23 ม.ค. เวลา 06:48 • ความคิดเห็น

มุทิตาจิตในที่ทำงาน

ผมฟังเคยพอดคาสต์แปดบรรทัดครึ่งของต้อง กวีวุฒิในหัวข้อ “รักคนที่ทำงาน?” ตอนเห็นหัวข้อก็นึกว่าเป็นเรื่องรักๆใคร่ๆแต่พอฟังจริงๆ ต้องตั้งคำถามว่าเราจะ “รัก”หรือรู้สึกดีกับหัวหน้าที่ทำงานได้อย่างไร และโดยบังเอิญว่า ต้อง กวีวุฒิเริ่มจากเรื่องที่ผมเคยเล่าไว้เกี่ยวกับลูกสาวและลูกชิ้นไว้
มีคนที่ยังโสดและไม่มีลูกเคยถามผมว่ามีลูกนี่รู้สึกยังไง ผมเลยยกตัวอย่างโดยเปรียบเทียบให้ฟัง เหมือนกับถ้าเราชอบกินลูกชิ้นในก๋วยเตี๋ยวมากๆ เพื่อนมาขอส่วนใหญ่เราก็จะไม่ให้แล้วบอกให้มันสั่งเองสิ ถ้าเป็นแฟน เราก็คงจะคีบให้แต่ในใจก็คงจะเสียดายยังมีความอยากกินเองอยู่ แต่ถ้าเป็นลูกสาว เรานี่อยากคีบให้เลย ไม่เหลือความอยากกินเองด้วยซ้ำ และความสุขก็ย้ายจากการกินลูกชิ้นไปเป็นความปลื้มใจเวลาเห็นเขากินลูกชิ้นอย่างเอร็ดอร่อยมากกว่า…
ในตอนนั้นก็คิดถึงคำภาษาอังกฤษว่า unconditional love ซึ่งมีความปรารถนาดีแบบจริงใจอยู่ในนั้นอย่างเต็มเปี่ยม
ต้องเล่าในพอดคาสต์ว่า ความรู้สึกเห็นคนอื่นมีความสุขแล้วเรามีความสุขแบบนั้นเกิดขึ้นเวลาสอนหนังสือ พอจบคลาสแล้วได้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากลูกศิษย์ที่ได้อะไรจากคลาสและพร้อมที่จะออกไปสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ เป็นความสุขที่เกิดจากคนอื่นได้ดี หรือไม่นานมานี้ไปแอบเห็นลูกชายอายุสี่ขวบหัดแต่งตัวเองได้ ก็มีความสุขที่ได้เห็นลูกเติบโตและเก่งขึ้น เป็นความปรารถนาดีอย่างจริงใจเช่นกัน
ผมเองก็รู้สึกเช่นนั้นมากๆและเคยคุยกับพี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันท์ที่ช่วยกันทำหลักสูตรเอบีซีว่าเป็นความรู้สึกที่ฟินเหลือเกินเวลาเห็นนักเรียนรักกัน บอกว่าได้อะไรที่เป็นประโยชน์มากๆไปจากหลักสูตร และมีความปรารถนาดีต่อกันระหว่างนักเรียน
ต้อง กวีวุฒิ ตั้งคำถามในพอดคาสต์ไว้ว่าแล้วในที่ทำงานนั้น เรามีความรู้สึกนี้ได้หรือไม่กับหัวหน้า และชวนให้คิดถึงเวลาหัวหน้านั้นเกษียณว่าลูกน้องปฏิบัติตัวต่อหัวหน้าที่เกษียณแล้วอย่างไร หลายคนแม้แต่สวัสดีก็ยังไม่เอาเลยเพราะตอนเป็นลูกน้องถูกกระทำไว้มาก ผมเห็นตัวอย่างกับตาที่ธนาคารที่ผมเคยทำงานอยุ่ ผู้บริหารที่ยิ่งใหญ่คับฟ้า ตอนออกนี่มีแต่คนสาบส่ง คำถามนี้ก็เป็นคำถามที่ชวนคิดอยู่ไม่น้อย
ในการตอบคำถามต้อง กวีวุฒิ ในเรื่องที่เราสามารถรู้สึกปรารถนาดีอย่างจริงใจกับหัวหน้าได้หรือไม่ ผมตอบเลยว่าได้ เพราะผมมีความรู้สึกแบบนี้กับคุณซิกเว่ เบรกเก้ อดีตเจ้านายผม แม้กระทั่งทุกวันนี้ยังไปแอบติดตามข่าวของเขาถึงแม้จะไม่ได้ทำงานด้วยกันมาสิบปีแล้ว และก็ยังดีใจเวลาเห็นเขาประสบความสำเร็จขึ้นไปเรื่อยๆ แอบเชียร์และเอาใจช่วยเวลาเขาเจอปัญหา และเมื่อไหร่ที่เขาติดต่อมาเพื่อให้ผมช่วยอะไรนิดๆหน่อยๆ ผมก็จะรีบทำให้ทันทีเพราะอยากให้เขาดีใจ นานๆเขามาเมืองไทยที ถ้าได้กินกาแฟกับเขาซักแก้วก็จะตื่นเต้นมากๆเสมอ
ไม่เฉพาะผมแต่เวลาคนที่ภัทรพูดถึงพี่เตา บรรยงค์ พงษ์พานิชก็ไม่ต่างจากความรู้สึกของผมนี้ต่อซิกเว่เช่นกัน
ที่ผมนับถือเขาขนาดนี้ก็เพราะว่าผมรู้สึกได้ว่าเขามีความปรารถนาดีอย่างจริงใจให้กับผมก่อน ตอนที่เขาเป็นหัวหน้าโดยตรงของผม เขาเรียกตัวเองว่าโค้ช เขาพยายามเมื่อมีโอกาสทุกครั้งที่จะขัดเกลาผมและทีมงานคนอื่นๆ ให้โอกาสลองผิดลองถูกเพื่อให้แข็งแรงขึ้น เมื่อไหร่ที่เหลิงก็จะคอยเตือน เมื่อไหร่ที่ใครดูสบายเกินก็จะจับย้ายฝ่ายให้ไปลองอะไรใหม่ๆทุกครั้ง เขาดูมีความสุขที่เห็นผมและลูกน้องคนอื่นๆมีพัฒนาการ เก่งขึ้น ดีขึ้นทุกครั้ง
1
โดยส่วนตัวแล้วเมื่อไรที่ผมได้ดี ไม่ว่าจะไม่ได้เป็นเจ้านายลูกน้องกันแล้ว ถ้าเขารู้ก็จะส่งข้อความมาแสดงความยินดีด้วยเสมอ ต่อให้เขามีตำแหน่งใหญ่ระดับโลกและวุ่นแค่ไหนก็ตาม
และผมก็นึกออกว่าสิ่งที่เขามีต่อผมนั้น ภาษาทางพุทธเรียกว่า มุทิตาจิต เป็นหนึ่งในพรหมวิหารธรรม ซึ่งก็คือ ยินดีเมื่อคนอื่นได้ดีนั่นเอง
3
มุทิตาจิตเป็นความรู้สึกที่ทำได้ยากสำหรับมนุษย์ทั่วไปที่มีกิเลสและชอบอิจฉาริษยาคน พอมีคู่แข่งไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงานเข้ามาทำให้กระทบต่อความก้าวหน้าหรืออำนาจที่ตนมีอยู่ก็มักจะคิดลบคิดร้ายกับเขาเป็นธรรมชาติ ผมก็เคยเจอเหตุการณ์ที่ลูกน้องรักผมสองคนไม่ชอบกัน กระทบกระทั่งกัน จนกลายเป็นเกลียดโจมตีใส่ร้ายป้ายสีกะเอาอีกข้างให้ตาย กลายเป็นบาดเจ็บทั้งคู่แถมลามปามมาถึงผมไปอีกด้วย ไม่มีใครได้อะไรขึ้นมาแถมงานที่ทำก็เสียหายไปอีก เรื่องแบบนี้เราเห็นได้ตามที่ทำงานทั่วไปจนคิดว่าเป็นปกติ
1
เหตุเกิดในที่ทำงานบ่อยกว่าที่อื่นก็คงเป็นเพราะเรื่องตำแหน่ง อำนาจ ความไม่ไว้วางใจเป็นตัวเสี้ยมเมื่อเทียบกับบริบทอื่นของเรา แต่ลึกๆ แล้วเราทุกคนก็มีความปรารถนาที่อยากให้คนอื่นได้ดีอย่างจริงใจได้อยู่อย่างในกรณีลูกของเราเอง ลูกศิษย์ หรือคนที่เรารัก ซึ่งก็แสดงว่าเรามีความสามารถนั้นอยู่
แต่เราจะใจกว้างพอที่จะคิดกับลูกน้อง เจ้านาย หรือแม้กระทั่งคู่แข่งได้หรือไม่ เพราะถ้าเราทำได้ เราก็จะได้ใจของลูกน้องอย่างเต็มกำลังเหมือนที่ผมรู้สึกว่าได้รับมุทิตาจิตจากซิกเว่ และก็จะได้ความรู้สึกเดียวกันนั้นกลับมาอีกด้วย หรืออย่างน้อยก็ทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งจนเกินพอดีจนกลายเป็นความเกลียดส่วนตัว
1
มุทิตาจิตจึงเป็นเครื่องมือที่วิเศษมากๆสำหรับผู้นำที่จะได้ใจทีมในยุคสมัย start with why ที่ผู้นำต้องตอบคำถามว่าทำไม ผม/ฉัน ต้องทุ่มเททำงานให้คุณ และเป็นเครื่องยับยั้งความอิจฉาริษยาได้ดีอยู่ประมาณหนึ่งที่ทำให้นำไปสู่การวางตัวเป็นกลางหรือ อุเบกขา อันจะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ถูกต้องได้ดีกว่ามาก
ผมเลยอยากจบบทความนี้ด้วยคำนำที่คุณซิกเว่เขียนให้ผมตอนที่ผมออกหนังสือคนพลิกแบรนด์แบรนด์พลิกคนในตอนนั้นผมเจอและทำงานกับคุณซิกเว่มาน่าจะห้าหกปีแล้ว เขาตั้งใจเขียนคำนำมากๆ และมันน่าจะเป็นมากกว่าคำนำาเพราะผมรู้สึกถึงมุทิตาจิตที่ซิกเว่มีให้ผมอย่างเต็มเปี่ยม
อ่านกี่ครั้งแม้เวลาจะผ่านไปสิบกว่าปีจากวันที่เขียนก็ยังจะรู้สึกขอบคุณ อยากให้เขาประสบความสำเร็จมากๆ และพยายามที่จะเป็นหัวหน้าแบบเขาที่ปรารถนาดีต่อลูกน้อง เฝ้าดูพัฒนาการและอยากให้ลูกน้องได้ดีให้เหมือนเขาเช่นกัน
1
My first meeting with Khun Thana was in September 1999 at Oriental Hotel. I remember a young, smart, finance guy-black suit, tie and gel in his hair. I was then working for Telenor and trying to buy a stake in DTAC.
The next time I met Khun Thana was in 2000. Telenor had now become a shareholder in DTAC and I was a Board director. We were discussing rebranding of TAC to DTAC and also launches of new promotions. He was still a young guy, still smart, stll talking fast, but now talking about marketing, not finance. He still had a black suit and a tie, but the gel in his hair was not there anymore.
1
The third time I remembered was in 2001. We were then discussing to implement a mobile portal, Djuice, in DTAC. I was still a Board of Director from Telenor. This time he spoke a bit slower, still smart, but now also a bit cool, and now this guy talked about product, not marketing or finance. Still wearing a suit, but the tie was gone. I start to think, who is this guy and how come he changes professions faster than most people are changing shirts?
The forth time I saw him was November 21,2002. It was my first management committee meeting as Co-CEO. I saw a very concerned and skeptical Khun Thana sitting there observing this two new guys coming into the company. It was like him saying “is this going to make things even worse?” Not long after this meeting , Khun Vichai and I decided to take a chance with Khun Thana.
We had both seen something in him that we wanted to test out, and right there after I remember we called up Khun Thana in Japan where he was on vacation with his family to ask if he could take the challenge of creating the best prepaid brand in Thailand. We asked him to create a historical turn around story that people would talk about.
We really asked him for a lot. We took risk with this young talented guy, and he took even bigger risk when he said, “yeap!” This time he really talked slower and we could hear both his nervousness but also passion, coming through the telephone line.
Sine then I have seen Khun Thana almost everyday for four years. He is still talking finance, still talking marketing, still talking product, but now also combining these all in overall commercial sense. He is still talking fast, but the suit, the tie and the gel are all gone.
Khun Thana is what we would describe as a multi-talented executive. And he has what I regard as the most important quality of it all – passion and ability — to motivate and lead people. I know he is talking about me in this book, and I will also be talking about him when I am writing my book.
Not only has Khun Thana been an architect for building the best prepaid brand in Thailand, actually not only in Thailand, both the brand name “happy” and the marketing concept have been adopted in many other countries already, all inspired by the tremendous success it has had in DTAC.
But not only this, Khun Thana has only been instrumental in the DTAC’s overall success. In addition to this , I am very grateful for what Khun Thana has given me personally. I have always could rely on his advice and trust. Being a farang CEO is not always easy, thanks to Khun Thana, I have managed to understand DTAC and a bit of the Thai culture. DTAC would not have been what we are without him
Let me end with a quote from President Reagan who once said
“You ain’t seen nothing yet”
2
This is the best I can say about Khun Thana’s future
Sigve Brekke
โฆษณา