31 ม.ค. เวลา 12:00 • สุขภาพ

ดูแลสุขภาพโดยไม่ต้องออกกำลังกายได้ไหม ?

วันก่อนมีคำถามที่น่าสนใจมาก คำถามนึงในคอมเมนต์
คำถามคือ จะดูแลสุขภาพโดยไม่ต้องออกกำลังกายได้ไหม ?

คำถามนี้เป็นคำถามที่ดีมากเลยนะครับ และเชื่อว่าเป็นคำถามที่หลายคนอาจจะถามตัวเองอยู่
คำตอบเผินๆ เหมือนจะตอบว่า ไม่ได้ เพราะทุกวันนี้เรามีข้อมูลเยอะมากว่า การออกกำลังกาย น่าจะเป็นวิธีการ ลดความเสี่ยงโรค ลดความเสี่ยงตาย และชะลอความแก่ ที่ดีที่สุดที่เรามีอยู่ในยุคปัจจุบัน
แต่คำตอบคือ “ได้” ครับ สามารถดูแลสุขภาพโดยไม่ต้องออกกำลังกายได้ และอาจจะเป็นวิธีการที่ดีสำหรับหลายคนด้วย
แต่! ต้องมี "แต่" ตัวใหญ่ ๆ ไว้ด้วย
สุดท้าย เมื่อไปถึงจุดหนึ่ง การออกกำลังกายก็คงเป็นสิ่งที่ต้องผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพ
สำหรับเหตุผลว่า ทำไมผมตอบว่า ไม่ต้องออกกำลังกายได้ มีดังต่อไปนี้ครับ
เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ “การออกกำลังกาย"
ผมเชื่อว่าหลายคนที่ถามคำถามนี้ขึ้นมา คงจะมีภาพของการออกกำลังกายว่า เป็นอะไรที่ต้องเหนื่อย ต้องหอบ ต้องทรมาน มีภาพของการวิ่ง ยกเวท เข้าฟิตเนส หรือเต้นตาม HIIT
แต่อยากให้เปลี่ยนมุมมองหรือภาพจำว่า ถ้าเราเน้นการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น มันไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการ ออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง
เพราะการออกกำลังกายที่ทำให้สุขภาพดีขึ้น มันแค่”ขยับตัวให้มากขึ้นกว่าเดิม" ก็พอจะได้ผลแล้ว เพียงแต่ ต้องเพิ่ม เข้าไปอีกว่า “อย่างต่อเนื่อง และดีขึ้นกว่าเมื่อวาน”
1
เพราะโดยธรรมชาติของการออกกำลังกาย กลุ่มคนที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด คือ กลุ่มคนที่แทบไม่ขยับตัว และหันมาขยับร่างกายให้มากขึ้น
3
ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ

คนที่ไม่เคยออกกำลังกายเลย ถือว่าอยู่ที่ระดับ 0 และ นักกีฬาระดับโอลิมปิกคือ ระดับ 10

กลุ่มคนที่เปลี่ยนจาก 0 → 1 จะได้ประโยชน์ในแง่สุขภาพสูงสุด
เมื่อเทียบกับคนที่อยู่ที่ระดับ 7 ไป 8 หรือ 8 ไป 9 (เพราะคนระดับนี้จะได้ประโยชน์ในแง่สุดภาพจากการออกกำลังกายไปเกือบเต็มที่แล้ว การออกเพิ่มขึ้นยังมีประโยชน์ แต่ return of investment จะลดลง)
ยกตัวอย่างเล่นๆ เช่น
1
การเปลี่ยนจาก 0 → 1 อาจให้ประโยชน์ประมาณ 3 หน่วย
การเปลี่ยนจาก 7 → 8 อาจให้ประโยชน์เพียง 0.5 หน่วย
1
ตัวอย่างในชีวิตจริง ก็ให้เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ในชีวิตประจำวันก่อน
เปลี่ยนจาก ใช้ลิฟต์ → เป็น ใช้บันได
เลือก ที่จอดรถไกลขึ้น → เพื่อให้เดินมากขึ้น
ถ้าวัดจำนวนก้าว ก็เพิ่มจำนวนก้าวเดินต่อวันเล็กน้อย เช่น จาก 1,000 ก้าว → 1,500 ก้าว
นั่งทำงานต่อเนื่อง 1 ชั่วโมง → ลุกขึ้นเดินทุก 30 นาที สัก 5 นาที
ถ้าเคย นั่งวินมอเตอร์ไซค์ระยะใกล้ ๆ → ลอง เดินแทน
ถ้าปกติใช้ คอมพิวเตอร์ทั้งวัน → ลอง หาส่วนของงานที่สามารถทำบนมือถือได้ แล้วลองเดินทำงานดูบ้าง
2
สิ่งเหล่านี้แม้ว่าจะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่มันคือ จุดเริ่มต้น และมีผลต่อร่างกายได้ทันที
สรุปคือ จะบอกว่า ถ้ายังไม่พร้อมจะออกกำลังกาย ให้เปลี่ยนมุมมองแล้วขยับร่างกายให้มากขึ้นวันละนิดเดียว แต่ทำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
แล้ววันนึงคุณที่เริ่มต้นจากการ "ไม่ออกกำลังกาย"
สุดท้ายก็จะมาออกกำลังกายอยู่ดี
เพราะอะไร?
เพราะพอสุขภาพดีขึ้น คนส่วนใหญ่จะอยากพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ หรือเมื่อเข้าวงการสุขภาพก็จะเริ่มมีเพื่อนที่คอยชักชวนกันไปเรื่อย ๆ
เมื่อก่อนเดิน 5,000 ก้าว ก็เหนื่อย
แต่พอทำไปเรื่อย ๆ… วันหนึ่งเรากลับรู้สึกว่า “อยากลองเดินให้ไกลขึ้น”
เหมือนนักวิ่งหลายคนไม่ได้เริ่มต้นจากการวิ่ง
แต่เริ่มจากการเดิน… แล้วค่อย ๆ วิ่ง
เมื่อถึงจุดหนึ่ง ร่างกายจะบอกคุณเองว่า...
"ฉันพร้อมไปต่อแล้วนะ"
2
1. อย่างที่พูดไปก่อนหน้าคือ เสาหลักของการดูแลสุขภาพมี 4 ต้น หรือจะมองว่าโต๊ะมี 4 ขาก็ได้
ถ้าคุณยังไม่พร้อมออกกำลังกาย คุณอาจเลือกเริ่มจากเรื่องอื่นก่อนก็ได้ เช่น นอนให้ดีขึ้นก่อน หรือ ปรับการกินให้มีผักมากขึ้น เป็นต้น
แต่ละคน ถนัดที่จะเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะถนัดที่จะเปลี่ยนแปลงแบบ "พลิกชีวิตทันที" เช่น ปีใหม่ วันเกิด เปลี่ยนเป็นคนใหม่
แต่ปัญหาของการเปลี่ยนแบบพลิกชีวิต มันอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกินไป จนทำให้รู้สึกเครียด และล้มเลิกได้ง่าย เพราะต้องใช้แรงใจ มีวินัย และมีปัจจัยที่เอื้อให้ประสบความสำเร็จเยอะ
1
สำหรับคนที่ชีวิตยุ่ง มีภาระงาน ภาระครอบครัวมากมาย อาจจะไม่เหมาะ
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจได้ผลดีกว่า
2
เริ่มจาก ทีละน้อย แต่ ทำอย่างสม่ำเสมอ
คิดว่าพยายามพัฒนาตัวเองวันละแค่ 1%
อย่ากดดันตัวเองให้เปลี่ยนทุกอย่างในครั้งเดียว แต่เลือกโฟกัสไปทีละอย่าง ทำจนเคยชิน แล้วค่อยเพิ่มการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่ๆ เข้ามาทีละอย่าง

อาจจะมองว่าเหมือนการปีนเขา
อย่ามองเป้าหมายไกลเกินไป
มองแค่ “ก้าวต่อไป” ก็พอ
1
แล้ววันนึง... คุณก็จะไปถึงยอดเขาโดยไม่รู้ตัวได้เอง
1
ปล. ที่เล่านี้ผมแชร์จากประสบการณ์ตัวเองเลยนะครับ ผมเริ่มสนใจดูแลสุขภาพตัวเองตอนอายุ 30 กลางๆ ระหว่างทางเส้นทางชีวิตก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาหลายครั้ง บางช่วงของชีวิตสิ่งแวดล้อมก็ไม่เอื้อให้กินดีนอนดีมีเวลาออกกำลังกาย แต่ก็จะพยายามทำเท่าที่จะพอทำได้มาโดยตลอด

มาถึงวันนี้อายุ 51 ผมยังรู้สึกขอบคุณตัวเองในอดีตที่ทำมาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ก็เลยอยากเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ มันไม่ได้ยากมาก แค่ทำไปเรื่อยๆ ทีละนิด ทีละนิด
1
ถ้าอยากเข้าใจวิวัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับ ความรัก หรือ การมีชู้ แนะนำว่าควรอ่าน เรื่องเล่าจากร่างกาย และ 500 ล้านปีของความรัก
หนังสือ เรื่องเล่าจากร่างกาย เล่ม 1-2 https://bit.ly/4fL06Fy
หนังสือ 500 ล้านปีของความรัก เล่ม 1 https://bit.ly/3BUClx4
หนังสือ 500 ล้านปีของความรัก เล่ม 2 https://bit.ly/3PsVg4Y
1
โฆษณา