28 ม.ค. เวลา 09:46 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เปิด 10 ทำเลที่ดินแพงที่สุด กับ ถูกที่สุด ปี 2567

เปิด 10 ทำเลที่ดินแพงที่สุด กับ ถูกที่สุด ปี 2567 ส่วนราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพ
DDproperty นำข้อมูลน่าสนใจจาก ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA ซึ่งสำรวจราคาที่ดินทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2537 พบว่า 10 ทำเลที่ดินราคาแพงในกรุงเทพฯ ในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 พบว่า 3 อันดับแรก
  • สยามสแควร์, ชิดลม, เพลินจิต 3.75 ล้านบาท/ตารางวา เพิ่มขึ้น 4.16
  • วิทยุ 3.1 ล้านบาท/ตารารงวา เพิ่มขึ้น 5.08%
  • สุขุมวิท-ไทม์สแควร์ 2.94 ล้านบาท/ตารางวา เพิ่มขึ้น 4.16%
เปิด 10 ทำเลที่ดินแพงที่สุด กับ ถูกที่สุด ปี 2567 ส่วนราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพ
ส่วนอันดับที่ 4 - 10 คือ
  • สุขุมวิท 21-อโศก 2.73 ล้านบาท/ตารางวา เพิ่มขึ้น 4.16%
  • สีลม 2.7 ล้านบาท/ตารางวา เพิ่มขึ้น 5.88%
  • สาทร 2.4 ล้านบาท/ตารางวา เพิ่มขึ้น 6.66%
  • สุขุมวิท-เอกมัย 1.95 ล้านบาท/ตารางวา เพิ่มขึ้น 5.4%
  • เยาวราช 1.9 ล้านบาท/ตารางวา เพิ่มขึ้น 5.55%
  • พญาไท 1.85 ล้านบาท/ตารางวา เพิ่มขึ้น 5.71%
  • พหลโยธินตอนต้น 1.8 ล้านบาท/ตารางวา เพิ่มขึ้น 5.88%
โดยทำเล "สยามสแควร์-ชิดลม-เพลินจิต" มีราคาที่ดินสูงสุดและปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกปี มาตลอดตั้งแต่ช่วงโควิด-19 จนถึงปัจจุบัน เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3-5% เนื่องจากเป็นย่านธุรกิจ, แหล่งงานขนาดใหญ่ และแหล่งรวมค้าปลีกสำคัญของกรุงเทพฯ
ส่วน ทำเลที่น่าจับตาคือ "พระราม 4" มีโครงการขนาดใหญ่มิกซ์ยูสเกิดขึ้นมาก โดยเฉพาะโครงการที่เปิดล่าสุดอย่าง "วันแบงค็อก" อย่างเป็นทางการ และโครงการ "ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" ที่จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2568 ทั้งศูนย์การค้าและคอนโดหรู คาดว่า ราคาที่ดินโดยรอบจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก
เปิด 10 ทำเลที่ดินแพงที่สุด กับ ถูกที่สุด ปี 2567 ส่วนราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพ
ขณะที่ 10 ทำเล ราคาที่ดินถูกที่สุด ส่วนใหญ่อยู่บริเวณเขตนอกเมือง โดยเฉพาะที่ไม่มีระบบสาธารณูปโภคหรือระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ราคาจึงถูก และตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ราคาปรับขึ้นเพียงปีละ 1-2% เท่านั้น ยกเว้นในช่วงระยะหลังที่ความเป็นเมืองได้ขยายตัวออกสู่รอบนอกมากขึ้นเล็กน้อย ได้แก่
1. เลียบคลอง 13 กม.5 ราคาที่ดิน 4,200 บาท/ตารางวา
2. ตรงข้ามศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ราคาที่ดิน 8,000 บาท/ตารางวา
3. กาญจนาภิเษก กม.34 ราคาที่ดิน 9,000 บาท/ตารางวา
4 กาญจนาภิเษก กม.8 บางปะอิน ราคาที่ดิน 9,400 บาท/ตารางวา
5. เลียบคลองรพีพัฒน์ ราคาที่ดิน 9,800 บาท/ตารางวา
6. สุขุมวิท กม.46 บางบ่อ ราคาที่ดิน 9,800 บาท/ตารางวา
7. รังสิต-วังน้อย ราคาที่ดิน 10,500 บาท/ตารางวา
8. ลำต้อยติ่ง ราคาที่ดิน 11,000 บาท/ตารางวา
9. ประชาสำราญ ราคาที่ดิน 12,000 บาท/ตารางวา
10.กาญจนาภิเษก กม.23 หลวงแพ่ง ราคาที่ดิน 13,500 บาท/ตารางวา
นอกจากนี้ ยังพบว่าราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพสูง เช่น
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑล สาย 4) ที่ดินเขตบางแค และหนองแขม
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค), รถไฟฟ้าสายสีทอง (ธนบุรี-ประชาธิปก) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาษีเจริญ, บางกอกใหญ่ และบางกะปิ
  • รถไฟฟ้าสายสีลม, รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) และรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (หัวลำโพง-มหาชัย) เขตภาษีเจริญ, สาทร และบางกอกใหญ่
  • รถไฟฟ้าใต้ดิน ตลอดเส้นทาง และรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) เขตสาทร, คลองเตย และดินแดง
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต) เขตสามโคก, ธัญบุรี และบางเขน
ที่มา : DDproperty
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/wealth/trick-trend/241479
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา