ก้าวสำคัญ! ไทยเดินหน้าสู้วิกฤตโลกร้อน

ท่ามกลางเป้าหมายระดับอาเซียน
การแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกได้เข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย ดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ภายใต้กรอบของ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) หรือที่หลายคนคุ้นชินกับชื่อการประชุมภาคีที่เรียกว่า ประชุม COP (Conference of the Parties)
#onemorelink #วันมอร์ลิงค์ #กากอุตสาหกรรม #รับกำจัดกากอุตสาหกรรม #ความรู้ทั่วไป
นำเสนอผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไทยเผชิญ ได้แก่ คลื่นความร้อนสูงถึง 43 องศา น้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะหญ้าทะเลที่ส่งผลให้ประชากรพะยูนลดลง 50% ในเวลาไม่ถึง 6 ปี
ประกาศเป้าหมาย NDC 3.0 ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำกว่า 270 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากระดับปี 2019 ภายในปี 2035 พร้อมเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ได้ 120 ล้านตันภายในปี 2037
เน้นย้ำการดำเนินงานด้านการปรับตัวผ่านแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติใน 6 ด้าน และผลักดันร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เรียกร้องให้เร่งจัดทำเป้าหมายการเงินด้านสภาพภูมิอากาศใหม่ (NCQG) และแนวทางการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage Fund) เพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบ
เมื่อเทียบคำแถลงการณ์จากตัวแทนแต่ละประเทศในอาเซียน บนเวที COP29 ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเป้าหมายท้าทาย โดยมีสิงคโปร์ กัมพูชาและมาเลเซียตั้งเป้าความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050 เช่นกัน และก็พบว่ามีบางประเทศที่มีการขยับเป้าหมาย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ประเทศ และโลกมากยิ่งขึ้น
โฆษณา