Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ที่โปรด
•
ติดตาม
3 ก.พ. เวลา 05:17 • ประวัติศาสตร์
สิมวัดแก้วรังษี: ลวดลายช่างญวนแห่งถิ่นอีสาน
ศิลปกรรมของช่างชาวเวียดนามนับว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มศิลปกรรมที่มีอิทธิพลมากต่ออาคารสถานที่ในภาคอีสานตอนบน ดังแต่ปรากฏให้เห็นผ่านอาคารทรงฝรั่ง ตลอดจนสิมพระอุโบสถตามวัดต่าง ๆ มีทั้งที่เก่าแก่ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 8 ซึ่งแต่ละแห่งก็มีลวดลายที่แตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งที่0tเอามาให้ดูวันนี้เป็นงานในสมัยรัชกาลที่ 8 ที่มีลวดลายน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
วัดแก้วรังสี เป็นวัดในจังหวัดอุบลราชธานีที่มีเอกลักษณ์อยู่ที่พระอุโบสถหรือสิมหลังเก่าของวัด ซึ่งสร้างเสร็จในปี 2485 โดยสร้างขึ้นเพื่อทดแทนอุโบสถไม้หลังเดิม โดยสิมหลังเก่านี้เป็นฝีมือเชิงช่างผสมผสานทั้งไทยและญวน โดยโครงสร้างเป็นผลงานของช่างไทย และลวดลายรวมไปถึงจิตรกรรมเป็นผลงานของช่างญวนที่มีนามว่า “นา” โดยการก่อสร้างสิมหลังนี้อาศัยแรงงานช่วยกันทำของชาวบ้านและพระที่จำพรรษา
จิตรกรรมญวนของช่างนา นับว่าหลงเหลือเพียงแค่ไม่กี่แห่งในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีลวดลายอย่างงานช่างพื้นถิ่น มีการเขียนคำบรรยายทั้งอักษรไทยและอักษรจีนกำกับภาพในแต่ละฉาก
อีกหนึ่งไฮไลท์เด็ดก็คือบานกบประตูไม้ประตูแกะฉลุลวดลายเป็นลายก้านขดสวยงามเก่าแก่ อีกทั้งยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ที่ด้านนอกเหนือซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นลวดลายปูนปั้นนูนต่ำรูปเทพพนม
อีกทั้งที่ด้านหลังของสิมยังปรากฏลวดลายปูนปั้นสีขาวบนพื้นหลังสีแดงตัดกันอย่างสวยงาม โดยฝั่งซ้ายมือปรากฏเป็นปูนปั้นรูปช้างเอราวัณ ในกรอบลวดลายวงล้อมแบบลายไทย ในขณะที่ทางขวามือปรากฏเป็นปูนปั้นรูปพญานก(น่าจะเป็นนกฟีนิกซ์) ในวงลวดลายอย่างจีน ซึ่งสะท้อนให้เห็นการผสมผสานกันของสองช่างจากสองวัฒนธรรมที่มาร่วมกันรังสรรค์สิมนี้ขึ้นมา
📍พิกัด:
https://maps.app.goo.gl/adYyzVbGpQFxGrwS6
อ้างอิง:
https://watkoarungsri.blogspot.com/2016/09/blog-post.html
ประวัติศาสตร์
ท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวไทย
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย