26 ม.ค. เวลา 12:04 • หนังสือ

Think Again คิดแล้ว คิดอีก

"Think Again" เป็นหนังสือที่สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนความคิด การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง และความสำคัญของการตั้งคำถามต่อสิ่งที่เราเชื่อหรือยึดถือ โดย Adam Grant ได้แบ่งปันแนวคิดและวิธีการที่จะช่วยให้เราปรับตัวและพัฒนาตัวเองในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
แนวคิดหลักในหนังสือ
1. Adam Grant สนับสนุนให้เราตั้งคำถามกับความเชื่อหรือความคิดที่มีอยู่แทนที่จะยึดติดกับมัน เพราะการคิดใหม่ช่วยให้เราปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงและหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากการยึดติดในมุมมองเดิม
2. การยอมรับว่าเราอาจคิดผิดเป็นคุณสมบัติที่สำคัญ Grant แนะนำให้เรายอมรับความไม่สมบูรณ์ของตัวเองและเปิดใจเรียนรู้จากผู้อื่น
3. หลีกเลี่ยงกับดักความคิดแบบพยายามปกป้องความเชื่อของตัวเองอย่างสุดตัว พยายามพิสูจน์ว่าคนอื่นผิด พูดหรือทำเพื่อเอาใจคนอื่น แต่เขาแนะนำให้เปลี่ยนมุมมองมาเป็นแบบ "นักวิทยาศาสตร์" ที่มองความคิดเป็นสมมติฐานที่พร้อมจะทดสอบและปรับปรุง
4. การสร้างวัฒนธรรมที่ยอมรับความคิดใหม่
องค์กรหรือสังคมที่ประสบความสำเร็จมักมีวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกกล้าตั้งคำถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเปิดเผย
5. Grant แนะนำว่าเราควรเข้าถึงการสนทนาด้วยความอยากรู้ ไม่ใช่เพียงเพื่อชนะการโต้แย้ง และใช้คำถามเพื่อช่วยให้อีกฝ่ายเปิดใจและมองในมุมใหม่
เคล็ดลับในการปรับใช้แนวคิดในชีวิตประจำวัน
• ฝึกตั้งคำถามกับความเชื่อของตัวเองเป็นประจำ
• ความสามารถในการคิดทบทวนและละทิ้งความรู้เดิม
• ยอมรับความผิดพลาดและเรียนรู้จากมัน
• เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง อ่อนน้อมถ่อมตน เปิดรับคำวิจารณ์ ขอความช่วยเหลือได้ ยอมรับว่าเรายังไม่รู้อะไรอีกเยอะ
• คนที่คิดถูกบ่อยครั้งเป็นคนที่ฟังเยอะ พวกเขาเปลี่ยนความคิดอยู่บ่อยๆ
• มีความคิดที่ยึดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
• ข้อคิดสำหรับผู้นำองค์กร เช่น
-ต้องมีความอยากรู้อยากเห็นและความคิดที่เปิดกว้าง อ่านหนังสือหลากหลาย
- ผู้นำที่แข็งแกร่งจะมีส่วนร่วมกับนักวิจารณ์และทำให้ตัวเองแข็งแกร่งมากขึ้น ส่วนผู้นำที่อ่อนแอจะปิดปากนักวิจารณ์และทำให้ตัวเองอ่อนแอลง
-สร้างวัฒนธรรมที่สามารถมีการโต้เถียงกันอย่างตรงไปตรงมา กระบวนการชี้จุดบกพร่องของแต่ละฝ่ายร่วมกันเพื่อให้ทั้งคู่มองเห็นได้อย่างชัดเจน
- สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ บ่มเพาะบรรยากาศของความเคารพนับถือ ความไว้วางใจ และการเปิดกว้างโดยที่ผู้คนสามารถหยิบยกเอาความกังวลและข้อเสนอแนะขึ้นมาพูดได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกโต้ตอบ
• ข้อคิดสำหรับครู อาจารย์
- กระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถามกับตัวเองและตั้งคำถามซึ่งกันและกัน
- การเรียนรู้เชิงรุก ตั้งคำถาม อภิปราย ถกเถียงและแก้ปัญหากัน มีกิจกรรมได้ตัดสินใจในสถานการณ์จำลองและได้เจรจาต่อรองในการแสดงบทบาทสมมุติ
-สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน
-นำเสนอ ปริศนา หรือปัญหาเพื่อให้นักเรียนแก้ไข แนวทางนี้ประกอบไปด้วยการคิด การจับคู่ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-ให้นักเรียนเป็นผู้นำการเรียนรู้ของตัวเอง
นอกจากนั้นผู้เขียนชวนคิดเรื่องการแสวงหาความสุข ชีวิต และการแสวงหาความหมาย
-ยิ่งคนเราให้ความสำคัญกับความสุขมากเท่าไหร่ พวกเขาก็มักจะมีความสุขกับชีวิตน้อยลงเท่านั้น เมื่อเราแสวงหาความสุข เราจะวุ่นวายกับการประเมินชีวิตมากเกินไปจนไม่มีเวลาได้ใช้ชีวิตจริงๆ แทนที่จะดื่มด่ำกับช่วงเวลาแห่งความสุข เรากลับเอาแต่ครุ่นคิดว่าทำไมชีวิตเราถึงไม่มีความสุขมากกว่านี้
-ความสุขของเรามักขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราทำมากกว่าสถานที่ที่เราอยู่ ความหมายและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เกิดจากสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่สภาพแวดล้อมรอบตัวเรา
-แทนที่จะหางานที่ทำให้เรามีความสุขมากที่สุด เราอาจได้ประโยชน์มากกว่าถ้าเลือกทำงานที่ตัวเองคาดหวังว่าจะได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมมากที่สุด
-บรรดานักจิตวิทยาค้นพบว่าความหลงใหลในสิ่งต่างๆของเรามักจะถูกพัฒนาขึ้นมา ไม่ใช่ถูกค้นพบ
-ความหลงใหลในธุรกิจของพวกเขาเพิ่มขึ้นเมื่อพวกเขาได้รับแรงผลักดันและเกิดความเชี่ยวชาญ
-เราควรระมัดระวังไม่ให้ตัวเองยึดติดกับเส้นทางหนึ่งหรือจุดหมายหนึ่งมากเกินไป คำจำกัดความของความสำเร็จหรือเส้นทางไปสู่ความสำเร็จไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว
-เราต้องมีความถ่อมตัวเพื่อคิดทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองยึดมั่นในอดีต เราต้องมีความเคลือบแคลงสงสัยเพื่อตั้งคำถามการตัดสินใจของตัวเองในปัจจุบัน และเราต้องมีความอยากรู้อยากเห็นเพื่อคิดทบทวนแผนการของเราในอนาคต สิ่งที่เราค้นพบระหว่างทางสามารถปลดปล่อยเราจากพันธนาการของสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยและตัวตนเดิมของเรา การคิดทบทวนทำให้เรามีอิสระที่จะทำอย่างอื่นนอกเหนือจากการปรับความรู้และความคิดเห็นให้ทันสมัย
สั่งซื้อหนังสือมาอ่านได้ที่ https://s.shopee.co.th/30YeHqko2D
โฆษณา