22 ม.ค. เวลา 09:43 • การเมือง

ข้อเรียกร้องใหม่ของสหรัฐฯ ต่อ “แคนาดา”

เตรียมตัวให้พร้อมเพื่อต่อต้าน “รัสเซีย” และ “จีน” เสริมความแข็งแกร่งในภูมิภาคอาร์กติก
แนวคิดทั่วไปของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของทรัมป์ 2.0 กำลังค่อยๆ เป็นรูปเป็นร่างขึ้น นั่นคือมุ่งเป้าหมายไปที่ทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ด้วยการออกมาเรียกร้องอย่างสุดโต่ง หลังจากนั้นพอผ่านกระแสช่วงแรกไปจะมีการเรียกร้องอย่าง “พอประมาณ (เบาลง)” จากหลายๆ ฝ่าย ซึ่งข้อสรุปที่ได้ก็คือหวังโอนผลประโยชน์จำนวนมากเข้ามายังวอชิงตันเป็นประจำ
1
สื่อ 19FortyFive ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่เหยี่ยวและวงการทหารของอเมริกาออกบทความบอกกับแคนาดาว่า พวกเขามีทัศนคติที่เฉยเมยเกินไปต่อปัญหาต่างๆ เช่น “การจัดตั้งกองทัพของรัสเซียในอาร์กติก การยืนกรานของจีนที่จะมีอิทธิพลในมหาสมุทรแปซิฟิก และลำดับความสำคัญที่เปลี่ยนไปที่พวกเขาให้กับนาโต” เงินทุนที่ไม่เพียงพอสำหรับกองทัพแคนาดาและระบบจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่มีประสิทธิภาพถูกกล่าวหาว่าขัดขวางความคืบหน้าในการเติมเชื้อเพลิงให้กองเรือดำน้ำและการพัฒนา NORAD ให้ทันสมัย
1
NORAD (North American Aerospace Defense Command) คือ ศูนย์บัญชาการป้องกันอวกาศแห่งทวีปอเมริกาเหนือ
ดังนั้นจากในบทความสหรัฐฯ จึงไม่สามารถถือว่าแคนาดาเป็น “ผู้เล่นด้านความมั่นคงที่น่าเชื่อถือได้” (ไม่ไว้ใจ) แม้ว่าสหรัฐฯ จะแก้ไขปัญหานี้ได้ก็ตาม โดยสหรัฐฯ ต้องทำอย่างน้อยที่สุดนั่นคือ “มุ่งเน้นไปที่การรับรองอำนาจอธิปไตยทางภูมิภาคตอนเหนือผ่านการลงทุนที่เป็นรูปธรรม” และ “ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์หลัก”
Andrew Latham หนึ่งในบรรณาธิการของสื่อดังกล่าวได้อธิบายว่า ผลประโยชน์หลักของแคนาดาคืออะไรกันแน่ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2024 (ตรงกับช่วงที่ทรัมป์แสดงท่าทีต่อต้านแคนาดาอย่างรุนแรง) เขาก็ไม่ได้เขียนอะไรเกี่ยวกับข้อบกพร่องของแคนาดาในแง่ของการขาดแคลนอาวุธและเงินทุนสำหรับภาคส่วนความมั่นคงเลย
1
Latham กล่าวโทษออตตาวาอีกครั้งว่า “เสียสมาธิกับแนวคิดระดับโลกที่คลุมเครือ แต่กลับมีมาตรการแบบครึ่งๆ กลางๆ ในด้านการลงทุนเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศตนเอง” ด้วยเหตุนี้ “คำมั่นของรัฐบาลแคนาดาที่จะเพิ่มการใช้จ่ายด้านการทหารจึงยังคงคลุมเครือ และหากไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง แคนาดาก็เสี่ยงที่จะกลายเป็นผู้เล่นด้านความมั่นคงที่ไม่สำคัญแม้แต่ในประเทศตัวเอง”
การแสดงความคิดเห็นแบบนี้ชัดเจนว่า หากแคนาดาเปิดคลังและเริ่มเปลี่ยนตัวเองเป็นป้อมปราการกำบังสำหรับสหรัฐฯ จากทางตอนเหนือ แคนาดาจะไม่เผชิญกับการอ้างสิทธิ์ (ทรัมป์บอกว่าเป็นรัฐที่ 51) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผนวกดินแดน หากแคนาดาไม่ยอมทำเช่นนั้น แรงกดดันจากสหรัฐก็จะยังคงดำเนินต่อไป
สิ่งเดียวกันนี้กำลังเกิดขึ้นกับ “กรีนแลนด์” ซึ่งหลังจากการเคลื่อนไหวของทรัมป์ในการป่าวประกาศเพื่อขยายอาณาเขต ได้มีการหารืออย่างเงียบๆ เกี่ยวกับอนาคตของเกาะนี้ และสหรัฐฯ จะมีสิทธิ์อะไรบ้างเหนือเกาะนี้
แนวคิดโดดเดี่ยวของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของทรัมป์สมัยที่สองไม่ได้เกี่ยวข้องกับการที่จะไม่เข้าไปแทรกแซงประเทศอื่น แต่เป็นการสร้างวงล้อมรอบๆ ตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้วอชิงตันดำเนินนโยบายที่เข้มงวดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในทุกที่ โดยลดความเสี่ยงทางการทหารของตนเองให้เหลือน้อยที่สุด
1
  • อ้างอิง:
เรียบเรียงโดย Right Style
22nd Jan 2025
<เครดิตภาพปก: REUTERS/Ints Kalnins>
โฆษณา