23 ม.ค. เวลา 16:24 • สุขภาพ

ฝุ่นเท่านี้ เทียบเป็นบุหรี่กี่มวน

เช้านี้หลายพื้นที่ในกรุงเทพ ปริมณฑล และหลายจังหวัดยังได้รับผลกระทบจากมลพิษฝุ่น PM2.5 ใน รพ. มีรายงานว่ามีผู้ที่มีอาการกำเริบจากหอบและภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของ PM2.5 มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะจริงจังกับปัญหานี้มากกว่าแค่การเอาน้ำไปฉีด หรือสารพัดวิธีแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อีกกี่คนที่ต้องเข้า รพ. เพราะปัญหาที่ไม่ถูกแก้อย่างจริงจัง
2
ผมเชื่อว่าทุกวันนี้ หลายคนคงชินกับการอ่านสเกล AQI (Air Quality Index) ที่เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพอาการในแต่ละวันไปแล้ว(มันเป็นเรื่องที่ควรจะชินหรือเปล่านะ) สเกลดังกล่าวไล่ตามสีโดยแทนปริมาณ PM2.5 ที่ปนเปื้อนในอากาศในหน่วย ไมโครกรัมต่อตารางเมตร
แต่นั่น ก็อาจจะยากไปสำหรับบางคน
3
วันนี้ผมเลยจะมาทำให้มันง่ายขึ้น โดยการเทียบว่าค่า PM2.5 ที่ได้รับในแต่ละวันเทียบเท่าการสูบบุหรี่กี่มวน (บุหรี่ 1 มวน ปล่อยมลพิษทางอากาศในรูป PM2.5 ประมาณ 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
1
โดย AQI มีการแบ่งระดับเป็นสีดังนี้
1. สีฟ้า-สีเขียว (0-50 ug/m3) เป็นระดับที่ไม่เป็นอันตรายมากนักต่อร่างกาย หากไม่ได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานาน การได้รับมลพิษในระดับนี้เทียบได้กับการสูบบุหรี่ราว 1-2 มวน (แค่วันเดียวนะครับ ทุกวันก็แย่อยู่ดี)
2. สีเหลือง (51-100 ug/m3) ถือเป็นระดับที่อันตราย เริ่มเห็นผลกระทบต่อสุขภาพ
การได้รับมลพิษในระดับนี้อาจก่อให้เกิดอาการแสบจมูก คอ ระคายเคืองผิวหนัง และอาจก่อให้เกิดภาวะตาขาวอักเสบจากมลพิษได้ โดยการได้รับฝุ่นในระดับนี้เทียบได้กับการสูบบุหรี่ 3-5 มวนเลยทีเดียว
3. สีส้ม (101-200 ug/m3)
ที่ระดับนี้ อันตรายต่อสุขภาพเริ่มชัดเจนมากขึ้น มลพิษในระดับนี้อาจทำให้เกิดคออักเสบปานกลางถึงรุนแรง มีอาการไอเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง เริ่มมีเสมหะเหนียวข้น
อาการตาอักเสบอาจพบได้มากขึ้นที่ระดับนี้ ความรุนแรงของมลพิษระดับนี้เทียบได้กับบุหรี่ 7-9 มวนต่อวัน
1
4. สีแดง (201-300 ug/m3)
1
เป็นระดับที่ไม่ควรใช้ชีวิตในที่โล่งอย่างยิ่ง ความรุนแรงของมลพิษในระดับนี้อาจทำให้เกิดภาวะหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน มีอาการหายใจติดขัด หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงดังวี้ด ในบางรายอาจมีอาการเจ็บเข้นแน่นหน้าอก และหอบเหนื่อยจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ความรุนแรงเทียบได้กับมลพิษจากบุหรี่ 10-14 มวน
1
5. สีม่วง (มากกว่า 300 ug/m3)
เป็นระดับอันตรายที่ไม่ต้องบรรยายอะไรอีก การอยู่ในมลพิษระดับนี้เป็นเวลาสั้นๆก็อาจเป็นปัจจะกระตุ้นให้เกิดอาการหอบเหนื่อย และเสี่ยงเกิดภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด และสารพัดอันตรายจากมลพิษ(ที่พูดไปหลายรอบแล้ว) เป็นระดับความรุนแรงที่ควรอยู่แต่ในเคหสถาน จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
จากข้อมูลในปี 2567 กรุงเทพมหานครมีระดับมลพิษจาก PM 2.5 สูงกว่าค่าระดับสีเขียว(ตั้งแต่เหลืองเป็นต้นไป) อยู่ที่ 252 วัน หรือประมาณ 69.23% ของทั้งปี นั่นเท่ากับว่าปีที่ผ่านมา คนเมืองถูกบังคับให้สูบบุหรี่เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,145 ถึง 3,436 มวน หรือคิดจากค่าเฉลี่ยก็ประมาณ 2,290 มวน ตลอดทั้งปี
โดยเฉลี่ยคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปสูบบุหรี่รวมทั้งปีอยู่ที่ 1,198 มวนต่อคนต่อปี หรือราวๆ 3.3 มวนต่อวัน จะเห็นได้ว่าปริมาณฝุ่นที่คนกรุงเทพฯได้รับตลอดทั้งปี สูงกว่าคนที่ตั้งใจสูบบุหรี่จริงๆเสียอีก
บางทีปัญหา PM2.5 อาจส่งผลกระทบต่อระดับสาธารณสุขและสุขภาพของคนไทย ได้ไม่แตกต่างจากการระบาดของโควิด ในอีกไม่นานจากนี้ ไม่ใช่เพียงเพราะว่ามันรุนแรง แต่เป็นเพราะเราไม่ใส่ใจ และตระหนักถึงผลกระทบจากมลพิษอย่างแท้จริง
1
อ้างอิง
โฆษณา