25 ม.ค. เวลา 10:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

World Economic Forum การประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือ เพื่อเตรียมเข้าสู่ยุคแห่งความอัจฉริยะ

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาคงได้มีข่าวภารกิจของท่านนายกและผู้นำประเทศหลายๆคน ไปร่วมประชุมที่ชื่อว่า เวิลด์เอโคโนมิก ฟอรัม (World Economic Forum, WEF) แล้วการประชุมที่ว่าคืออะไร? แล้วสำคัญหรือมีผลกระทบอย่างไรต่อวงการนวัตกรรม ตามไปดูกันครับ
WEF คืออะไร?
เป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งในปี 1971 โดย Dr Klaus Schwab เป็นผู้ก่อตั้งและแัจจุบันยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานของเวิลด์เอโคโนมิก ฟอรัม
พันธกิจของ WEF คือสร้างแพลตฟอร์มที่ผู้นำธุรกิจ การเมือง วิชาการ และภาคส่วนอื่นๆ ของสังคม ให้สามารถพบปะ มีปฏิสัมพันธ์ และขยายความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นที่ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อกำหนดวาระระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับอุตสาหกรรม
โดยต่อมาพัฒนาแนวคิดอันนี้สู่การเป็นองค์กรระหว่างประเทศและแพลตฟอร์มระดับโลกชั้นนำสำหรับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในปี 1998 ก่อตั้งมูลนิธิ Schwab เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการทางสังคมและนวัตกรรม
ผู้ก่อตั้ง WEF แวะมายังประเทศไทย
ทำไมมีผู้ให้ความสำคัญเป็นติดตามการอภิปรายใน WEF?
1. WEF รวบรวมผู้นำจากภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล เอกชน องค์กรไม่แสวงหารายได้ ทำให้เป็นการประชุมที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อให้ผู้นำทั่วโลกในการทำความเข้าใจความท้าทายและโอกาสระดับโลก
2. การอภิปรายใน WEF มักกำหนดวาระความร่วมมือระดับโลกและการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งส่งผลต่อทิศทางของโลก เช่น Davos Declaration ในปี 1988 ระหว่างกรีซและตุรเกีย ในการลดความขัดแย้งและแสวงหาการสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
3. คุณภาพของข้อมูลที่นำมาอภปรยายกันใน WEF ช่วยให้ปัจเจกชนและองค์กรสามารถตัดสินใจและวางกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทรัมป์ที่เพิ่งรับตำแหน่งก็ร่วมประชุมแบบทางไกล
การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 55 แล้วซึ่งการอภิปรายจัดภายใต้หัวข้อ “ Collaboration for intelligence age”(ความร่วมมือเพื่อเข้าสู่ยุคอัจฉริยะ) โดยหัวข้อหลัก 5 ประการ เพื่อหาแนวทางรับมือกับความท้าทายระดับโลกที่ซับซ้อน
การสร้างการเติบโตใหม่: เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังปรับตัว ผู้นำต้องค้นหาแหล่งความมั่งคั่งใหม่มุ่งเน้นความยืดหยุ่น ความครอบคลุม และนวัตกรรม
อุตสาหกรรมในยุคอัจฉริยะ: เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม สมดุลระหว่างผลกำไรระยะสั้นและความยั่งยืนระยะยาว ปรับกลยุทธ์ด้วย AI และเทคโนโลยีดิจิทัล
การร่วมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: ปรับโครงสร้างการจ้างงาน การศึกษา และการดูแลสุขภาพ สร้างทักษะและโอกาสในสังคมสมัยใหม่ สร้างงานที่ดีและระบบประกันสังคม
การสร้างโลกที่ยั่งยืน: หาแนวทางร่วมมือด้านเทคโนโลยีสะอาด เร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน สร้างความยั่งยืนผ่านการเงิน เทคโนโลยี และนโยบาย
การสร้างความไว้วางใจ: แก้ปัญหาความแตกแยกในสังคม ส่งเสริมความร่วมมือข้ามพรมแดน ต่อสู้กับข่าวปลอม และความขัดแย้ง
เรื่องราวอะไรที่มีการพูดถึงมากในการประชุมครั้งนี้?
หนีไม่พ้นเรื่องของ AI - Artificial Intelligence ครับ
โดยที่ประชุมได้เปิดตัว Frontier MINDS (Meaningful, Intelligent, Novel, Deployable Solutions) แพลตฟอร์มใหม่ ซึ่งตั้งเป้าจะนำ AI ที่มีผลกระทบสูงและสามารถทำซ้ำได้จากทั่วโลกเข้ามารวบรวมไว้
โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ AI โซลูชันเพื่อแก้ปัญหาที่มีความท้าทายระดับโลก อาทิ การเข้าถึงการดูแลสุขภาพอย่างเท่าเทียม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน ห่วงโซ่อุปทานที่มีความยืดหยุ่น และการปรับเปลี่ยนแรงงาน
นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานร่วมกับโครงการ GAEA (Giving to Amplify Earth Action) ของฟอรัม เพื่อขับเคลื่อนโซลูชัน AI สำหรับผลกระทบด้านภูมิอากาศและการบริหารทรัพย์สินอย่างยั่งยืน
นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการขยายผลของ AI ไปสู่การแก้ปัญหาที่ท้าทายแล้ว คณะทำงานของ WEF ยังให้ความสำคัญในเรื่อง
1. ความปลอดภัยทางไซเบอร์ นำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีในการรักษาความปลอดภัยระบบ AI โดยเน้นแนวทางตามความเสี่ยง การจัดทำบัญชีระบบ AI การรักษาความปลอดภัยก่อนและหลังการใช้งาน และการสร้างธรรมาภิบาลที่เข้มแข็งของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน AI
2. การสำรวจผลกระทบของ AI ต่อการใช้พลังงานและเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ โดยเน้นความกังวลในเรื่องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของ AI พัฒนากลยุทธ์ในการใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสนับสนุนการลดคาร์บอน ข้อเสนอในการเพิ่มสนับสนุนทางการเงินสำหรับการใช้ AI อย่างยั่งยืน
3. จับตาการพัฒนา AI ของ จีน ซึ่งมีแผนอย่างมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำในระดับโลก โดยมีแผนที่จะขยายอุตสาหกรรม AI มูลค่า140 พันล้านเหรียญภายในปี 2573 ผ่านการสนับสนุนจากรัฐบาลและการลงทุนในอุตสาหกรรม พร้อมกับความท้าทายในการพัฒนาบุคลากร AI ให้เพียงพอและการร่วมมือระหว่างประเทศ
โฆษณา