24 ม.ค. เวลา 08:06 • สุขภาพ

😷 เช้านี้แดงเกือบทุกเขต กทม. #ค่าฝุ่น #PM25 เกินค่ามาตรฐานระดับสีแดง มีผลต่อสุขภาพ

🆘🚦🆘🚦🆘🚦🆘
ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 (Particulate Matter 2.5) ในประเทศไทยได้กลายเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุขที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center) ของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าในปี 2566 มีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศจำนวน 10.5 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 3.6 โรคที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนังอักเสบ และโรคตาอักเสบ โดยภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่มีผู้ป่วยมากที่สุด รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร
เมื่อพิจารณาเป็นรายโรคสำคัญ พบว่า:
• โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง: มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 39.1 โดยพบมากที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา
• โรคมะเร็งปอด: เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
• โรคหลอดเลือดสมอง: เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 โดยพบมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป
ในช่วงต้นปี 2567 (1 มกราคม – 13 กุมภาพันธ์) พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศแล้ว 910,000 ราย โดยภาคเหนือยังคงเป็นพื้นที่ที่มีผู้ป่วยสูงกว่าภาคอื่น ๆ 
การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยเหล่านี้สะท้อนถึงผลกระทบที่รุนแรงของฝุ่น PM 2.5 ต่อสุขภาพของประชาชน การเฝ้าระวังและป้องกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
📊 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพฯ รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพฯ วันที่ 24 ม.ค. 68 เวลา 07.00 น.
12 อันดับ #ค่าฝุ่นPM25 สูงสุดในกรุงเทพฯ
🔺1. #หนองแขม 108 มคก./ลบ.ม.
🔺2. #คันนายาว 107.7 มคก./ลบ.ม.
🔺3. #มีนบุรี 105 มคก./ลบ.ม.
🔺4. #ทวีวัฒนา 103.8 มคก./ลบ.ม.
🔺5. #หลักสี่ 102.6 มคก./ลบ.ม.
🔺6. #คลองสามวา 101.5 มคก./ลบ.ม.
🔺7. #บางนา 101.2 มคก./ลบ.ม.
🔺8. #หนองจอก 101 มคก./ลบ.ม.
🔺9. #ตลิ่งชัน 99.9 มคก./ลบ.ม.
🔺10. #บึงกุ่ม 99.5 มคก./ลบ.ม.
🔺11. #ลาดพร้าว 98.8 มคก./ลบ.ม.
🔺12. #ภาษีเจริญ 95.2 มคก./ลบ.ม.
คำแนะนำสุขภาพ
🔴 คุณภาพอากาศระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หากต้องออกกลางแจ้งให้สวมหน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้ง หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ หากมีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
🟠 คุณภาพอากาศระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ควรจำกัดระยะเวลาทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่ใช้แรงมากกลางแจ้ง ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หากต้องออกกลางแจ้งให้สวมหน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้ง หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ หากมีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยืนยัน ฝุ่นใน กทม. มาจากการเผา-จราจร หากลดฝุ่นจากรถยนต์และแจ้งเตือนล่วงหน้า สามารถช่วยได้ 💨
23 ม.ค. 68 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่สถานีตรวจวัดอุตุนิยมวิทยาใกล้ผิวดินและมลสารทางอากาศ (KU TOWER) เพื่อติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยมี รศ. ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเยี่ยมชมการทำงานของ KU TOWER
รศ. ดร.สุรัตน์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ติดตามข้อมูลและทำงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาว่าฝุ่นมีต้นตอมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยเมื่อได้ข้อมูลเหล่านี้มาก็ส่งให้ กทม. ใช้ เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร
สำหรับ KU TOWER เป็นเสาสูงขนาด 117 เมตร ใช้เก็บตัวอย่างลักษณะทางอุตุนิยมวิทยาใกล้ผิวดินและมลสารทางอากาศ โดยมีระดับของการวัดที่ความสูง 5 ระดับ คือ 10, 30, 50, 75 และ 110 เมตร และมีเรื่องฝุ่นที่เก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 3 ระดับ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาใช้วิเคราะห์ที่มาของฝุ่น รวมทั้งหาองค์ประกอบทางเคมีว่าฝุ่นเหล่านี้มาจากกิจกรรมประเภทใด
รศ. ดร.สุรัตน์ อธิบายถึงสถานการณ์ฝุ่นสูงในช่วงนี้ว่า เกิดจากอากาศเย็น ทำให้อากาศหนัก เมื่ออากาศหนักขึ้นก็จะจมตัวลง ซึ่งการจมตัวลงก็ทำให้ชั้นบรรยากาศมีความแคบลง สิ่งที่อยู่ข้างในก็จะมีความเข้มข้นสูงขึ้น แต่ย้อนกลับไปในช่วงเวลาก่อนที่อากาศจะจมตัวลง กิจกรรมของมนุษย์เราปล่อยอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจราจรและอื่นๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้คือสาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่นอยู่ภายใน
จริงๆ แล้วฝุ่นในกรุงเทพฯ มีแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น ตัวเลขที่เห็นสูงสุดจะอยู่ประมาณ 50-60 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) แต่ถ้าเมื่อไรก็ตามที่ตัวเลขเกินระดับนี้ขึ้นมา แสดงว่ามีฝุ่นจากข้างนอกเข้ามาเติม ซึ่งที่เราพบเป็นฝุ่นที่มาจากการเผาไหม้ชีวมวลที่ลอยเข้ามาแล้วจมตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ทำให้ความเข้มข้นสูงขึ้นในช่วงเช้า
อย่างไรก็ตาม ปกติฝุ่นจะเข้ามาตลอด แต่เมื่อเจออากาศเย็นที่ไหนก็จะจมตัวลงที่นั่น จึงทำให้เห็นว่าช่วงกลางคืนหลังเที่ยงคืนไปแล้วจะมีความเข้มข้นสูงขึ้น และหากตอนเช้าอากาศยังนิ่งอยู่ ประกอบกับมีรถในกรุงเทพฯ ที่เดินทางตอนเช้าก็จะยิ่งทำให้ความเข้มข้นสูงขึ้น
🌆ในส่วนของสถานการณ์ตอนนี้ฝุ่นมาจากไหน บอกได้ด้วย 2 วิธี
1. ดูจากตัวเลขความเข้มข้น ถ้าตัวเลขความเข้มข้นข้างบนสูงกว่าข้างล่าง แสดงว่าตอนนั้นฝุ่นลอยเข้ามา
.
2. นำตัวอย่างกระดาษกรองฝุ่นละอองไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี แล้วจะบอกได้ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้างและมาจากกิจกรรมอะไร โดยเช้าวันนี้ที่ระยะความสูง 75 เมตร ฝุ่นมีความเข้มข้นสูง แสดงให้เห็นว่าอากาศจมตัว
รศ. ดร.สุรัตน์ ยังให้ความเห็นอีกว่า การจะแก้ปัญหาฝุ่นสูงตอนนี้ เนื่องจากปัญหาหลักอยู่ที่การเผาไหม้ข้างนอก ในกรุงเทพฯ จึงควรทำในส่วนที่ทำได้คือมาตรการลดฝุ่นที่เกิดจากในพื้นที่ ซึ่งก็คือฝุ่นจากรถยนต์ต่างๆ และสิ่งที่ช่วยได้เยอะคือการพยากรณ์และแจ้งเตือนล่วงหน้าว่าช่วงไหนจะเป็นอย่างไร
นายชัชชาติกล่าวว่า กทม. มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ Work from Home (WFH) หรือมาตรการ Low Emission Zone (LEZ) แต่เราไม่สามารถห้ามรถทุกคันเข้ามาได้ เนื่องจากอาจกระทบกับเศรษฐกิจ จึงใช้หลักการจูงใจให้คนทำดี ร่วมดูแลรักษารถให้อยู่ในมาตรฐาน และขึ้นทะเบียน Green List โดยนำเทคโนโลยี CCTV และ AI เข้ามาตรวจควบคุม
ซึ่งภายหลังบังคับใช้ LEZ ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ถึงประมาณช่วงเช้าของวันที่ 31 มกราคม ตรวจพบว่ามีรถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไปที่ไม่ได้อยู่ใน Green List ฝ่าฝืนเข้ามาในพื้นที่วงแหวนรัชดาภิเษกกว่า 700 คัน ซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจังต่อไป
❤️‍🔥ปัญหา PM 2.5 ในประเทศไทยเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ซึ่งมักติดอันดับเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลกเป็นประจำ
สาเหตุหลักของ PM 2.5 ในไทย (เพิ่มเติม)
1. การจราจรและควันจากยานพาหนะ
• ปริมาณรถยนต์จำนวนมากในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่
• เครื่องยนต์ดีเซลเป็นแหล่งปล่อยฝุ่น PM 2.5 สูง
2. การเผาไหม้ชีวมวลและการเผาป่า
• การเผาไร่อ้อย ข้าวโพด และข้าวเพื่อเตรียมที่เพาะปลูก
• ไฟป่าในภาคเหนือและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา ลาว และกัมพูชา
3. โรงงานอุตสาหกรรมและการผลิตพลังงาน
• โรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยฝุ่นละอองและก๊าซพิษ
• การเผาขยะและสารเคมีในบางพื้นที่
4. สภาพอากาศและภูมิประเทศ
• อากาศปิดและความกดอากาศสูงในช่วงฤดูหนาวทำให้ฝุ่นสะสม
• ลักษณะภูมิประเทศของเชียงใหม่ที่เป็นแอ่งกระทะทำให้ฝุ่นไม่กระจายตัวง่าย
ผลกระทบของ PM 2.5 ต่อสุขภาพ
• ระบบทางเดินหายใจ: ระคายเคืองจมูก คอ ไอ หายใจลำบาก
• ระบบหัวใจและหลอดเลือด: เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
• ผลกระทบต่อเด็กและผู้สูงอายุ: เสี่ยงต่อโรคปอดเรื้อรัง หอบหืด และภูมิแพ้
• ความเสี่ยงมะเร็งปอด: การสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นเวลานาน
รศ. ดร. สุรัตน์ ยังเผยผลวิจัย PM2.5 สามารถส่งผลกระทบต่อ โครงสร้างสมองของเด็กและผู้ใหญ่ได้ ซึ่งจะทำให้ #สมองของ เด็กถูกลดพัฒนาการลง ส่งผลต่อความฉลาด ด้านความจำและ ความคิดเร็วมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนในวัยผู้ใหญ่มีความเสี่ยงที่จะ ทำให้เกิด #ภาวะสมองเสื่อม และ #stroke โดยเฉพาะคนสูงวัย
งานวิจัยเรื่องมลพิษทางอากาศ โดยสำนักบริหารมหานคร ลอนดอน (Greater London Authority) พบว่า การรับมลพิษ ทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกาย อาจนำไปสู่การ #แท้งลูก ในหญิงตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุของภาวะ #สเปิร์มลด ปริมาณลง และ #ยับยั้งการเจริญเติบโตของปอดในเด็ก ส่วน อันตรายต่อสุขภาพในวัยผู้ใหญ่ อาจป่วยเป็น #โรคเรื้อรัง #มะเร็ง หรือ #ภาวะสมองขาดเลือด
กลุ่มนักวิจัยต่างสถาบัน นำโดย นักวิจัย Xi Chen จาก มหาวิทยาลัย Yale University ทำการวิจัย มลภาวะเมืองหลวงมี ผลให้สมองของมนุษย์มีการเรียนรู้ถดถอยอย่างไร ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งพบว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้ถนนที่มี การจราจรคับคั่งตลอดวัน มีแนวโน้มเป็นโรค #ความจำเสื่อม แบบ demantia
และโดยเฉพาะสมองเด็กๆ ที่ได้รับผลกระทบจาก มลภาวะซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน คือเด็กๆ ที่อยู่ในช่วงวัยกำลังเรียน รู้ หากอยู่ในพื้นที่มีระดับไนโตรเจนไดออกไซด์เข้มข้น มีโอกาส เป็น #โรคสมาธิสั้น (ADHD) #โรคซึมเศร้า และ #ภาวะวิตก กังวล
ฝุ่น PM2.5 สามารถเล็ดลอดจากระบบการป้องกันสิ่งแปลกปลอม เข้าสู่ร่างกาย และแทนที่มันจะสามารถกำจัดออกไปเมื่อเรา
หายใจออก แต่มันกลับเข้าไปติดอยู่ในปอดหรือระบบเส้นเลือด ทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการ สัมผัสกับฝุ่นพิษ เป็นสาเหตุของการเกิด #โรคมะเร็ง #โรคหัวใจ และ #หัวใจวาย และยังสามารถก่อให้เกิด #ภาวะภูมิแพ้ที่รุนแรง โดยมลพิษชนิดนี้ทำให้อาการ #โรคหอบหืดรุนแรงขึ้น และการ ศึกษาพบว่าการสัมผัสมลพิษเป็นระยะเวลานาน เพิ่มโอกาสเสี่ยง ของการเสียชีวิตจากระบบหายใจล้มเหลว
✅แนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ต้นตอในประเทศไทย
ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในประเทศไทยมีสาเหตุหลักจาก การจราจร, โรงงานอุตสาหกรรม, การเผาป่า และการเผาในที่โล่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีแนวทางแก้ไขปัญหาที่ต้นตออย่างจริงจัง โดยแบ่งออกเป็น 3 มิติหลัก ได้แก่ ภาครัฐ, ภาคเอกชน, และ ประชาชน
1. มาตรการของภาครัฐ
1.1 ควบคุมและลดการเผาในที่โล่ง
• บังคับใช้ กฎหมายห้ามเผา อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน
• สนับสนุนเกษตรกรให้ใช้ วิธีการไถกลบแทนการเผา และสนับสนุน เครื่องจักรการเกษตร
• ส่งเสริม การปลูกพืชแบบ Smart Farming ที่ลดการพึ่งพาการเผาซากพืช
1.2 ลดการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะ
• เร่งผลักดัน รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และขนส่งสาธารณะสะอาด
• ปรับเปลี่ยน มาตรฐานไอเสีย ของยานพาหนะ เช่น ยูโร 6 (Euro 6 Emission Standard)
• บังคับใช้มาตรการ ห้ามรถยนต์ที่มีมลพิษสูงเข้าเมือง เช่น Low Emission Zone (LEZ) เหมือนในยุโรป
1.3 ควบคุมมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
• ติดตั้ง เซ็นเซอร์ตรวจวัดมลพิษ บนปล่องโรงงานและแสดงผลแบบเรียลไทม์
• เพิ่มบทลงโทษโรงงานที่ปล่อยมลพิษเกินมาตรฐาน
• ส่งเสริมการใช้ พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์, ลม, ไฮโดรเจน
1.4 การวางแผนเมืองและพื้นที่สีเขียว
• ขยายพื้นที่สีเขียว (Green Belt & Urban Forest) ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่
• พัฒนาระบบ Smart City ที่มีการจัดการคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์
• บังคับใช้กฎหมายอาคารเขียว (Green Building Standard) เพื่อลดมลพิษจากฝุ่นควัน
2. บทบาทของภาคเอกชน
2.1 อุตสาหกรรมและบริษัทขนส่ง
• ปรับเปลี่ยนมาใช้ ระบบขนส่งที่ปล่อยมลพิษต่ำ เช่น รถไฟฟ้า, ไฮโดรเจน
• ใช้ AI และ IoT ควบคุมการปล่อยควันในโรงงานอุตสาหกรรม
• สนับสนุน Supply Chain ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการขนส่งสินค้าผ่านการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล
2.2 ธุรกิจการเกษตร
• สนับสนุนการใช้ เครื่องจักรไถกลบตอซัง แทนการเผา
• ส่งเสริม เกษตรปลอดเผา (No-Burn Agriculture) ผ่าน Incentive หรือเงินอุดหนุน
• ใช้เทคโนโลยี Biomass Conversion เปลี่ยนของเหลือจากการเกษตรเป็นพลังงานสะอาด
3. การมีส่วนร่วมของประชาชน
3.1 ปรับพฤติกรรมเพื่อลดการก่อมลพิษ
• หันมาใช้ ขนส่งสาธารณะ หรือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า
• ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในครัวเรือน เช่น การใช้ เตาหุงต้มพลังงานสะอาด
• หลีกเลี่ยงการเผาขยะในที่โล่ง
3.2 ใช้เทคโนโลยีช่วยติดตามคุณภาพอากาศ
• ติดตามค่าฝุ่น PM 2.5 ผ่านแอปฯ เช่น Air4Thai, IQAir, Plume Labs
• ใช้ เครื่องฟอกอากาศ ภายในบ้านและที่ทำงาน
3.3 ร่วมเป็นกระบอกเสียงในการแก้ปัญหา
• ร่วมรณรงค์ให้ภาครัฐและเอกชนออกนโยบายที่เข้มงวดขึ้น
• ใช้โซเชียลมีเดียในการสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบของ PM 2.5
• สนับสนุน องค์กรและโครงการปลูกป่า ที่ช่วยฟื้นฟูอากาศ
สรุป
การแก้ไขปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืนในประเทศไทย ต้องเริ่มที่ต้นตอ ไม่ใช่เพียงแค่การรับมือกับผลกระทบ มาตรการทางกฎหมายที่เข้มแข็ง และ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จะช่วยให้ประเทศไทยลดปริมาณฝุ่นละอองและป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศได้ในระยะยาว
โฆษณา