เมื่อวาน เวลา 04:43 • หุ้น & เศรษฐกิจ

" Treasurist Fund Traffic Control" ประจำสัปดาห์ที่ 27 - 31 ม.ค. 68 "

🔵 กลุ่มสีฟ้า (ตัวช่วยชี้วัด) >>
▪CME FedWatch ชี้ว่าตลาดมองโอกาสสูงถึง 97.9% ที่ FOMC จะไม่ขยับ Fed Funds Rate ในการประชุมวันที่ 29 ม.ค. นี้ สอดคล้องกับมุมมองล่าสุดของกรรมการ FOMC
▪10-Y US Government bond Yield ย่อลงช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับ USD Index ที่อ่อนตัวลงมาตลอดสัปดาห์ ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 107.5 แต่แนวโน้มระยะกลางก็ยังเป็นขาขึ้นทั้งคู่ เพราะทำทางขึ้นมาจากระดับต่ำกว่านี้มากตั้งแต่ปลายปีก่อน
▪THB/USD แข็งค่าตลอดสัปดาห์ ตามการอ่อนค่าของ USD Index จึงพลิกแนวโน้มระยะกลางเป็นฝั่งแข็งค่าเรียบร้อย โดยปิดไปที่ระดับ 33.5
▪ลงทุนต่างประเทศแบบ ปิด ความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (Hedged) กลับมาได้เปรียบอีกครั้ง จะช่วยรักษามูลค่าในเทอมเงินบาทได้
🟢 กลุ่มแนวโน้มระยะกลางสีเขียว (ซื้อได้ ถือต่อได้) >>
▪ สมาชิกยังอยู่ครบ ดัชนีหุ้นเทคโนโลยีกลับขึ้นมาลุ้น new all-time high ได้อีกครั้ง แต่ก็ไม่ควรแปลกใจอะไรแล้ว ขอแค่เรายังอยู่กับมันในวันที่มันยังโดดเด่น เป็นใช้ได้
▪ ภาพรวมกลุ่มนี้ ยังสามารถถือลงทุนต่อไปได้ อย่างระมัดระวัง
🔴 กลุ่มแนวโน้มระยะกลางสีแดง (รอดู) >>
▪ เมื่อ USD Index อ่อนตัวลงไป ทองคำก็เฉิดฉายขึ้นมาในฐานะคู่เทียบตลอดกาล เนื่องจากนักลงทุนที่มองภาพรวมทั่วโลก จะแสวงหาสินทรัพย์ที่มีศักยภาพสูงกว่า (โดยเปรียบเทียบ) อยู่เสมอ ล่าสุดเกิดสัญญาณ Temp Up แล้ว รอติดตามการอัปเดตครั้งต่อไป (ต้นสัปดาห์หน้า) ว่าจะเข้าลงทุนได้หรือยัง
▪ ภาพรวมกลุ่มนี้ ควรรอดูไปก่อน ยังไม่เข้าลงทุน
🧐 วิธีดูข้อมูลนี้ให้เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
1. ดู "สรุป" และ "รายการ" เพื่อให้ได้ข้อมูลทันทีว่ารายการไหนมีแนวโน้มระยะกลางอยู่ในขาขึ้น ซึ่งอยู่ในช่วงที่ลงทุนได้ และดู “ลำดับวัฏจักรของแนวโน้ม” ในคอมเมนท์ของโพสนี้ เพื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มจากระยะสั้นที่จะส่งผ่านมาถึงระยะกลาง และทำความเข้าใจรายละเอียดคำแนะนำในสถานะแนวโน้มต่าง ๆ .. โดยสีของกล่องแต่ละรายการจะอิงตามประเภทสินทรัพย์ หุ้น = สีฟ้า สินค้าโภคภัณฑ์ = สีทอง และกองรีท (สินทรัพย์ทางเลือก) = สีเขียว
2. ดู “ตัวอย่างกองทุนน่าสนใจ” ได้ที่ LINE: @Treasurist https://page.line.me/treasurist เพื่อนำไปศึกษาหนังสือชี้ชวน/Fund Fact Sheet ให้เพียงพอก่อนตัดสินใจลงทุนจริงต่อไป โดยทั้งหมดเป็นกองทุนที่ซื้อได้จริงกับ บลน. เทรเชอริสต์ https://treasurist.com หรือจะเลือกลงทุนกองทุนอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกันก็ได้ตามชอบ
3. ดู “วันที่เริ่มแนะนำแนวโน้มระยะกลาง" เพื่อให้เห็นจุดเริ่มต้นของแนวโน้ม โดยควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษเมื่อแนวโน้มระยะกลางเพิ่งเปลี่ยนทิศทาง (Reversal) จากเขียวเป็นแดง-จากแดงเป็นเขียว เพราะแปลว่า ผู้ลงทุนควรรีบพิจารณา ซื้อ/ขาย ตั้งแต่ต้นแนวโน้ม #ลงทุนให้ได้กำไร
4. แต่รายการควรลงทุนมากน้อยเท่าไรเมื่อเทียบกับเงินที่มี
4.1) ภาพรวมให้อิงตามการแบ่งสัดส่วนลงทุนตามประเภทสินทรัพย์ (Asset Allocation) ในคอมเมนท์ของโพสนี้ .. และหากตารางนี้ยังไม่แนะนำกองทุนประเภทใด สามารถลงทุนในประเภทกองทุนที่ระดับความเสี่ยงต่ำกว่าไปพลางก่อน เช่น หากยังไม่แนะนำกองทุนหุ้นใด ๆ เลย สามารถใช้โควต้าสัดส่วนกองทุนหุ้น ไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้เพิ่มขึ้นได้ นับเป็นการลดความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนในภาวะที่หุ้นยังไม่สดใส
4.2) กรณีสินทรัพย์ประเภทเดียวกันแนะนำให้ลงทุนได้หลายรายการพร้อมกัน สามารถแบ่งสัดส่วนคร่าว ๆ ได้ตามขนาดตลาด (Market Capitalization) ของรายการนั้น ๆ เช่น เนื่องจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่กว่าตลาดหุ้นเวียดนาม หลายเท่าตัว ก็อาจจะแบ่งสัดส่วนกองทุนหุ้นญี่ปุ่นให้สูงกว่ากองทุนหุ้นเวียดนาม
4.3) หากแนวโน้มระยะกลางเป็นกรอบสีส้ม ซึ่งหมายความว่าแนวโน้มมีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนแปลง แต่ยังต้องรอการยืนยัน
>> กรณีมีสัญญาณ Temp Up (มีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนจากแดงเป็นเขียว) หากเน้นความเร็ว สามารถเริ่มเข้าซื้อได้ในสัดส่วน 50% ของตัวมันเอง
4.2) แต่หากเน้นความแน่นอน ก็ยังรอดูไปก่อน จนกว่าจะกลายเป็นสีเขียวจึงเริ่มเข้าซื้อ
>> กรณีมีสัญญาณ Temp Down (มีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนจากเขียวเป็นแดง) หากเน้นความเร็ว สามารถขายลดปริมาณลงมาเหลือ 50% ของตัวมันเอง (อ่านประกอบกับข้อ 4.2) แต่หากเน้นความแน่นอน ก็ยังถือเต็ม 100% ไว้ตามเดิมก่อน จนกว่าจะกลายเป็นสีแดงจึงขายทั้งหมด
5. ชวนสังเกตความสัมพันธ์แบบแปรตามและแปรผกผันกันระหว่างสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่น ช่วงที่ US Bond Yield ขยับขึ้น หุ้นมักปรับตัวลง และชวนสังเกตประเภทสินทรัพย์ (ดูตามสีกรอบ) ที่เป็นขาขึ้นลงในช่วงเวลาเดียวกัน #ลงทุนให้ได้ความรู้
ข้อมูลโดย: ศกุนพัฒน์ จิรวุฒิตานันท์, CISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์ (IA) ผู้วางแผนการลงทุน (IP) และผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 1 (IC) https://linkedin.com/in/sakunphatj
ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง: กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์เทรเชอริสต์ https://treasurist.com และ Thailand Investment Forum
📑หลักการพื้นฐานที่ใช้ทำข้อมูล
• รูปแบบตัวเลขเชิงสังคมเศรษฐกิจ (Socioeconomics) ที่เป็น time series เช่น จำนวนประชากรของประเทศหนึ่ง ๆ ย้อนหลังหลายปี ยอดขายของอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ ย้อนหลังหลายไตรมาส มักไม่เปลี่ยนแปลงแบบสุ่ม แต่เป็นแนวโน้ม (ขึ้นแล้วมักขึ้นต่อ ลงแล้วมักลงต่อ) .. รูปแบบ time series ของราคาหลักทรัพย์ต่าง ๆ ย้อนหลังหลายวัน-สัปดาห์-เดือน ที่เป็นผลมาจากเหตุปัจจัยเชิง Socioeconomics
จึงมีแนวโน้มเช่นกัน .. จึงสามารถใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์มาช่วยประเมินความต่อเนื่องของแนวโน้มได้ กล่าวคือ ที่ขึ้นมา ตอนนี้ยังขึ้นอยู่ไหม ที่ลงมา ตอนนี้ยังลงอยู่ไหม และที่สำคัญคือ ตอนไหนที่กำลังเกิด reversal คือการเปลี่ยนจากลงเป็นขึ้น-ขึ้นเป็นลง
แนวโน้มระยะกลาง >> ดูภาพระยะหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน เป็นกรอบเวลาที่ให้สัญญาณช้ากว่าแนวโน้มระยะสั้น แต่ก็มักจะแม่นยำกว่า (ขึ้นแล้วขึ้นต่อ ลงแล้วลงต่อ) โดยเป็นการใช้เครื่องมือ MACD ใน 2-Week/Weekly Timeframe มาช่วยวิเคราะห์ .. ซึ่งแนวโน้มระยะกลาง ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปมาถี่เสมอไป อาจกินเวลาหลายเดือนหรือเป็นปีได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับบริบทแต่ละช่วงเวลา
แนวโน้มระยะสั้น >> ภาพระยะหลายวันถึงหลายสัปดาห์ เป็นกรอบเวลาที่ให้สัญญาณเร็วกว่าแนวโน้มระยะกลาง แต่อาจเปลี่ยนไปมาได้บ่อย โดยเป็นการใช้เครื่องมือ MACD ใน 2-Day/Daily Timeframe มาช่วยวิเคราะห์
• สำหรับ TFTC กองภาษี เลือกใช้แนวโน้มระยะยาว >> ใช้เครื่องมือ MACD ใน Monthly Timeframe มาช่วยวิเคราะห์
• ข้อมูลนี้ช่วยแสดงแนวโน้มปัจจุบันไปจนถึงอนาคตสั้น ๆ ได้ตาม "แรงเฉื่อย" ของแนวโน้ม แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าอีก 2 เดือน 6 เดือนข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เมื่อสถานการณ์ตรงหน้าเปลี่ยนไป ก็ต้องรีบปรับตัว
• การตัดสินใจลงทุน/ชะลอลงทุนตามแนวโน้มของ Treasurist Fund Traffic Control หากวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (hindsight analysis) จะไม่สามารถชนะแบบซื้อแล้วถือยาว (buy-and-hold) ได้ .. แต่ในโลกความเป็นจริง การลงทุนคือ "การมองไปข้างหน้า" และ "ปรับตัวตามสถานการณ์" ..
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ หากในอนาคตเกิดสงครามโลกหรือโรคระบาดครั้งใหญ่ แนวโน้มการลงทุนโดยรวมย่อมเป็นขาลงอย่างรุนแรง โดยยังไม่เห็นอนาคต (เช่น ณ ต้นปี 2563 โลกยังไม่มีวัคซีนโควิด-19 และยังไม่มีใครรู้ว่าวิกฤติครั้งนั้นจะบรรเบาลงเมื่อใด แต่พอมองย้อนหลัง ทุกอย่างก็ชัดเจนหมด เพราะเกิดแล้วจบแล้ว) ซึ่งการใช้คำแนะนำจาก Treasurist Fund Traffic Control ควรจะช่วยให้ผู้ลงทุนเลี่ยงผลขาดทุนที่รุนแรงได้อย่างทันท่วงที และช่วยให้ทราบจังหวะกลับเข้าลงทุนในระยะถัดไปด้วยเช่นกัน
• กองทุนน่าสนใจ จะอิงตามดัชนีหุ้นหลักของรายการนั้น ๆ เช่น รายการหุ้นญี่ปุ่น ก็จะพิจารณาดัชนี NIKKEI 225 ว่ามีสถานะแนวโน้มอย่างไร แล้วจึงเลือกกองทุนหุ้นญี่ปุ่นที่น่าสนใจมานำเสนอ หุ้นเทคก็จะพิจารณาดัชนี NASDAQ ว่ามีสถานะแนวโน้มอย่างไร แล้วจึงเลือกกองทุนหุ้นเทคที่น่าสนใจมานำเสนอ อย่างไรก็ดี หากแนวโน้มระยะกลางยังไม่เอื้อต่อการลงทุน ก็ยังไม่แนะนำกองทุนน่าสนใจ
(เนื้อหานี้ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537)
👍สนใจซื้อขาย รับคำปรึกษาเรื่องการลงทุนกองทุนรวม ทำได้ง่าย ๆ ที่ http://www.treasurist.com หรือติดต่อเราได้ที่ LINE: @Treasurist https://page.line.me/treasurist หรือ Inbox m.me/treasurist
👍คัดเลือกกองทุนเด่นด้วย AI จับจังหวะที่ใช่ จากมืออาชีพ
👍ลงทุนอย่างเบาใจและปลอดภัยไปกับ Treasurist ผู้ให้บริการที่ปรึกษา ซื้อขายสับเปลี่ยนและแนะนำกองทุนรวมจากหลาก บลจ. ชั้นนำ ภายใต้การกำกับของสำนักงาน ก.ล.ต.
👍ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเราได้ที่ https://www.treasurist.com/whyus
🏆เทรเชอริสต์ ขอขอบคุณสำนักงาน ก.ล.ต. กับรางวัล "ความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม" พร้อมตราสัญลักษณ์พิเศษ "Investment Knowledge Provider" ภายใต้โครงการ “ตลาดทุนไทย ร่วมใจส่งพลังความรู้ สู่ประชาชน เฟส 2” และภูมิใจที่ได้สร้างคุณค่าในการให้ความรู้การเงินการลงทุนแก่สังคม
โฆษณา