Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เมืองไทยไดอารี่ by Supawan
•
ติดตาม
29 ม.ค. เวลา 01:14 • ท่องเที่ยว
ใบเสมาที่สวยที่สุดในประเทศไทย @ พิพิธภัณฑ์ฯของแก่น
“ใบเสมาหินทราย” เป็นโบราณวัตถุทีพบว่า มีการค้นพบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง และถูกเก็บไปรักษาไว้ในฐานะสมบัติของชาติ
“พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น” .. เป็น 1 ในสถานที่ที่มีการรวบรวมใบเสมาหินทรายที่สมบูรณ์แบบที่สุดของประเทศไทย
ใบเสมาสลักภาพพุทธประวัติ ตอน “พิมพาพิลาป” .. เป็นศิลปะทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ทำจากหินทราย สูง ๑๙๐ ซม. กว้าง ๖๘ ซม. เลขทะเบียน ๒๒๕/๒๕๑๖ พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
สลักภาพเล่าเรื่องไว้ที่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว จำหลักภาพนูนต่ำ .. เรื่องราวของพุทธประวัติ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระบิดาและประยูรญาติ เหตุการณ์ในภาพสันนิษฐานว่าเป็นเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธองค์เทศนาโปรดพระนางยโสธราหรือพระนางพิมพาที่พระตำหนัก
.. พระนางยโสธราได้แสดงความเคารอย่างสูงด้วยการสยายพระเกศาเช็ดพระบาทพระพุทธองค์ โดยการสยายพระเกศารองรับพระบาทของพระพุทธเจ้านั้น คือการแสดงความเคารพสูงสุดในวัฒนธรรมอินเดียโบราณ เป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม (Master piece) ชิ้นหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
โบราณวัตถุที่สำคัญของประเทศชิ้นนี้มีความสมบูรณ์และสวยงามด้วยการแกะสลัก ซึ่งหลายคนบอกว่า .. สักครั้งในชีวิตที่ทุกคนจะต้องมาชมความสวยงามทางวัฒนธรรมและอารยธรรมหลายพันปีที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในประเทศไทยให้ได้
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพชาดก เรื่อง เวสสันดรชาดก
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ ทำจากหินทราย สูง ๑๕๐ ซม. กว้าง ๘๐ ซม. หนา ๒๔ ซม.
พบได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
จำหลักภาพนูนต่ำ หนึ่งในทศชาติชาดก พระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะบรรลุเป็นพระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นเจ้าชายเวสสันดรและได้ทรงบำเพ็ญทานบารมี ใบเสมาสลักเป็นตอนที่พระเวสสันดรชาดกทรงสนทนากับพระนางมัทรี โดยมีกัณหาและชาลีบรรทมอยู่
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพชาดก ตอน กุลาวกชาดก
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ ทำจากหินทราย สูง ๘๓ ซม. กว้าง ๙๒ ซม. หนา ๒๑ ซม.
พบได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
จำหลักภาพนูนต่ำ ชาดก ตอน พระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นมาฆะมานพ ชายหนุ่ม ผู้หมั่นสร้างบุญกุศลร่วมกับภรรยา คือ นางสุจิตรา สุธรรมมา สุนันทา ส่วนนางสุชาดา ภรรยาอีกนางหนึ่ง ไม่ได้ร่วมสร้างกุศลใดๆเมื่อนางสิ้นชีวิตจึงไปเกิดเป็นนกยาง ในขณะที่มาฆะมานพพร้อมภรรยาทั้งสามเมื่อสิ้นชีวิตได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์และเทพธิดาบนสวรรค์
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพุทธประวัติ ตอน ราหุลกุมารทูลขอราชสมบัติ
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ ทำจากหินทราย สูง ๑๖๐ ซม. กว้าง ๗๔ ซม. หนา ๒๔ ซม.
พบได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
จำหลักภาพนูนต่ำ สันนิษฐานว่าเป็นพุทธประวัติ ตอน พระราหูลทูลขอพระราชสมบัติจากพระพุทธเจ้า ลักษณะพระพุทธรูปยืนในท่าตริภังค์ (ยืนเอียงตน) แสดงความอ่อนช้อยอันเป็นลักษณะที่ได้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดีย
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพต่างๆภายในอาคารจัดแสดง
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพชาดก เรื่อง มโหสถชาดก
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพชาดก เรื่อง พรหมนารถชาดก
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 14-16
พบได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพุทธประวัติ ตอนทรงพบพญานาคมุจลินทร์
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพุทธประวัติ ตอนพระอินทร์ถวายผลสมอ
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพุทธประวัติ ตอนทรงโปรดพุทธบิดา หรือพระเจ้าพิมพิสาร
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพุทธประวัติ ตอนโสตถิยพราหมณ์ถวายหญ้าคา
โสตถิยพราหมณ์เป็นชายตัดหญ้า ได้พบกับพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความศรัทธา จึงถวายหญ้าคาจำนวน ๘ กำ และพระพุทธเจ้าได้ทรงปูรองเป็นอาสนะประทับบำเพ็ญเพียรใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖
ได้จากการขุดเนินดินโรงเรียนฟ้าแดดสูงยางวิทยาคาร บ้านหนองแผปง ตำบลหนองแปง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ใบเสมาหินทรายในอาคารเก็บโบราณวัตถุ
การจัดแสดงใบเสมาหินทรายภายนอกตัวอาคาร
1 บันทึก
4
1
1
1
4
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย