31 ม.ค. เวลา 13:56 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไม ราคาหุ้น CPALL ถึงตกหนักวันนี้ และราคาอยู่ที่เดิมมา 10 ปี

ข่าวใหญ่วันนี้ ราคาหุ้น CPALL -7.96% ในวันเดียว หลังมีข่าวเรื่องการที่ CPALL พิจารณาเข้าร่วมซื้อกิจการ Seven & I Holdings ซึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่ถือครองแบรนด์ 7-Eleven ทั่วโลก
4
เหตุการณ์นี้ สำหรับคนที่เป็นผู้ถือหุ้น CPALL คงเป็นเหมือนภาพเดจาวู ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
จนราคาหุ้น CPALL ไม่ไปไหนมา 10 ปี
2
ปี 2559 CPALL ราคาหุ้นละ 52 บาท
ปี 2568 CPALL ราคาหุ้นละ 52 บาท
ทำไม ราคาหุ้น CPALL ถึงตกหนักเพราะเรื่องการเข้าซื้อกิจการ แล้วที่ผ่านมา CPALL ต้องเจอกับอะไรบ้าง ถึงทำให้ราคาอยู่ที่เดิมมาแล้ว 1 ทศวรรษ
1
แล้วทำไมบริษัทญี่ปุ่นนี้ ถึงสำคัญกับ CPALL มากกว่าที่คิด ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
CPALL ถือเป็นหุ้นที่ใกล้ตัวคนไทยที่สุดหุ้นหนึ่ง
เพราะบริษัทนี้เป็นเจ้าของกิจการ 7-Eleven ในประเทศไทย
1
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนไทยทุกคน คงไม่มีใครไม่เคยเข้า 7-Eleven
1
และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หุ้นนี้เป็นหุ้นขวัญใจมหาชนของนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย
และหนึ่งในบุคคลที่มองเห็นหุ้นนี้ตั้งแต่แรก ๆ จนเป็นแบบอย่างความสำเร็จในการลงทุนตลาดหุ้นไทยก็คือ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ปี 2551 หรือในช่วงซับไพรม์ ดร.นิเวศน์ เริ่มเข้าลงทุนในหุ้น CPALL ผ่านภรรยา และได้กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ พบว่าถืออยู่จำนวน 22.5 ล้านหุ้น มูลค่า 236.3 ล้านบาท คิดเป็นครึ่งหนึ่งของพอร์ตการลงทุน ณ ขณะนั้น
ปัจจุบัน ดร.นิเวศน์ ยังคงถือหุ้น CPALL ผ่านภรรยา 45 ล้านหุ้น (มีปันผลเป็นหุ้น 1:1 ในปี 2555 ทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มเป็น 2 เท่า) คิดเป็นมูลค่า 2,340 ล้านบาท
เรียกได้ว่ามูลค่าที่เพิ่มขึ้นระดับ 10 เท่า ทำให้ทุกคนกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในการลงทุนที่เยี่ยมที่สุดครั้งหนึ่งของนักลงทุนไทย
3
แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว ราคาหุ้น CPALL อยู่ที่ราคานี้เป็นเวลา 10 ปีแล้ว..
2
แปลว่าที่ราคาเพิ่มระดับ 10 เท่าของ ดร.นิเวศน์ เป็นแค่ช่วงแรกของการลงทุนเท่านั้น (ปี 2551 ถึง ปี 2558)
1
ส่วนในช่วงครึ่งหลัง ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปี 2568 ราคาจะสลับขึ้นลงไปมาจนเรียกได้ว่า ถ้าหลับไป 10 ปี ตื่นมาดูอีกทีก็จะพบว่า “ราคาอยู่ที่เดิม” อาจได้ปันผลนิดหน่อยระหว่างทาง
3
แล้วมันเกิดอะไรขึ้นใน 10 ปีที่ผ่านมา ?
- ข่าวใหญ่ใน ปี 2555 CPALL ได้เข้าซื้อกิจการ สยามแม็คโคร (MAKRO) หรือ CPAXT ในปัจจุบัน มูลค่า 1.9 แสนล้านบาท ด้วยกระแสเงินสดราว 1 ใน 10 และที่เหลือเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงิน ซึ่งทำสัญญาซื้อขายกันในปี 2556
1
เมื่อมองย้อนกลับไป จุดนี้เริ่มเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ CPALL ไม่เหมือนเดิม
1
เพราะในการซื้อกิจการ MAKRO ในครั้งนั้นทำให้ CPALL ต้องกู้เงินระดับแสนล้านบาทเพื่อมาซื้อกิจการ จนเรียกได้ว่า กำไรของ MAKRO ตอนนั้นมีเท่าไร ก็เอากำไรเหล่านั้นไปจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมด
2
ตอนนั้นตลาดเริ่มคิดว่าคงเป็นแค่ครั้งเดียว คงไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก
แต่เวลาต่อมา มันไม่เป็นแบบนั้น..
- ข่าวใหญ่ในปี 2563 กลุ่ม CP ได้แก่ CPALL, CPF และ C.P. Merchandising ได้เข้าซื้อ Tesco Lotus ในประเทศไทย และมาเลเซีย มูลค่าราว 3.3 แสนล้านบาท แบ่งสัดส่วนความเป็นเจ้าของ
1
- CPALL 40%
- CPF 40%
- C.P. Merchandising 20%
หากนับเฉพาะเงินลงทุนของ CPALL เป็นมูลค่าราว 1.3 แสนล้านบาท
โดยเป็นการเข้าซื้อด้วยกระแสเงินสด และเงินกู้สถาบันการเงิน อีกเช่นเคย..
3
- หลังจากการซื้อกิจการ Lotus เพียงปีเดียว กลุ่ม CP ก็ได้มีการปรับโครงสร้างการถือหุ้น Lotus โดยให้ CPAXT เป็นเจ้าของ Lotus ทั้งบริษัท
2
สรุปง่าย ๆ ก็คือ ให้ CPAXT ที่ CPALL ถือหุ้นอยู่มาช่วยกู้เงินด้วย
และจากการเข้าซื้อกิจการทั้ง Makro และ Lotus ส่งผลให้ปัจจุบัน กลุ่มบริษัท CPALL ที่รวมบริษัทย่อยทั้งหมด มีหนี้สินที่มีดอกเบี้ยอยู่มากถึง 320,000 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยราว 15,000 ล้านบาท ต่อปีเลยทีเดียว
2
จนถึงตอนนี้เราได้เรียนรู้ว่า
บริษัทเจ้าของ 7-Eleven ที่เราเข้ากันทุกวันมีหนี้อยู่ 320,000 ล้านบาท
และนักลงทุนที่ถือหุ้นบริษัทนี้ ก็กังวลกับหนี้ก้อนนี้
เพราะหนี้ก้อนนี้คอยกดดันกำไรเรื่อยมา เพราะต้องจ่ายดอกเบี้ย
ทำให้ราคาหุ้นไม่ไปไหนมา 10 ปีแล้ว
3
ผู้ถือหุ้นรายย่อยหลายคนรอคอย ว่าหนี้ก้อนหนี้จะหมดลงในปีไหน
2
เพราะจริง ๆ แล้ว CPALL มีกระแสเงินสดที่ทำได้มากเช่นกัน และน่าจะจ่ายหนี้หมดภายใน 10 ปี ถ้าไม่ก่อหนี้เพิ่ม
2
แต่เหตุการณ์ในวันนี้ ก็ทำให้เห็นว่า มันไม่เป็นแบบนั้น..
วันนี้มีข่าวว่าทางบริษัท Seven & I Holdings ซึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่นเจ้าของแบรนด์ 7-Eleven ได้ติดต่อขอให้ทางกลุ่ม CP ไปร่วมลงทุน ซึ่งคนที่ถูกชักชวนในคราวนี้ หนึ่งในนั้นก็มี Itochu บริษัทญี่ปุ่นที่ CP เข้าไปถือหุ้นด้วย
2
นั่นก็เป็นเพราะว่า ทางคุณ Junro Ito ทายาทของตระกูล Ito ที่เป็นผู้ซื้อกิจการ 7-Eleven เข้ามาในญี่ปุ่น เขาไม่ต้องการให้ใครมาครอบงำบริษัท Seven & I Holdings จึงต้องต่อสู้กับการครอบงำบริษัทโดยกลุ่มทุนค้าปลีกแคนาดาที่ชื่อว่า Alimentation Couche-Tard Inc.
4
คุณ Junro Ito ตัดสินใจประกาศซื้อหุ้นคืนจากนักลงทุนทั้งหมดแทน เพื่อนำบริษัทออกจากตลาดหุ้น
2
แต่ลำพังเพียงแค่ตระกูล Ito คงจะหาเงินสดมาซื้อกิจการไม่ได้มากขนาดนั้น ทำให้ตระกูล Ito ได้ชักชวนกลุ่ม CP และ Itochu ให้มาเข้าร่วมด้วย (จำชื่อ Itochu ให้ดี จะเป็นตัวละครลับในท้ายเรื่อง)
4
และถ้ากลุ่ม CP สนใจ นักลงทุนคาดการณ์ว่าบริษัท CPALL ก็คงเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักที่จะใช้ในการกู้ยืมเงินเพิ่มเติมเพื่อมาร่วมซื้อกิจการนี้
3
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ซื้อหุ้น 100% ทั้งกิจการ แต่ถ้าเป็นสัดส่วนสัก 10% ก็หมายความว่า CPALL จะมีหนี้เพิ่มไปอีกระดับแสนล้าน เพราะตัวกิจการ Seven & I Holdings มีการประเมินมูลค่าไว้ที่ 1.9 ล้านล้านบาท
1
ซึ่งภาระดอกเบี้ยที่มากขึ้น จะไปกดดันกำไรของ CPALL ในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ราคาหุ้น CPALL -7.96% ในวันนี้
ถ้าถามลงทุนแมนว่ามีเหตุผลไหนไหม
ทำไม CP ถึงอยากเข้าร่วมลงทุนในบริษัท Seven & I Holdings ?
4
มองย้อนกลับไป
คุณธนินท์ เจ้าสัว CP เคยให้สัมภาษณ์ว่า Makro และ Lotus เป็นลูกรักเพราะเขาปั้นกิจการมากับมือ เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งจึงจำเป็นต้องนำไปฝากไว้กับคนอื่น ตอนนี้มีเงินแล้วจะราคาเท่าไรก็ยอมซื้อกลับ
5
แต่สำหรับ Seven & I Holdings อาจเป็นกรณีที่ต่างออกไป
2
ตอนคุณธนินท์จะนำเข้า 7-Eleven มาเปิดในประเทศไทย คุณธนินท์ยังเคยเล่าว่าต้องไปง้อบริษัทแม่อยู่หลายครั้ง ตอนนั้นทางบริษัทแม่บอกว่าประเทศไทยยังไม่พร้อมสำหรับการมีร้านสะดวกซื้อ แต่คุณธนินท์มั่นใจว่าประเทศไทยพร้อมแล้ว และเมื่อเวลาผ่านไปเขาก็ทำได้สำเร็จ
4
ในตอนนี้ ต้องยอมรับว่าทั้งสินค้าและบริการของ 7-Eleven ในประเทศไทย ล้ำไปไกลเกินกว่า 7-Eleven ในหลายประเทศ
3
เรียกได้ว่า ต่อให้ 7-Eleven ยกป้ายออกเปลี่ยนเป็น Family Mart คนก็ยังเข้าใช้บริการเหมือนเดิม ไม่ต่างอะไรจาก Pizza Hut เปลี่ยนเป็น The Pizza Company ของไมเนอร์
2
7-Eleven ประเทศไทยในวันนี้ คนเข้าไม่ใช่เพราะชื่อแบรนด์ แต่เป็นเพราะสินค้าและบริการที่อยู่ข้างใน
คำถามคือ
แล้วถ้า 7-Eleven ถูกยกป้ายออกเปลี่ยนเป็น Family Mart จริง ๆ หล่ะ ?
3
หลายคนยังไม่รู้ว่า
ตอนนี้ CP ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ใน Itochu คิดเป็น 4% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เป็นรองจาก Berkshire Hathaway ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ถือ 7.5%
5
และ Itochu เป็นเจ้าของ Family Mart..
6
ด้วยการถือจำนวนหุ้นจำนวนมากขนาดนี้ของ CP ย่อมมีอำนาจในการควบคุมบริษัทมากระดับหนึ่ง
4
ดังนั้น CP อาจวางเกมไว้แล้ว
เมื่อใดที่ 7-Eleven เก็บค่า license เพิ่ม CP ย่อมพร้อมยกป้าย 7-Eleven ออก และ เอา Family Mart เข้าแทน
6
แต่เหตุการณ์ในครั้งนี้สนุกขึ้นไปอีกก็คือ
คนที่มาร่วมซื้อหุ้น Seven & I Holdings ในคราวนี้ด้วยก็คือ Itochu..
4
ซึ่งก็แปลได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่ 7-Eleven อาจมีการควบรวมกับ Family Mart ในญี่ปุ่น หาก Itochu ซื้อ Seven & I Holdings สำเร็จ
3
ไม่ต่างอะไรที่ True ของ CP ควบรวมกับ Dtac ซึ่ง CP อาจเล็งเห็นโอกาสการควบรวมนี้จึงสนใจ
1
แต่ก็อาจจะยังเร็วไปที่จะด่วนสรุปว่าจะมีการควบรวมเกิดขึ้นได้จริง เพราะต้องผ่านกฎหมายต่อต้านการผูกขาดในญี่ปุ่นอีกมากมาย และที่สำคัญเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ลงทุนแมนคาดเดาเอง
4
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ CP อาจได้ประโยชน์ทันทีก็คือการมีอำนาจในการกำหนดค่า License แบรนด์ 7-Eleven ไม่ให้สูงเกินไปในอนาคต และมีโอกาสเข้าไปดำเนินธุรกิจ 7-Eleven ในประเทศอื่นโดยต่อยอดความสำเร็จจากประเทศไทย ซึ่งในตอนนี้ CPALL มีโอกาสแค่ในกัมพูชาและลาวเท่านั้น
2
ซึ่งล่าสุด CPALL ก็ออกจดหมายไม่ได้บอกปฏิเสธข่าว แต่บอกว่ากำลังพิจารณาดีลนี้อยู่
ก็แปลว่า CP สนใจดีลนี้จริง ๆ..
3
แต่สำหรับในมุมนักลงทุน ถ้ามองสิ่งที่ CPALL มีอยู่ตอนนี้กับสิ่งที่ CPALL อาจเดินไปในอนาคต
1
CP กำลังเล่นเกมใหญ่ระดับโลก ที่มีปัจจัยไม่แน่นอนมากมายรออยู่ข้างหน้า
และที่สำคัญเกมนี้ต้องใช้เงินมหาศาล ที่มีหนี้อีกระดับแสนล้านบาทตามมา
2
10 ปีกับการอยู่ที่เดิม
จะลากยาวต่อเนื่องเพราะคำสาปจากการซื้อกิจการไม่จบสิ้น
2
หรือ 10 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนไป
เพราะ CPALL สามารถร่วมเป็นเจ้าของแบรนด์แม่ได้
3
หากเราเป็นผู้ถือหุ้น CPALL เราจะทำอย่างไร ?
แต่สำหรับ ดร.นิเวศน์ ถ้าได้อ่านบทความนี้อยู่
ก็คงต้องบอกว่าคง กังวลอยู่ไม่น้อย และรอลุ้นอยู่ว่า CPALL จะเลือกเดินอย่างไร..
4
โฆษณา