25 ม.ค. เวลา 16:37 • สุขภาพ

ความเสียใจ ฆ่าเราได้ไหม

ถ้าใครเคยดูละคร Period ไทยยุคเก่าๆ จะเคยชินกับฉากประมาณว่า ลูกสาวท้องก่อนแต่ง แล้วพ่อเสียใจจนช็อค หรือสามีแอบไปมีเมียน้อย เมียหลวงเสียใจ แล้วก็มีอาการเหมือนหัวใจจะวาย
ตอนเด็กที่ดูก็รู้สึกว่า เกินไปหรือเปล่า ความเสียใจมันเป็นแค่ความรู้สึก เป็นสิ่งที่จิตใจเราปรุงแต่งขึ้นมาจากความเป็นไปตรงหน้า จะทำให้คนมีอาการขนาดนั้น หรือทำให้ถึงแก่ชีวิตได้อย่างไร
แต่อันที่จริงแล้ว เรื่องเหล่านี้เป็นไปได้ครับ และมีอันตรายรุนแรงซะด้วย เรากำลังพูดถึงภาวะที่เรียกว่า Takotsubo Cardiomyopathy หรือที่รู้จักกันมากกว่าในชื่อ
Broken Heart Syndrome
Broken Heart Syndrome เป็นภาวะหัวใจที่เกิดจากความเครียดทางอารมณ์หรือร่างกายอย่างรุนแรง เช่น การสูญเสียคนที่รัก อกหัก ปัญหาครอบครัว หรือความเครียดจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน โดยอาการนี้ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติชั่วคราว แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยตรง
เมื่อได้รับแรงกระตุ้นทางความรู้สึกอย่างรุนแรง อะดรีนาลีน (Adrenaline) ที่หลั่งออกมาในปริมาณมากจะกระตุ้นการทำงานอย่างฉบับพลันของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดภาวะที่แคลเซียมไหลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการกระตุ้นอย่างฉบับพลันของระบบภูมิคุ้มกันบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดการสร้างความเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress) ที่ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงและขาดพลังงาน อันเนื่องจากไมโทรคอนเดรีย(mitochondria) ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่
จากภาวะดังกล่าวทำให้สุดท้ายกล้ามเนื้อหัวใจอยู่ในสภาพขาดพลังงานรุนแรง ซึ่งจะโดนเยอะตรงบริเวณยอดของหัวใจ จนยอดหัวใจบีบได้น้อยมาก จนโป่งออก (Apical ballooning)
คนที่มีภาวะ Broken Heart Syndrome หลังได้รับการกระตุ้นทางอารมณ์อย่างรุนแรง จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเมื่อการบีบตัวของหัวใจผิดลาพด ทำให้การบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆทำได้ลดลง อาจทำให้ความดันลดลงอย่างรวดเร็ว เกิดภาวะช็อคและอาจถึงแก่ชีวิตได้
ภาวะดังกล่าวแม้จะไม่อันตรายมาก แต่หากเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่น ผู้มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมน estrogen มีส่วนสำคัญในการขยายหลอดเลือด และหากผู้ป่วยมีภาวะเครียดสะสมอยู่แล้ว ก็จะยิ่งทำให้อาการจะภาวะ Broken Heart Syndrome รุนแรงขึ้น
แม้จะฟังดูนิยายหน่อยๆ แต่ภาวะดังกล่าวเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยง
มากถึง 1-3% ต่อปี แต่อย่างไรก็ตาม ความอยากอยู่ตรงที่เมื่อวันคลื่นหัวใจ ผู้ป่วยจะมีคลื่นหัวใจคล้ายกับภาวะหัวใจขาดเลือดทั่วไป ทำให้การวินิจฉัยแยกโรคทำได้ยาก
แม้จะยังไม่มีรายงานเฉพาะเกี่ยวกับอัตราการเสียชีวิตจากภาวะ Broken Heart Syndrome ในไทย แต่อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย โดยในปี 2565 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 70,000 ราย หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน
แสดงให้เห็นว่า นอกจากต้องดูแลร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว การดูแลสภาพจิตใจของทั้งตัวเองและคนรอบข้างก็เป็นสิ่งที่สำคัญ
บางทีเรื่องเล็กๆในความคิดของเรา อาจสร้างความเสียใจใหญ่หลวงให้กับคนที่เรารักโดยไม่รู้ตัว ในวันที่ยังมีโอกาสดูแลกันและกัน อย่าลืมดูแลคนที่เรารักให้ดีที่สุดนะครับ
อ้างอิง
โฆษณา