โมเดล R1 น่าทึ่งตรงที่ใช้เวลาพัฒนาไม่ถึงสองเดือนและประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ โมเดล OpenAI o1 แต่ต้นทุนการดำเนินงานนั้นต่ำอย่างน่าเหลือเชื่อ เมื่อเทียบเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็ก ๆ ของ AI ยอดนิยมอย่าง OpenAI Google และ Meta
1. ทักษะการแก้ปัญหาข้อพิพาท
ประการแรก หลายคนเข้าใจผิดว่าผลงานสร้างสรรค์จาก AI ได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มโปรแกรมเมอร์เพียงอย่างเดียว แต่จริง ๆ แล้วการพัฒนา AI ไม่เพียงจัดการปัญหาทางเทคนิคเท่านั้น แต่ยังเป็นทางเลือกของหลักจริยธรรมและทัศนคติต่อคุณค่าอีกด้วย
กรณีตัวอย่างของ Claude มีโมเดล AI ที่เปิดตัวในปี 2023 ซึ่งช้ากว่า ChatGPT แต่ก็มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการรักษาความปลอดภัย การควบคุมอคติและการออกแบบที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม ดังนั้นจึงได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใช้งานระดับมือโปรและระดับองค์กรมากกว่า
Amanda Askell
Amanda Askell เป็นหนึ่งในทีมพัฒนา Claude ซึ่งเธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาปรัชญา ภูมิหลังทางวิชาการและการบ่มเพาะด้านจริยธรรมมีบทบาทสำคัญในการออกแบบ Claude ในกระบวนการพัฒนานั้น Amanda เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการออกแบบ “อุปนิสัย” และกรอบจริยธรรมของ AI
ในการโต้ตอบแต่ละครั้ง Claude จะต้องชั่งน้ำหนักผลกระทบทางจริยธรรมของคำตอบของตัวเอง โดยต้องแน่ใจว่าคำตอบเหล่านั้นจะมีประโยชน์และสอดคล้องกับค่านิยมทางจริยธรรมและสังคม
การสร้างสมดุลระหว่าง “เทคโนโลยี” และ “จริยธรรม” ในการพัฒนา AI
นี่คือปัญาหา “ภาษีการปรับทิศทาง(对齐税;Alignment tax)” ที่กำลังก่อปัญหาให้กับบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งในปัจจุบัน พูดง่าย ๆ ก็คือ ข้อจำกัดทางจริยธรรมที่เข้มงวดทำให้นักพัฒนาจะต้องลงทุนทรัพยกรมากขึ้นเพื่อออกแบบ AI ที่ตรงตามเงื่อนไขด้านจริยธรรม และการลงทุนนี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและความสามารถของ AI ซึ่งอาจจะลดลงในระดับหนึ่ง ดังนั้น นักพัฒนาต้องหาสมดุลระหว่างความสามารถทางเทคนิคและเงื่อนไขด้านจริยธรรม
ผลสำรวจบริษัท AI ทั่วโลกในปี 2024 พบว่าบริษัท AI ประมาณ 75% ต้องการบุคลากรที่มีพื้นฐานด้านจริยธรรมหรือสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งที่จำเป็นต้องแน่ใจว่าเทคโนโลยีสอดคล้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรม
2. ทักษะการสื่อสารและการโต้ตอบ
ประการที่สอง นอกเหนือจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI แล้ว Amanda เคยกล่าวว่าผู้คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการใช้ AI โดยหลายคนเชื่อว่า output ของ AI นั้นคงที่และถูกตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้าเหมือนระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในความเป็นจริงผลลัพธ์ของ AI ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการโต้ตอบเป็นหลัก โดยเฉพาะวิธีการ เนื้อหาและรายละเอียดในการแสดง input
ประการที่สาม AI เพิ่มขีดจำกัดการจ้างงาน เฉพาะคนที่มีทักษะทางเทคนิคสูงกว่าเท่านั้นสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ แต่ความเป็นจริงความก้าวหน้าของ AI ไม่เพียงแต่สามารถยกระดับมาตรฐานได้เท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้เรียนศิลปศาสตร์สามารถใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือจากโปรแกรมเมอร์ได้อย่างอิสระ ด้วยการ “รวม” เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ซับซ้อนเข้าด้วยกัน
AI และการเข้าถึงงาน
เมื่อ AI ลดความยากในการทำงานให้สำเร็จ สิ่งที่สำคัญการ “ระบุความต้องการ" ดังนั้นผู้เรียนศิลปศาสตร์ที่มีความสามารถในการเข้าใจความต้องการและมองเห็นปัญหาจะสามารถคว้าโอกาสต่าง ๆ ได้มากขึ้นในยุคนี้
Magic School
ยกตัวอย่างเช่น Magic School ซึ่งเป็นเครื่องมือ AI ยอดนิยมในวงการการศึกษาของสหรัฐฯ นับตั้งแต่เปิดตัว แพลตฟอร์มดังกล่าวได้รับความนิยมจากครูหลายพันคนอย่างรวดเร็ว และเป็นหนึ่งในแอป AI ที่โดดเด่นที่สุดในอุตสาหกรรมกาศึกษา
ด้วยความแม่นยำดังกล่าว Magic school จึงทำให้ฟังก์ชันและบริการของแพลตฟอร์มสามารถตอบสนองปัญหาของผู้ใช้งานได้โดยตรง จึงช่วยปรับปรุงอัตราการใช้งานและความพึงพอใจของผู้ใช้อย่างมีนัยสำคัญ
เมื่อเทคโนโลยี AI อย่าง Magic school ได้รับการแพร่หลายและเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ แนวโน้มของการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีกับความต้องการนี้ยังนำมาซึ่งศักยภาพและโอกาสมากมายให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกด้วย
2024: The Year the GPT Wrapper Myth Proved Wrong
ทีมผู้ก่อตั้ง Y Combinator ได้คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2025 จะเป็นปีที่สตาร์ทอัพขนาดเล็กในแวดวง AI จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งหมายความว่าในอนาคตจะมีผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ใช้ AI เกิดขึ้นมากมาย และความสำเร็จของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับความเข้าใจเชิงลึกต่อความต้องการของตลาดและการตอบสนองได้อย่างแม่นยำ ในอนาคต ความสอดคล้องระหว่างเทคโนโลยีและความต้องการจะกลายเป็นเกณฑ์สำคัญในการวัดความสำเร็จของ AI