29 ม.ค. เวลา 12:08 • บันเทิง

“กฎหมายละเมิดอำนาจศาล ล้าสมัยมั้ย..”

การละเมิดอำนาจศาล (Contempt to Court) นั้น คือการกระทำใดๆที่ขัดขวางต่อการพิจารณาคดี หรือการกระทำต่อพยาน ต่อคู่ความ ต่อศาลที่อาจกระทบต่อความยุติธรรมในคดี..
เช่น ทะเลาะวิวาทในห้องพิจารณาคดี นำสืบพยานเท็จ ปลอมตนเป็นทนายความ..
การละเมิดอำนาจศาลอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท..
1) ศาลออกข้อกำหนดห้าม.. คำสั่งห้ามด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือ.. แต่ฝ่าฝืนไม่ทำตาม.. ส่วนใหญ่เป็นเรื่องข้อห้ามทำในบัลลังก์..
เพื่อให้การพิจารณาคดีดำเนินต่อไปได้ ด้วยความเป็นธรรม.. ไม่ใช่ออกข้อกำหนดตามอำเภอใจได้..
เช่น ห้ามพกอาวุธเข้ามาในศาล.. ห้ามโต้เถียงทะเลาะวิวาทในบัลลังก์.. ห้ามขัดขวางก่อความวุ่นวาย.. ห้ามเผยแพร่คำเบิกความ..
ใช้กับทุกคน.. แม้ตำรวจจะพกพาอาวุธเข้ามาในบัลลังก์ ในศาลไม่ได้.. แม้จำเลยเอง ถ้าจำเลยขัดขวางการพิจารณา ก็ถูกสั่งให้ออกนอกห้องได้..
2) ฝ่าฝืนกฎหมายเรื่องละเมิดอำนาจศาล..
เช่น ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 32.. กำหนดว่า.. เมื่อฟ้องคดีในศาลแล้ว.. จนถึงก่อนมีคำพิพากษาเป็นที่สุด..
ถ้าบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์โฆษณาต่อประชาชน..
1) แสดงข้อความ แสดงความเห็น.. เพื่อให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชนในสังคม.. หรือเหนือศาล.. หรือคู่ความ.. หรือพยาน.. จนอาจทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรม..
(คือ โน้วน้าว ชี้นำข้อเท็จจริง หรือการพิจารณาคดี ทำให้ศาล สังคม พยาน หรือคู่ความเชื่อในข้อเท็จจริง หรือเรื่องที่สื่อนำเสนอ แทนที่การณ์จะเป็นไปตามพยานหลักฐานในศาล)
2) เสนอข้อเท็จจริงแห่งคดีไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง.. ชักจูงให้เกิดมีคำพยานเท็จ..
3) วิจารณ์การดำเนินคดี.. คำเบิกความพยาน.. นิสัยความประพฤติของคู่ความหรือพยานที่อาจทำให้เขาเสียชื่อเสียงโดยไม่เป็นธรรม..
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้น.. มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท..
ปัญหาว่า คนที่ต้องโทษฐานละเมิดอำนาจศาลนี้ จะอุทธรณ์ฎีกาได้มั้ย.. ต้องห้ามมั้ย..
คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ท. 450/2563 วินิจฉัยว่า..
การละเมิดอำนาจศาลเป็นบทบัญญัติพิเศษที่ไม่เกี่ยวกับการลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญาทั่วไป..
จึงไม่อยู่ในบังคับข้อจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา..
แปลว่า การอุทธรณ์ ฎีกาคำสั่งลงโทษ ทำได้.. ไม่มีข้อห้าม..
หลายคนเข้าใจผิด คิดว่ากฎหมายละเมิดอำนาจศาลนี้ เป็นเครื่องมือของศาลที่จะใช้ได้ตามอำเภอใจ.. จะกลั่นแกล้งลงโทษใครก็ได้..
เพราะกระบวนพิจารณา การตัดสินว่า ใครผิดละเมิดอำนาจศาลมั้ยนั้น.. ศาลใช้ระบบไต่สวน คือ ศาลถามพยานเอง.. สั่งเอง.. ไม่ต้องผ่านทนาย.. ไม่ต้องแจ้งความดำเนินคดีก่อน..
ไม่ใช้ศาลจะลงโทษใครได้ง่ายๆ.. เพราะทางปฏิบัตินั้น..
ศาลมักใช้อำนาจนี้อย่างจำกัด.. ไม่ใช้โดยไม่จำเป็น.. และต้องผ่านการกำกับดูแลจากองค์คณะและผู้บริหารศาลก่อน..
กฎหมายละเมิดอำนาจศาล เป็นมาตรฐานที่ศาลในหลายประเทศใช้อยู่.. เพราะมีความจำเป็นเพื่อให้การทำงานของศาลดำเนินต่อไปได้..
เพื่อให้ศาลปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามปกติ โดยไม่ถูกแทรกแซงจากบุคคล.. สื่อ.. และสังคม..
เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่คดี..
ส่วนกฎหมายที่ใช้อยู่ซึ่งยกร่างมาราว 68 ปีแล้ว..
อะไรทันสมัย.. ตรงไหนล้าสมัย.. ส่วนไหนใช้ได้ดีอยู่แล้ว.. หรือมีส่วนใดควรแก้ไขปรับปรุง..
ให้นักกฎหมายหรือผู้เกี่ยวข้องลองพิจารณากันเองนะครับ.. ไม่ยาก..
“ระบบความเป็นอิสระของศาลนั้น.. ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการแทรกแซงจากภายในองค์กร.. จากหน่วยงานอื่น.. และจากกระแสสังคม..”
โฆษณา