30 ม.ค. เวลา 12:20 • ประวัติศาสตร์

ดีลลับระหว่างเยอรมนีกับอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่ 1

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (WWI) ได้มีการพบกันอย่างลับๆ ระหว่างศัตรูสองฝ่ายในสวิตเซอร์แลนด์
1
สองฝ่ายนั้นคือ “เยอรมนี” และ “อังกฤษ”
1
เหตุใดทั้งสองชาติที่รบกันอย่างเข้มข้นจึงต้องวางอาวุธชั่วคราวและมาเจรจากันอย่างลับๆ?
เรื่องนี้เป็นอย่างไร ผมจะเล่าให้ฟังครับ
ภายหลังจากเยอรมนีรวมตัวเป็นปึกแผ่น เยอรมนีก็ได้กลายเป็นดาวรุ่ง มหาอำนาจชาติหนึ่งในยุโรป
ความเกรียงไกรของเยอรมนีทำให้ชาติอื่นๆ ในยุโรปจับตามองอย่างไม่ไว้วางใจ โดยเฉพาะ “อังกฤษ”
กองทัพเรือเยอรมันที่นับวันมีแต่จะเกรียงไกรขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รัฐบาลอังกฤษนั่งไม่ติด และหาทางที่จะทำให้กองทัพเรือของตนก้าวข้ามเยอรมนีไปให้ได้ และอังกฤษก็เฝ้าคอยโอกาสที่เยอรมนีจะสะดุดล้ม และก้าวขึ้นมายิ่งใหญ่แทน
โอกาสในการพิสูจน์ความยิ่งใหญ่มาถึง เมื่อ “อาร์ชดยุกฟรันทซ์ แฟร์ดีนันท์ แห่งออสเตรีย (Archduke Franz Ferdinand of Austria)” องค์รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ถูกปลงพระชนม์และสวรรคต
1
การปลงพระชนม์ อาร์ชดยุกฟรันทซ์ แฟร์ดีนันท์ แห่งออสเตรีย (Archduke Franz Ferdinand of Austria)
ผู้ที่ปลงพระชนม์คือนักปฏิวัติชาวเซอร์เบีย และนำไปสู่ “สงครามโลกครั้งที่ 1 (WWI)”
เยอรมนีเข้ากับออสเตรียและประกาศสงครามต่อรัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษ และเยอรมนีซึ่งกำลังเป็นดาวรุ่ง ก็มั่นใจว่าสงครามนี้ต้องจบลงโดยเร็วด้วยชัยชนะของเยอรมนี
กองทัพเยอรมันเคลื่อนทัพข้ามเขตแดนฝรั่งเศส-เยอรมนี เข้าไปใกล้ชายแดนรัสเซีย
ในทีแรก ชัยชนะตกเป็นของฝ่ายเยอรมนีเรื่อยๆ แต่อังกฤษก็โต้ตอบด้วยการนำเอากองทัพเรือมาปิดล้อมฝ่ายเยอรมนี ทำให้ฝ่ายเยอรมนีขาดวัตถุดิบที่จำเป็นและเสบียงอาหาร
วัตถุดิบสำคัญที่เยอรมนีต้องการและจำเป็นมากที่สุดก็คือ “ยาง” ส่วนทางด้านอังกฤษก็ใช่ว่าจะมีทรัพยากรพร้อม สิ่งที่ฝ่ายอังกฤษต้องการก็คือ “กระจกออปติคอล”
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จะเริ่มขึ้น เยอรมนีได้ตุนกระจกออกติคอลของอังกฤษไว้กว่า 80% โดยกระจกเหล่านี้เป็นวัตถุสำคัญในการผลิตกล้องส่องทางไกล ซึ่งใช้ในกองทัพและจำเป็นอย่างมากต่อกองทหารปืนใหญ่
ทางด้านเยอรมนีก็ขาดแคลนยาง ซึ่งก็จำเป็นต่อเครื่องจักรต่างๆ
เรียกได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างต้องการทรัพยากรที่อีกฝ่ายมี
ผู้นำเยอรมันและอังกฤษจึงตัดสินใจที่จะพูดคุยกัน ตกลงจะแลกเปลี่ยนทรัพยากร และก็รบกันต่อ ดังนั้น ดีลนี้จึงเกิดขึ้นที่สวิตเซอร์แลนด์ โดยตัวแทนของทั้งสองฝ่ายได้พูดคุยกันถึงความเป็นไปได้ในการแลกเปลี่ยนทรัพยากร
ฝ่ายเยอรมนีตกลงที่จะผลิตและขายกระจกออปติคอลอย่างน้อย 50,000 ชิ้น และกล้องส่องทางไกลจำนวน 10,000 อันให้แก่อังกฤษทุกๆ เดือน
เมื่อดีลนี้เกิดขึ้น ทหารที่เคยเป็นอดีตคนงานในโรงงานก็ถูกเรียกตัวกลับไปทำงาน ส่วนฝ่ายอังกฤษ ก็สัญญาว่าจะส่งมอบยางให้เยอรมนี เพื่อที่เครื่องจักรฝ่ายเยอรมนีจะได้ใช้การต่อไปได้
แต่สุดท้ายแล้วดีลนี้ก็ไม่สำเร็จ
เมื่อลองมาพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ฝ่ายอังกฤษก็เปลี่ยนใจ และคิดว่าการที่ต้องมาพึ่งพิงศัตรูอย่างเยอรมนี น่าจะไม่เป็นผลดีในระยะยาว และก็มองว่านี่เป็นโอกาสที่จะพัฒนาระบบการผลิตกระจกออปติคอลในอังกฤษ
บริษัทอังกฤษหลายแห่งก็มุ่งมั่นจะผลิตกระจกออปติคอล โดยรัฐบาลอังกฤษสัญญาว่าจะรับซื้อกระจกออปติคอลกว่า 80% ของจำนวนการผลิต
เมื่อเป็นอย่างนี้ บริษัทหลายๆ แห่งก็แข่งกันผลิตกระจกออปติคอล ทางด้านเยอรมนี เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ไม่มีทางเลือก ต้องไปปลูกยางเองในแถบเทือกเขาแอลป์ ซึ่งแน่นอนว่าการปลูกยางนี้ไม่สำเร็จ
ลองคิดดูว่า หากเยอรมนีขายกระจกออปติคอลให้อังกฤษ กระจกเหล่านี้ก็จะถูกนำไปใช้ในกองทหารปืนใหญ่ ซึ่งก็ทำหน้าที่สังหารทหารเยอรมัน ทำให้ทหารเยอรมันจำนวนมากต้องเสียชีวิต
ส่วนยางนั้น เมื่อถูกนำส่งถึงเยอรมนีแล้ว ก็จะต้องถูกนำไปใช้กับเครื่องจักรต่างๆ ของฝ่ายเยอรมนี ซึ่งสุดท้ายก็นำมาสังหารทหารอังกฤษ
เรื่องนี้อาจจะเป็นบทเรียนบทหนึ่งของการเมืองโลก และเป็นดังคำกล่าวที่ว่า
“ไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูถาวร”
ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วดีลนี้จะไม่เกิดขึ้นจริง แต่ก็แสดงให้เห็นว่าหากศัตรูมีผลประโยชน์ที่ตรงกัน การเจรจาก็สามารถเกิดขึ้นได้
โฆษณา