Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Health Story - เฮ้วนี้มีเรื่อง
•
ติดตาม
28 ม.ค. เวลา 08:24 • ครอบครัว & เด็ก
ไทยติด Top10 ใช้ความรุนแรง รู้จัก "Cardiff Model" นวัตกรรมช่วยลดปัญหา
สธ.เล็งใช้ยกระดับศูนย์พึ่งได้ 4 ขั้นตอน
ประเทศไทยยังคงมีปัญหาความรุนแรงในครอบคัรวและความรุนแรงสูงมาก โดยภายในการประชุมวิชาการ "คาร์ดิฟโมเดลเพื่อป้องกันเหตุความรุนแรง" เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา จ.นนทบุรี มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
- องค์การอนามัยโลก (WHO) นิยาม “ความรุนแรง” ว่า เป็นการจงใจใช้กำลังหรืออำนาจในลักษณะข่มขู่ คุกคาม หรือทำร้าย ซึ่งส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือความเสียหายทางจิตใจและสังคม
- ปัจจุบันประเทศไทยยังเผชิญปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีสถิติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสูงที่สุดในโลก โดยร้อยละ 71 ของคดีความรุนแรงเกิดขึ้นภายในครอบครัว และ 1 ใน 3 ของผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นเด็ก
- การแก้ปัญหาความรุนแรงต้องอาศัยแนวทางที่เป็นระบบและใช้ข้อมูลเป็นหลัก
ทั้งนี้ Cardiff Model ได้รับการพัฒนาในช่วงปี 2540-2544 โดย ศ.ดร.โจนาธาน พี. เซฟเฟิร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านการระดับโลกด้านการป้องกันความรุนแรง และได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการสาธารณสุข ประจำปี 2567 จุดเด่นของ Cardiff Model คือ
การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลและตำรวจ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุรุนแรงและกำหนดมาตรการป้องกันล่วงหน้า ถือเป็นโมเดลที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และมีการนำไปใช้ในหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดา ซึ่งช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินจากเหตุรุนแรงได้อย่างมีนัยสำคัญ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า สธ.มีภารกิจหลักในการดูแลสุขภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญ คือการจัดการปัญหาความรุนแรง จึงมีการนำ Cardiff Model มาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างความปลอดภัยและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
"แม้ขณะนี้จะยังไม่ได้ใช้อย่างเต็มรูปแบบ แต่เรามีโครงการที่มีแนวทางคล้ายคลึงกัน เช่น ศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Center: OSCC) ที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล ตำรวจ และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้บริการแบบครบวงจรแก่ผู้ประสบภัยจากความรุนแรง" นพ.โอภาสกล่าว
สำหรับแนวทางการยกระดับการใช้ข้อมูลเชิงลึกจาก OSCC และนำแนวทาง Cardiff Model มาปรับใช้ให้เป็นระบบมากขึ้น นพ.โอภาสมีข้อเสนอ 4 ขั้นตอน ได้แก่
1.การเก็บข้อมูล โดยห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย เช่น ลักษณะการบาดเจ็บ เวลาที่เกิดเหตุ และสถานที่เกิดเหตุ
2.การแชร์ข้อมูล โดยโรงพยาบาลส่งข้อมูลไปยังตำรวจและหน่วยงานในท้องถิ่น แบบไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์
3.การวิเคราะห์ข้อมูล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุพื้นที่เสี่ยงและแนวโน้มของเหตุรุนแรง
4.การดำเนินการป้องกัน โดยนำข้อมูลไปใช้เพื่อออกมาตรการป้องกัน เช่น การเพิ่มการลาดตระเวน การติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ในชุมชน เป็นต้น
"กระบวนการนี้จะทำให้สามารถนำข้อมูลเชิงลึกไปใช้ในการออกแบบมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพและป้องกันเหตุความรุนแรงได้" นพ.โอภาสกล่าว
สำหรับการประชุมในวันนี้ นพ.โอภาสระบุว่า เป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการเรียนรู้จากแนวทาง Cardiff Model และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทำให้สามารถพัฒนาระบบสาธารณสุขที่เป็นมิตรต่อผู้ประสบเหตุ และสร้างสังคมที่ปลอดภัยขึ้นสำหรับทุกคนได้ โดยมี ศ.ดร.โจนาธาน มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
ด้าน นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การประชุมวิชาการในครั้งนี้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันความรุนแรงในสังคม โดยเฉพาะการนำ Cardiff Model ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในหลายประเทศมาประยุกต์ใช้ในบริบทของประเทศไทย
เพื่อให้บุคลากรและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคลากรทางสาธารณสุข หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือทางสังคม ได้เรียนรู้หลักการและปัจจัยความสำเร็จของ Cardiff Model รวมถึงมีการหารือถึงการปรับใช้แนวคิดดังกล่าวในบริบทของประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์กว่า 500 คน
นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์
กิจกรรมภายในงานมีการบรรยายเรื่อง “Cardiff Model เพื่อป้องกันเหตุความรุนแรง” การเสวนาเรื่อง “เบื้องหลังความสำเร็จและบทเรียนสู่การปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย” โดย ศ.ดร.โจนาธาน ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการสาธารณสุข ปี 2552 รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมควบคุมโรค, การอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาคีเครือข่าย ได้แก่ ผู้แทนจากกรุงเทพมหานคร กรมสุขภาพจิต กรมควบคุมโรค สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง
ข่าว
ครอบครัว
ครอบครัวและเด็ก
บันทึก
3
3
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย