26 ม.ค. เวลา 15:00 • สิ่งแวดล้อม

‘เลี้ยงแกะ’ ใต้ ‘แผงโซลาร์เซลล์’ แนวคิดปศุสัตว์พลังงานแสงอาทิตย์กำลังบูมในสหรัฐ เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน

อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์กำลังเฟื่องฟูทั่วโลก และใครจะคิดว่า “แกะ” จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้ “โซลาร์ฟาร์ม” ได้ผลผลิตที่ดีมากยิ่งขึ้น
แนวคิดการพัฒนาพื้นที่เพื่อการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ร่วมกับการใช้งานเชิงเกษตรกรรม หรือที่เรียกว่า “อะกริวอลเทอิกส์” (Agrivoltaics) ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและพลังงานไปพร้อม ๆ กันแล้วกัน พืชพรรณต่าง ๆ จะป้องกันไม่ให้น้ำฝนไหลบ่าและการกัดกร่อนมาปนเปื้อนแหล่งน้ำ แต่ก็ต้องควบคุมเช่นกัน
ต้นไม้ใบหญ้าที่เริ่มสูงอาจเริ่มบังแสงแดดให้กับแผงโซลาร์เซลล์ จนทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่าคือ การไฟไหม้จากหญ้าแห้ง ครั้นจะคอยตัดหญ้าบ่อย ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีก เพราะมีความเสี่ยงที่เครื่องตัดหญ้าจะไปโดนเสาและแผงโซลาร์เซลล์
ดังนั้น จึงเกิดแนวคิด “ปศุสัตว์พลังงานแสงอาทิตย์” (Solar Grazing) เป็นวิธีการนำสัตว์ที่เลี้ยงไว้ในโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็น “แกะ” แต่ก็ยังมีสัตว์แทะเล็มชนิดอื่น ๆ ที่ถูกเลี้ยงด้วยเช่นกัน เพราะพวกมันยสามารถเข้าไปจัดการกับหญ้าที่อยู่ตามซอกหลืบเล็ก ๆ และแทะกินได้ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไร
สมาคมปศุสัตว์พลังงานแสงอาทิตย์แห่งอเมริกาประมาณการว่าปัจจุบันมีแกะราว 80,000 ตัว ถูกเลี้ยงในโซลาร์ฟาร์ม 500 แห่งใน 27 รัฐ คิดเป็นพื้นที่กว่า 2,500,000 ไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าในเวลาเพียง 2 ปี
1
การที่แกะกินหญ้าใต้แผงโซลาร์เซลล์ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อฟาร์มโซลาร์เซลล์เท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อแกะด้วย โทนี่ อินเดอร์ เกษตรกรในออสเตรเลีย ระบุว่า ตั้งแต่มีการติดตั้งฟาร์มโซลาร์เซลล์บนที่ดินของเขา การผลิตขนแกะจากแกะที่กินหญ้าใต้แผงโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้น 15%
SolarPower Europe องค์กรด้านพลังงานแสงอาทิตย์ พบว่าดินที่เลี้ยงสัตว์ด้วยแผงโซลาร์เซลล์สามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าถึง 80% นอกจากนี้ยังช่วยกักเก็บน้ำได้ 20-30% และบริษัทพบว่ามีแมลงผสมเกสรเพิ่มขึ้น 60%
โฆษณา