30 ม.ค. เวลา 13:56 • ความคิดเห็น

เมื่อ Supply มีมากกว่า Demand เราจะอยู่กันอย่างไรดี

เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ผมได้มีโอกาสร่วมโต๊ะรับประทานอาหารกับ “พี่เบน” วิบูลย์ ตวงสิทธิสมบัติ CEO กลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์ ที่ทำธุรกิจสิ่งทอครบวงจรอันดับต้นๆ ของประเทศไทย
1
ประโยคหนึ่งที่พี่เบนพูดออกมาแล้วติดอยู่ในใจผมมาหลายเดือนก็คือ การทำธุรกิจสมัยก่อนนั้นง่ายกว่าสมัยนี้
1
“ในอดีต ถ้า Demand มีซัก 10 Supply จะมีแค่ 3 หรือ 4 เท่านั้น ทำธุรกิจอะไรก็รวย
6
แต่สมัยนี้ Demand มี 10 Supply อาจจะมี 20 หรือ 30 มันก็เลยต้องแย่งกันขาย ดังนั้นโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนนั้นจึงยากกว่าแต่ก่อนมากๆ”
1
ในช่วงเดียวกันนั้นเอง ผมได้อ่านหนังสือชื่อ The Perfection Trap ที่เขียนโดย Thomas Curran ที่ตั้งคำถามว่าทำไมคนเราถึงมีโอกาสเป็น perfectionist มากกว่าแต่ก่อน
2
สมมติฐานของ Curran คือ โลกปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วย Supply-Side Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยฝั่งซัพพลาย
ในความหมายที่ว่า ทุกคนต้องการสร้างความเจริญเติบโต (growth) จึงเร่งผลิตผลิตภัณฑ์ออกมามากมายจนล้นตลาด และสร้าง “ความต้องการ” ให้กับผู้บริโภคด้วยการโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นทางทีวี นิตยสาร หรือบิลบอร์ด หรือถ้าเป็นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาก็คือผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ที่ Curran มองว่าไม่ได้ทำหน้าที่ social network อีกต่อไป แต่เป็น advertising platform อันทรงพลัง
4
เมื่อเราถูกสื่อทุกทางบอกว่าชีวิตของเราไม่ดีพอ ชีวิตของเราจะต้องดีกว่านี้ ด้วยการซื้อผลิตภัณฑ์ตัวนี้หรือบริการตัวนั้น เราก็เลยพร้อมที่ยอมจ่ายเงินเพื่อจับจ่ายสินค้าที่เอาเข้าจริงแล้วไม่ได้จำเป็นต่อชีวิต
2
เราจึงกดเอฟของเวลามี Double Digit Campaign ในเว็บอีคอมเมิร์ซ เราจึงซื้อเสื้อผ้า fast fashion มาอัดไว้เต็มตู้ เราจึงเปลี่ยนมือถือทั้งที่เครื่องเก่าก็ยังใช้ได้ดี
1
-----
ไม่ใช่เพียงสินค้าเท่านั้นที่ล้นตลาด คนทำงานก็เหมือนจะล้นตลาด
เนื่องจากผมทำงานอยู่ในส่วนของ HR จึงได้สัมภาษณ์คนอยู่เรื่อยๆ สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นคือเด็กที่จบใหม่สมัยนี้หางานดีๆ ได้ยากกว่าสมัยก่อน
1
เนื่องจากบริษัททุกแห่งต้องทำกำไร และการจ้างพนักงานประจำนั้นมีต้นทุนสูง บริษัทจำนวนไม่น้อยจึงเลือกรับพนักงานที่ยังไม่มีประสบการณ์แบบเป็นสัญญาจ้างหรือที่เรียกว่า outsourced employee
2
ผมได้คุยกับผู้สมัครหลายคนที่เรียนจบเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง แต่ตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมายังเป็นได้เพียงพนักงานสัญญาจ้างปีต่อปี ซึ่งสิ่งนี้แทบไม่เคยเกิดขึ้นเลยตอนผมเริ่มทำงานใหม่ๆ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
1
แล้วการมาของ AI อาจจะ disrupt ตลาดแรงงานอีกหลายระลอก งานระดับ operations ที่เราเคยจ้างเด็กจบใหม่เข้ามาทำก็อาจจะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ
เมื่อเราอยู่ในโลกที่ supply มีมากกว่า demand นั่นหมายความว่าเราไม่อาจแสวงหา “ความมั่นคง” ในอาชีพการงานได้อีกต่อไป
1
แม้กระทั่งบริษัทเทคชั้นนำของโลกที่มีเงินมหาศาล ก็ยังปลดพนักงานไปแล้วหลายระลอก
จริงอยู่ที่ในเมืองไทยยังมีองค์กรใหญ่ที่ดูมั่นคงและปลอดภัย แต่ในโลกที่ผันผวนเพียงนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่าองค์กรเหล่านี้จะยังคงมอบความมั่นคงให้กับพนักงานได้เหมือนสมัยก่อนหรือไม่ บริษัทอาจถูกควบรวม ลดไซส์ หรือมีโครงการ early retire ที่เราอาจกลายเป็น “ผู้ประสบภัย” ได้เช่นกัน
1
-----
ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วเราควรทำอย่างไรกันดี?
ผมคงไม่สามารถพูดได้ในมุมของเจ้าของธุรกิจเพราะไม่ได้มีประสบการณ์ แต่ขอพูดในมุมมองของพนักงานว่าเราจะเพิ่มความน่าจะเป็นให้กับตัวเองในการมี “งานทำไม่ขาดมือ” ได้อย่างไรบ้าง
4
หนึ่ง เราควรเป็นของหายากสำหรับใครบางคน
1
แม้จะอยู่ใน supply-side economy แต่ก็มีบางอย่างที่ supply ยังน้อยกว่า demand อยู่
เช่นคนที่ขยัน เรียนรู้ไว มี ownership เก่งทั้งงาน เก่งทั้งคน มี EQ ที่ดี จัดการความเครียดได้ สุขภาพแข็งแรง รักษาคุณภาพของงานได้อย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้ไม่มีทางลัด ต้องใช้เวลาพัฒนา มันจึงเป็นของหายาก และบริษัทที่ฉลาดย่อมอยากเก็บเอาไว้
3
สอง เราควรสร้างแบรนด์ของตัวเอง
เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์ดีๆ ได้ โดยไม่ต้องลงทุนอะไรมากไปกว่าเวลาและความตั้งใจ (โดยที่ต้องทดไว้ในใจว่าใน supply-side economy ก็มี creators ล้นตลาดเช่นกัน)
3
เมื่อเรามีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีคนติดตามหลักพันหรือหลักหมื่น มันจะเป็นเสมือน online resume ที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับเราได้ในระยะยาวไม่ว่าเราจะทำงานอยู่กับองค์กรไหนก็ตาม
และแม้ว่าเราไม่ต้องการมีชื่อเสียงในโลกออนไลน์ เราก็ยังสามารถสร้างแบรนด์ของตัวเองภายในองค์กรได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสและทางเลือกให้กับเราอย่างแน่นอน
สาม เราควรเล่นเกมยาวกับคนที่มองการณ์ไกล
“Play long-term games with long term people.” เป็นหนึ่งในคำแนะนำที่ผมชอบมากที่สุดในหนังสือ The Almanack of Naval Ravikant
เพราะความไว้ใจนั้นใช้เวลาสั่งสมเนิ่นนาน เป็นสิ่งที่ AI ก็ช่วยให้เกิดเร็วขึ้นไม่ได้ ดังนั้น ถ้าเราลงทุนในความสัมพันธ์กับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานที่เก่งๆ เราก็จะมีกลุ่มคนที่คอยเกื้อกูลกัน พร้อมจะแนะนำให้เราได้พบกับงานดีๆ ทั้งในวันนี้และในอนาคต โดยที่เราไม่ต้องร่อนเรซูเม่และได้แต่ภาวนาว่าจะมีบริษัทไหนเรียกตัวหรือไม่
ขอเอาใจช่วยให้ทุกคนเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับคลื่นอีกหลายระลอกที่กำลังซัดเข้าฝั่งครับ
โฆษณา