22 ม.ค. เวลา 06:40 • สุขภาพ

ในหนึ่งตำรับยาแผนไทย

มักจะไปประกอบไปด้วยตัวยาหลายชนิด
ทั้งพืชวัตถุ ธาตุวัตถุ และ สัตว์วัตถุ
ก่อนที่แพทย์แผนไทย จะนำตัวยาต่างๆ
มาใช้ปรุงเป็นตำรับยานั้นๆ
จะต้องมีการเตรียมเครื่องยาให้ดีเสียก่อน
โดยใช้หลักในการพิจารณาตัวยา
ว่าตัวยาใดสามารถนำไปปรุงได้เลย
หรือตัวยาใดมีฤทธิ์แรงเกินไป หรือมีพิษมาก
ก็จำเป็นต้องนำมาผ่านกระบวนการสะตุ ประสะ
หรือ ฆ่ าฤทธิ์ของตัวยานั้น เสียก่อน
จะเห็นได้ว่า การพิจารณาตัวยาในขั้นตอนการเตรียมเครื่องยา เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเช่นกัน
แพทย์แผนไทยที่ปรุงยาใช้เอง
ไม่ควรละเลยในจุดนี้ครับ
ทบทวนกันสักนิด
การฆ่ าฤทธ์ (ยา)
ก็คือการทำเช่นเดียวกับการสะตุ
แต่มักจะทำกับตัวยาที่มีพิษมาก
เพื่อทำให้พิษของยานั้นหมดไปหรือเหลืออยู่น้อย
จนไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ใช้ยา
ดังเช่น การใช้ไขชะมดเช็ดในตำรับยา
ก่อนนำไปปรุงยา ก่อนต้องนำไปฆ่ าฤทธิ์เสียก่อน
เชื่อว่าเพื่อนๆ แพทย์แผนไทยทุกคน
คงจำวิธีฆ่ าฤทธิ์ชะมดเช็ดได้เป็นอย่างดี
การฆ่ าชะมดเช็ด
ทำได้โดยหั่นหัวหอม ผิวมะกรูด ให้เป็นฝอยละเอียด
แล้วนำไปผสมกับไขชะมดเช็ด ใส่ลงบนใบพลู
หรือใส่ลงในช้อนเงินก็ได้ แล้วนำไปลนไฟเทียน
ลนให้นานพอสมควร จนไขชะมดละลาย
จึงกรองเอาแต่น้ำชะมดเช็ดไปใช้ปรุงยาต่อไป
โฆษณา