงกลายมาเป็นเมนูหลักที่จะสลับกับเมนูอื่นๆ ในการแจกเป็นมื้อกลางวันให้กับนักเรียน ซึ่งได้เสิร์ฟให้กับนักเรียนเป็นครั้งแรกในวันที่ 22 มกราคม ด้วยเหตุนี้วันที่ 22 มกราคม ของทุกปีจึงถูกจัดให้เป็น วันแห่งแกงกะหรี่ ของประเทศญี่ปุ่น ต่อมาเมื่อแกงกะหรี่แพร่หลายไปในหลายๆ ประเทศทั่วโลกจึงมีการพูดถึงวันแห่งแกงกะหรี่กันมากขึ้น
นี้คือที่มาที่ไปของวันแห่งแกงกะหรี่ ซึ่งผมรู้สึกชื่นชมกับทางการญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญกับเด็กที่เป็นอนาคตของชาติโดยไม่ได้แบ่งแยกฐานะยากดีมีจน และใส่ใจให้ความสำคัญกับการพัฒนาการของเด็กนักเรียน ว่าจำเป็นจะต้องได้รับสารอาหารครบถ้วน ไม่ใช่แค่แจกอาหารกลางวันเฉยๆ แต่ลงทุนวิจัยรีเสิร์จเพื่อหาเมนูที่มีสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ รวมไปถึงรสชาติต้องถูกปากเด็กๆ ด้วย คิดๆ แล้วก็อยากให้บ้านเรานำแนวคิดนี้มาพัฒนาปรับใช้ก็น่าจะดีไม่น้อยเลยครับ
โฆษณา