วันนี้ เวลา 00:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สำรวจเครื่องมือเจรจาของ 'อาเซียน' ต่อทรัมป์ ผ่าน 'ทฤษฎีสมุททานุภาพ'

นักวิชาการชี้ อาเซียนมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ ที่สนองความต้องการควบคุมเส้นทางการค้าและโลจิสติกส์ทั่วโลกของสหรัฐได้ แต่ทุกประเทศต้องเจรจากันเพื่อเสริมความเป็นหนึ่งเดียวมากกว่านี้
หากย้อนกลับไปในช่วงหลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว มีหลายคำพูดของเขาที่ทำให้ทั้งโลกต้องสั่นสะเทือน ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหยอกล้อว่าอยากให้แคนาดาเข้ามาเป็นรัฐที่ 51 ของอเมริกา อยากเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโก (Gulf of Mexico) เป็น อ่าวสหรัฐ
กล่าวหาว่าการตัดสินใจลงนามใน สนธิสัญญา ตอร์ริโฮส–คาร์เตอร์ (Torrijos-Carter) ยกช่องแคบปานามาให้ประเทศปานามาของ จิมมี คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นเรื่องที่ผิดพลาด หรือแม้กระทั่งความต้องการเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเขตปกครองตัวเองของประเทศเดนมาร์ก
หากพิจารณาประเด็นทั้งหมดแบบ “แยกส่วน” อาจไม่เห็นสิ่งที่สละสำคัญจากคำพูดเหล่านั้น ทว่าถ้าลองวิเคราะห์ความต้องการเหล่านั้นแบบ “องค์รวม” รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการ (ผอ.) บริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ทั้งหมดเป็นความต้องการของทรัมป์ในการขยายอาณานิคมสหรัฐรวมทั้งควบคุมเส้นทางการค้าและโลจิสติกส์ทั่วโลก (Sea Power)
นอกจากนี้ อีกหนึ่งสัญญาณที่อาจตีความได้ก็คือ ทรัมป์กล่าวถึงอดีตประธานาธิบดี วิลเลี่ยม แมคคินลีย์ ในคำกล่าวสุนทรพจน์วันสาบานตนรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมาว่าเขาเป็นประธานาธิบดีที่ทำให้สหรัฐรุ่งเรือง ซึ่งแมคคินลีย์มีชื่อเสียงในช่วงการดำรงตำแหน่งอยู่สองด้านคือ นโยบายขึ้นภาษีเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้สหรัฐและแนวคิดการล่าอาณานิคม ไม่ว่าจะเป็น การยึดครองมะนิลาในฟิลิปปินส์ ยึดครองเปอร์โตริและต่อมาได้ผนวกฟิลิปปินส์ กวม และเปอร์โตริโกอย่างเป็นทางการ
ดังนั้น หากพิจารณาท่าทีของเขาทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว อาจหมายความว่าทรัมป์ต้องการขยายอาณานิคมของสหรัฐออกไปรวมทั้งส่งเสริมความสะดวกสบายของสหรัฐการในการค้าขายผ่านเส้นทางการเดินเรือ ตามที่แสดงให้เห็นจากความต้องการ “คลองปานามา” กลับมาเป็นของสหรัฐ โดยอ้างเหตุผลว่า สหรัฐเป็นผู้ใช้งานคลองปานามาสูงที่สุดอันดับหนึ่งและประเทศปานามาก็ยังเก็บค่าผ่านทางเรือขนส่งสินค้าสหรัฐในราคาที่สูง
อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะมีค่าผ่านทางที่สูง แต่สหรัฐก็จำเป็นต้องผ่านคลองดังกล่าวเพราะเป็นทางเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก รวมทั้งยังช่วยล่นเวลาเดินเรือหลายวันเมื่อเทียบกับการไปอ้อมจุดต่ำสุดของอเมริกาใต้
ดังนั้น หากตัดภาพมาที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลายประเทศในอาเซียนที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐ รวมทั้งประเทศไทยที่เกินดุลการค้าสหรัฐมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 หรือคิดเป็นกว่า 20% รศ.ดร.ปิติ มองว่า แม้หนึ่งความท้าทายของประเทศไทยและอาเซียนคือการถูกทรัมป์ “เล่นงาน” ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าใส่ ทว่าหากพิจารณาความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ อาเซียนอาจหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเป็น “ไพ่ต่อรองได้”
1
โฆษณา