Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เมืองไทยไดอารี่ by Supawan
•
ติดตาม
27 ม.ค. เวลา 11:41 • ท่องเที่ยว
ภูพระบาท แหล่งมรดกโลกของไทย 01 : ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์
‘ภูพระบาท’ .. ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขือน้ำ ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี บนภูเขาหินทรายเตี้ยๆ ใน กลุ่มเทือกเขาภูพาน ลานหิน และเพิงหิน ที่พบในพื้นที่ เป็นชั้นหินของหมวดหินภูพาน มีอายุอยู่ในยุคครีเทเชียส (145-65 ล้านปี ต่อจากยุคจูแรสซิก เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคมีโซโซอิก) ถือว่าเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เก่าแก่ มาตั้งแต่ ‘สมัยทวารวดี’
วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2567 อุทยานประวัติศาสตร์ ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ได้รับการประกาศจากองค์การ ยูเนสโกให้เป็น มรดกโลก ถือเป็นมรดกโลกแห่งที่ 8 ในประเทศไทย
เราเริ่มต้นการทำความเข้าใจ “ภูพระบาท” ด้วยการเข้าไปเดินชมนิทรรศการข้อมูลที่น่าสนใจ ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยานฯ ซึ่งทำให้รู้ลึกมากขึ้นถึงความสำคัญมากในแง่ของการเป็นสถานที่ที่สะท้อนความเชื่อทางศาสนาที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงประวัติศาสตร์
เรามีโอกาสฟังการบรรยายข้อมูลเบื้องลึกแบบ Firsthand Information จากท่านอดีตอธิบดีกรมศิลปากร “คุณบวรเวท รุ่งรุจี” ผู้ซึ่งนำพา “ภูพระบาท” เข้าสู่ขบวนการพิจารณา การตรวจสอบอย่างละเอียด และใช้เวลายาวนานของ ยูเนสโก .. แต่ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ ประเทศไทยได้มีแหล่งมรดกโลกอีกแห่งที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง ภายใต้คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ได้แก่ การรักษาความเป็นของแท้และดั้งเดิมของแหล่งวัฒนธรรมสีมาหิน สมัยทวารวดี และเป็นการสืบทอดของวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องมากว่า 400 ปี โดยเชื่อมโยงเข้ากับประเพณีของวัดฝ่ายอรัญวาสี
NOTE : ข้อมูลในบทความนี้ ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลจากศูนย์ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยานฯ
พื้นที่ของภูพระบาทนั้นค่อนข้างกว้างใหญ่ ทางอุทยานฯมีรถกอล์ฟบริการสำหรับผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตามการเดินบนลานหินที่ไม่ราบเรียบทั้งหมด เป็นระยะทางไกลๆ ยังเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงควรที่จะเตรียมตัวอย่างดีตามสมควร
พื้นที่ของภูพระบาท เป็นป่าเต็งรังสลับกับลานหินทรายเนื้อหนาที่มีกรวดขนาดใหญ่และปานกลาง ผสมในเนื้อหิน ซึ่งอาจจะเห็นเป็นสีที่แตกต่างกันเล็กน้อย อันเกิดจากส่วนผสมของเป็นแร่ธาตุหลายประเภทที่แตกต่างกัน
เมื่อเดินไปเรื่อยๆ บางพื้นที่อาจจะลาดชันขึ้น เช่นทางด้าน หอนางอุษา และจะเป็นหน้าผาที่ ผาเสด็จ
.. อาจจะสังเกตเห็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาหลายอย่าง เช่น รอยเฉียงระดับ กุมภลักษณ์ ทิศทางที่น้ำไหล ชั้นของทรายสลับกับเนื้อหินที่สลับกันไปมาปรากฏในเนื้อหิน .. เหล่านี้บ่งบอกถึงการที่พื้นที่นี้เคยเป็นธารน้ำโบราณมาในอดีต ก่อนจะสะสมตัวเป็นหินและถูกยกตัวขึ้นเป็นภูเขาในเวลาต่อมา
เราเดินผ่านสวนหินรูปทรงต่างๆ ที่ถูกน้ำ และลม กัดเซาะหินทรายมาเป็นหมื่นเป็นแสนปี จนเป็นร่องน้ำในทิศทางต่างๆ ก่อให้เกิดการแตกหัก และผุกร่อนกลายเป็นรูปร่างต่างๆ ทั้งลานหิน เพิงหินรูปร่างคล้ายดอกเห็ด เป็นเสาเฉลียง รวมถึงแอ่งน้ำบนลานหิน
หลายแห่งมีร่องรอยที่ปรากฏชัดเจน บอกได้ว่า ลานหิน เพิงหินเหล่านี้ มีการใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคแรกๆ และเมื่อสังคมมีพัฒนาการมากขึ้น ก็ดัดแปลงพื้นที่ให้เป็นประโยชน์ทางความเชื่อของชุมชน
ผู้คนกลุ่มแรกบนภูพระบาท
ภูพระบาท มีโขดหินและเพิงหินทรายธรรมชาติรูปร่างแปลกตาถูกกัดเซาะจนมีลักษณะเป็นแผ่นหินที่ซ้อนอยู่บนเสาหิน รูปทรงคล้ายกับโต๊ะหรือเห็ด กระจายตัวอยู่จำนวนมาก.. ซึ่งจากการสำรวจทางโบราณคดี พบว่าบน "ภูพระบาท" มีภาพเขียนสีตามโขดหินและเพิงหินมากกว่า 54 แห่ง จากจำนวนโบราณสถานทั้งหมดกว่า 78 แห่ง แสดงถึงร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ราว 2,500-3,000 ปี ได้เข้ามาใช้พื้นที่ของผู้คนตั้งแต่ช่วงเวลานั้นอย่างชัดเจน
ด้วยเหตุที่บนภูพระบาทมีหินทรายธรรมชาติที่มีรูปร่างแปลกประหลาดนี้เองคงทำให้คนในยุคนั้นอาจจะคิดว่าเสาหินพวกนี้สร้างขึ้นโดยผีสางเทวดาที่มีอำนาจ และมองว่าภูพระบาทเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์
ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบบนภูพระบาท มักจะพบตามผนัง หรือเพดานของเพิงหินธรรมชาติ .. ลวดลายของภาพเขียนสีที่พบได้มี่ 2 รูปแบบ คือ กลุ่มภาพเสมือนจริง เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ ส่วนอีกแบบ คือ ภาพคตินิยมทางความคิด เช่น ภาพมือ และภาพสัญลักษณ์ หรือลวดลายเรขาคณิต .. ภาพเขียนสีเหล่านี้อาจทำขึ้นเพื่อบันทึก หรือบอกเรื่องราวเรียวกับสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตของกลุ่มคนหรือชุมชน
ถ้ำคน .. ภาพเขียนสีโบราณที่แสดงถึงมนุษย์ 7 คนเดินเรียงกันเป็นแถว วาดต่อเนื่องกัน ซ้อนทับอยู่กับภาพตารางสีขาวและเส้นทึบสีขาว .. ซึ่งมนุษย์ในภาพเขียนมีรูปร่างค่อนข้างแตกต่างจากมนุษย์ในยุคปัจจุบันมากเลยทีเดียว
นิทานอุสา-บารส กล่าวถึงจุดนี้ว่า เป็นที่ที่นางสามัญญะวิเศษเขียนรูปกษัตริย์เมืองต่าง ๆ ให้นางอุสาดู เพื่อจะได้ทราบว่าใครจะได้เป็นคู่ของนาง
ภาพคนที่ปรากฎยังแสดงถึงกายภาพของกลุ่มคนเหล่านี้ เช่น บางภาพแสดงกายวิภาคคน ที่มีไหล่กว้าง ขาสั้นกว่าลำตัว ส่วนขาค่อนข้างใหมู่ ส่วนกล้ามเนื้อน้องโป่งจนเห็นได้ชัด
.. ไม่มีการวาดหู จมูกและเครื่องนุ่งห่ม ภาพวาดอาจจะบอกถึงพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการล่าสัตว์ หรือความเชื่อบางอย่าง
ถ้ำวัว .. ภาพสัตว์ต่างๆ แสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้น ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์หลายชนิด กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์บนภูพระบาท อาจมาจากชุมชนในพื้นที่ราบที่ไม่ท่างใจจากบริเวณนี้มากนัก เมื่อต้องการล่าสัตว์จะเข้าป่า และพักอาศัยขั้วคราวตามพิงหิน
.. ภาพเขียนสีที่ปรากฏนั้นอาจเป็นการทำขึ้นเพื่อพิธีกรรมสำหรับการออกล่าสัตว์ โดยมีความเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จในการล่า หรือเพื่อเพิ่มจำนวนของสัตว์ที่ต้องการออกล่า
สำหรับภาพวัวอาจเป็นเคล็ดเพื่อให้โชคดีในการล่าสัตว์ ภาพคนกำลังจับสัตว์หรือฝึกสัตว์ แสดงให้เห็นถึงการเริ่มทำเกษตรกรรม มีการจับสัตว์มาฝึกหรือเลี้ยง
.. ภาพวัวที่มีหนอกเนินสูงเหนือคอ มีการสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัวพันธุ์อินเดีย (Bos Indicus) แสดงถึงการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนกับบุคคลภายนอก
“ถ้ำช้าง” .. อยู่ใกล้ๆกับถ้ำพระ เป็นโขดหินทรายขนาดใหญ่ที่ด้านในถูกสกัดออกให้เป็นเพิงใช้สำหรับนั่งบำเพ็ญเพียร บริเวณผนังมีภาพเขียนสีแดงรูปช้างสวยงาม คาดว่าเป็นฝีมือของช่างสมัยประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมล้านช้าง พุทธศตวรรษที่ 22 - 23
ภาพสัญลักษณ์หรือภาพเรขาคณิต ... เป็นภาพที่มีจำนวนมากที่สุดในภูพระบาท เดิมอาจเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆที่พบเห็นในธรรมชาติ หรือสัญลักษณ์เชิงนามธรรม เพื่อใช้ประกอบในพิธีกรรม และเป็นที่เข้าใจกันในกลุ่มของชนในช่วงเวลานั้น
ภาพมือ .. พบไม่มากนัก อาจจะวาดเพื่อแสดงการสื่อสารระหว่างคนในกลุ่ม อีกทั้งยังยังใช้ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการสื่อสารกับวิญญาณที่มีอำนาจ เพื่อขอขอพลังและความแข็งแกร่งลงมาสู่เจ้าของมือ
ภาพแบบคตินิยมทางความคิด อาจทำขึ้นเพื่อบ่งบอกอาณาเขต เช่น ภาพมือที่มีการประทับช้อนกันหลายครั้ง อาจแสดงถึงความเป็นเจ้าของ การจับของพื้นที่ หรือเพื่อการติดสื่อสื่อสาร
ภาพลายเส้นที่เราไม่สามารถเข้าใจความหมายได้
วิธีการสร้างสรรค์ภาพเขียนสี
ภาพเขียนสีที่พบส่วนใหญ่ที่ภูพระบาท .. เป็นภาพเขียนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นิยมใช้สีแดงอาจได้มาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ดินเทศ หรือแร่เสมาไทด์ (Hematite) เมล็ดคำแสด ยางต้นติ้ว มีบางกลุ่มที่ ใช้สีขาวในการเขียน เช่น โนนสาวเอ้ 1 .. สีขาวนี้อาจได้มาจากาวหรือแร่เคโอลิไนต์ (Kaolinite) ดินสอพอง และปูนชาว เมื่อได้สีมา อาจนำมาผสมกับยางไม้ หรือของเหลวบางชนิดเพื่อให้สีติดทนนาน โดยอาจใช้พู่กันหรือแปรงที่ทำจากเปลือกไม้ทุบให้แบน
แหล่งแร่สีแดงที่อยู่ใกล้อำเภอบ้านผือที่สุดอยู่ที่บ้านดูน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ในปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า บ่อดินแดง โดยชาวบ้านน้ำดินสีแดงจากแหล่งแร่นี้ไปใช้เขียนภาชนะดินเผาเลียนแบบสมัยบ้านเชียง ส่วนสีเหลืองอ่อนที่พบบนภาพเขียนสีที่ถ้ำคนอาจเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของวัตถุที่ให้สีแดงในภาพ
เทคนิคในการสร้างสรรค์ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พระบาท บางแห่งมีการแต่งผนังถ้ำให้เรียบก่อนวาดเขียนถ้าโนนสาวเอ้ 2 พื้นผิวที่เป็นหินถูกตัด หรือสกัดด้วยของแข็งมีการสร้างสรรค์ภาพมีทั้งการกดประทับ (Imprint) มักใช้กับทาสีลงบนฝ่ามือและกดลงไปบนผนังหินการวาดลายเส้น (Linear)
.. มีทั้งการวาดด้วยลายเส้นคู่และลายเส้นเดี่ยวการวาดแบบลายเส้นโครงร่าง (Outline) การลงสีแบบเงาทึบ (Silhouette)หรือกาสี และการลงสีเงาทึบบางส่วน (Partial Silhouett) เป็นการวาดโครงร่างก่อน แล้วค่อยเติมสีแดงบางส่วนของภาพ
บันทึก
3
1
1
3
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย