29 ม.ค. เวลา 00:34 • สุขภาพ

พ่อแม่หลายคนต้องการให้ลูกโตมามีความกล้าหาญ

พ่อแม่หลายคนต้องการให้ลูกโตมามีความคิดสร้างสรรค์
พ่อแม่หลายคนต้องการให้ลูกโตมามีความเข้าอกเข้าใจในผู้อื่น
ฯลฯ
ความต้องการเหล่านี้เป็นความต้องการที่สะท้อนถึงเจตนาที่ดีของพ่อแม่
อย่างไรก็ตาม ในหลายๆกรณี
พ่อแม่พบว่าลูกไม่ได้โตมามี
คุณลักษณะในข้างต้นที่พ่อแม่หวังไว้
…แม้พวกเขาจะพยายามพร่ำสอนลูกในเรื่องเหล่านี้ก็ตาม
มันเกิดอะไรขึ้น?
ทำไมมันถึงเป็นแบบนี้?
เหตุผลข้อหนึ่งก็คือ โดยทั่วไปแล้ว
เด็กๆมักจะเรียนรู้ผ่านการสังเกตพฤติกรรมของพ่อแม่
มากกว่าการฟังคำพูดของพ่อแม่
เหมือนที่คนไทยเราชอบพูดกันว่า
“สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น”
ด้วยเหตุนี้…
หากเราอยากให้ลูกมีความกล้าหาญ
แต่เราวิ่งหนีแมลงสาบให้ลูกเห็นบ่อยๆ
มันก็มีโอกาสที่ลูกจะไม่ได้โตมาเป็นคนที่กล้าหาญ
หากเราอยากให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์
แต่เราทานอาหารเมนูเดิมให้ลูกเห็นทุกมื้อ
มันก็มีโอกาสที่ลูกจะไม่ได้โตมาเป็นคนที่สร้างสรรค์
หากเราอยากให้ลูกมีความเข้าอกเข้าใจในผู้อื่น
แต่เราตะโกนด่าทอเพื่อนร่วมถนนให้ลูกเห็นทุกครั้งที่ขับรถ
มันก็มีโอกาสที่ลูกจะไม่ได้โตมาเป็นคนที่เข้าอกเข้าใจในผู้อื่น
ผมตระหนักดีครับว่า สิ่งที่ผมกำลังหยิบมานำเสนอนี้
มันคงจะสร้างแรงกดดันให้กับคนเป็นพ่อแม่อยู่ไม่น้อย
อย่างไรก็ตาม ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะสื่อว่า
พ่อแม่ทุกคนจะต้อง “ประพฤติตัว” ให้ perfect นะครับ
เพราะนักจิตวิทยาอย่าง Donald Winnicott
ก็เคยกล่าวไว้ว่า พ่อแม่ไม่จำเป็นต้อง perfect
ก็สามารถเลี้ยงลูกให้เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพได้
อันที่จริง Winnicott ถึงกับเคยระบุไว้อย่างชัดเจนเลยครับว่า
ต่อให้พ่อแม่จะ “เลี้ยงลูกได้ดี” ในระดับเพียงแค่ 30%
มันก็เพียงพอที่จะช่วยให้ลูกเติบโตขึ้นมาได้อย่างมีคุณภาพแล้ว!
ฉะนั้น ถ้าพูดถึงการเลี้ยงลูกแล้ว
“สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น” มันคือความจริงแหละครับ
แต่ถ้าจะให้จริงแบบชัดๆแบบ Winnicott ก็คือ
“สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น (ในบางครั้ง)” ครับ
โฆษณา