Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Right Style by Bom+
•
ติดตาม
1 ก.พ. เวลา 05:20 • การเมือง
“สันติภาพ” หรือแค่ “ดีล”
อนาคตความสัมพันธ์ระหว่าง “รัสเซีย” และ “สหรัฐฯ”
หลังทรัมป์เข้ารับตำแหน่งก็ได้เริ่มแลกเปลี่ยนสัญญาณระหว่างเขากับปูตินทันที ในวันที่ทรัมป์สาบานตน (20 มกราคม 2025) ปูตินเป็นประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงของรัสเซียผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เครมลินต้องการให้มีการเสนอข่าวฝั่งอเมริกากับข่าวของรัสเซียให้สมดุลกันในวันนั้น ดังนั้นการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงจึงถูกย้ายจากวันศุกร์ตามปกติเป็นวันจันทร์แทน ทำให้คำพูดแสดงความยินดีของปูตินต่อทรัมป์ปรากฏในที่ประชุมดังกล่าวด้วย [1]
ในที่ประชุมนั้น “ปูติน” กล่าวว่าเขาพร้อมที่จะหารือเกี่ยวกับการยุติสงครามกับ “ทรัมป์” - ไม่ใช่การสงบศึกชั่วคราว แต่เป็นสันติภาพระยะยาว ที่จะตั้งอยู่บนการเคารพต่อผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชาชนทุกคน (เหตุผลที่เขาอ้างเริ่มปฏิบัติการพิเศษในยูเครน) เมื่อพิจารณาว่าปูตินยังประกาศการบุกยูเครนเมื่อสามปีก่อนในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงเดียวกันนี้ การเจรจายุติความขัดแย้งจากปากของปูตินเองจึงฟังดูมีน้ำหนักอย่างมาก
ปูตินเป็นประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงของรัสเซียผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เมื่อ 20 มกราคม 2025 เครดิตภาพ: kremlin.ru
ห้าวันต่อมาปูตินเออออกับประเด็นสนทนาที่ทรัมป์ชื่นชอบสองประเด็น นั่นคือ “พรรคเดโมแครตขโมยการเลือกตั้งปี 2020 ไปจากเขา” และ “สงครามรัสเซีย-ยูเครนอาจไม่เกิดขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของเขา” นั่นหมายความว่ามอสโกกระตือรือร้นที่จะเริ่มการเจรจาสันติภาพหรือไม่ ดังเช่นที่แหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยตัวในคณะผู้ติดตามของปูตินรายงานในสื่อต่างประเทศ? [2]
■
“แผนของปูติน” และ “มุมมองของทรัมป์”
วิสัยทัศน์ของรัฐบาลทรัมป์ทั้งหมดเกี่ยวกับสันติภาพในยูเครนมีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่าปูตินต้องการยุติสงครามและต้องการความช่วยเหลือจากฝั่งทรัมป์ในการบังคับให้เซเลนสกียอมประนีประนอมหรือไม่ อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าความปรารถนาดังกล่าวมีอยู่ในเครมลิน แต่เป็นความปรารถนาที่จะได้สิ่งที่ต้องการโดยอาศัยความทะเยอทะยานของทรัมป์ที่ต้องการประสบความสำเร็จ
เดิมพันของปูตินต่อชัยชนะในยูเครนนั้นสูงมาก โดยพื้นฐานแล้วคือการพลิกกลับผลลัพธ์ของ “สงครามเย็น” และ “การพลิกขั้วอำนาจโลกของรัสเซียในเงื่อนไขใหม่” จากนั้นทุกอย่างจะเริ่มตกอยู่ในมือของพวกเขา แต่หากชัยชนะในยูเครนไม่เป็นไปตามหวัง การกลับมาของรัสเซีย (โซเวียต) ก็ไม่มีสง่าราศี และสันติภาพที่กำหนดโดยทรัมป์ แม้จะยอมเสียสละยูเครนก็ตาม ฝ่ายอเมริกาจะได้เครดิตอย่างมาก
ไม่ยากเลยที่จะจินตนาการว่ารัสเซียคิดว่าเงื่อนไขสำหรับสันติภาพที่ยั่งยืนจะ “ขจัดสาเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้งในปัจจุบัน” อย่างไรสิ่งนี้รวมถึงการยอมรับการผนวกดินแดนที่ยึดมาได้ (ความจริงในสนามรบ) การยุติการขยายตัวของนาโตเขยิบเข้าหารัสเซีย การปลดอาวุธของยูเครน การปลดกองกำลังและฐานทัพของชาติตะวันตกที่นั่น การยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย การให้รัสเซียมีสิทธิ์มีเสียงในประเด็นภายในบางประเด็นของยูเครน เช่น นโยบายภาษาทางการหรือด้านประวัติศาสตร์ และการยอมรับสิทธิพลเมืองเชื้อสายรัสเซีย
1
เครดิตภาพ: Graphic News
เงื่อนไขสำหรับสันติภาพถาวรที่ปูตินจะนำมาในการพบปะครั้งแรกกับทรัมป์นั้นจะไม่ต่างจากร่างข้อตกลงที่มอสโกส่งไปยังวอชิงตันและนาโตเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 มากนัก เงื่อนไขพูดถึงเรื่องการขยายดินแดนและคำขู่เรื่องสงคราม และความคาดหวังว่าคู่เจรจาตรงข้ามจะยอมโอนอ่อนเห็นด้วย [3]
เราพอที่จะเดาได้ว่าการประชุมเจรจาสันติภาพรอบนี้จะมีการบรรยายโดยปูตินเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของยูเครนตามที่เขาถนัดเป็นพิเศษ โดยอีกฝั่งคือทรัมป์แทบจะไม่มีไอเดียหรือความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในภูมิภาคนี้เลย (เหมือนเป็นการกรอกข้อมูลใส่หัวเขาให้เชื่อ) เชื่อว่าการบรรยายที่ยาวขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการประชุมของปูตินกับประธานาธิบดีสหรัฐตั้งแต่การสนทนากับบุชเกี่ยวกับแนวโน้มที่ยูเครนจะเข้าร่วมนาโต [4]
แต่เชื่อว่าทีมที่ปรึกษาของทรัมป์จะให้คำแนะนำและสังเกตเห็นตรรกะที่ย้องแย้งกันอยู่ แน่นอนว่าตามสไตล์ทรัมป์ที่ว่าเขาจะยกระดับศักดิ์ศรีและความยิ่งใหญ่ของอเมริกาตามสโลแกน MAGA และเขาย่อมไม่ให้อเมริกาตกเป็นรองในการเจรจาเป็นแน่แท้
■
“สันติภาพ” หรือแค่ “ดีล”
แนวคิดของทรัมป์ที่แสดงออก “ก่อน-ระหว่าง-หลังการเข้ารับตำแหน่ง” ล้วนสอดคล้องกับแนวคิดของเครมลิน เด็กๆ ควรได้รับการสอนให้ภูมิใจในประเทศของตน ไม่ใช่เจาะลึกเข้าไปในหน้ากระดาษที่ไม่น่าอ่าน ธรรมชาติสร้างเพศขึ้นมาแค่สองเพศ บรรพบุรุษทางการเมืองทำให้ประเทศต้องอับอาย แต่เราจะฟื้นฟูทุกสิ่งทุกอย่างในยุคของเรา [5]
ประชาชนมีสิทธิในการใช้พลังงานแบบดั้งเดิม (ไม่เชื่อในพลังงานสีเขียว) เราต้องพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมในประเทศ พันธมิตรและเพื่อนบ้านไม่รู้จักบุญคุณต่อความช่วยเหลือในอดีตและปัจจุบัน และนี่เป็นเหตุผลที่สมควรได้รับการปฏิบัติที่รุนแรง ในที่สุดการพิจารณาถึงความมั่นคงของชาติทำให้มีสิทธิใช้กำลังและแม้แต่อ้างสิทธิ์ในดินแดน และการขยายดินแดนของชาติไม่ใช่เรื่องต้องห้าม
ทั้งนาโตและตะวันตกต่างก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าทรัมป์จริงจังหรือไม่เมื่อเขาพูดถึงกรีนแลนด์ แคนาดา และปานามา การตีความของเขามีตั้งแต่ “ยั่วยุฝ่ายตรงข้าม” ไปจนถึง “พูดเกินจริงถึงความต้องการของเขา” เมื่อวิเคราะห์บทสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างทรัมป์กับหัวหน้ารัฐบาลเดนมาร์ก FT ได้ให้ข้อสรุปที่น่าตกใจว่า “เขาจริงจัง” [6]
เครดิตภาพ: Moneycontrol
ทรัมป์เรียกข้อตกลงในอดีตที่ผิดพลาดไปและข้อตกลงในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเคียฟและมอสโกว่าไม่ใช่สนธิสัญญาหรือข้อตกลงตามธรรมเนียมในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่เขาเรียกเป็นคำศัพท์ทางการค้าว่า “ดีล” เครมลินชอบคำนี้ มันยืนยันความคิดของความจริงจังที่เสียดสีของทรัมป์ หรือแม้แต่ “บิ๊กดีล” กับอเมริกา คือสิ่งที่รัสเซียต้องการอย่างแท้จริง [7]
สิ่งสำคัญในการวิเคราะห์พฤติกรรมทางการเมืองของรัสเซียภายใต้การนำของทรัมป์ไม่ใช่แค่ที่ความจริงจังของคำพูดเขาเท่านั้น แต่เป็นการที่ทรัมป์โต้แย้งต่อสาธารณะในลักษณะเดียวกับที่เครมลินเคยทำมาก่อน ทรัมป์ทำให้ชุดความคิดที่เคยถูกมองว่าเป็นแนวคิดรองและโดยเฉพาะในความสัมพันธ์กับดินแดนหลังยุคโซเวียตนั้นดูถูกต้องตามกฎหมาย ท้ายที่สุดแล้วประชาธิปไตยสหรัฐมักจะมองไปยังภาษาทางการเมืองของผู้นำของตน โดยเสนอตัวเป็นบรรทัดฐานให้กับผู้อื่น
ชุดความคิดของทรัมป์แลดูใกล้เคียงกับปูตินเข้าทุกที ดูเหมือนว่านี่จะเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับความเข้าใจร่วมกัน แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าทรัมป์ต้องการ “ดีล” กับปูตินในประเด็นเรื่อง “ระเบียบโลก” มากกว่าแค่การแลกเปลี่ยนดินแดนยูเครนเพื่อยุติสงคราม ปูตินไม่เห็นด้วยกับทรัมป์เมื่อเรียกร้องให้ควบคุมจีนหรือลงโทษเม็กซิโกที่แข่งขันกับสหรัฐอเมริกา ขณะที่รัสเซียเรียกร้องระเบียบโลกใหม่บนพื้นฐานของการแบ่งขั้วและการขับไล่ตะวันตกออกจากตำแหน่งผู้นำ
2
เครดิตภาพ: Mark Harris / Getty Images / Vanity Fair
■
“จริงใจ” หรือ “คลางแคลงใจ”
ท่าทีเปิดเผยของทรัมป์ต่อรัสเซียจนถึงขณะนี้มีลักษณะเฉพาะคือ มีทั้งการประจบประแจงอย่างไม่คิดอะไรและการขู่อย่างคลุมเครือ โพสต์บน Truth Social ซึ่งทรัมป์ได้โพสต์ในฐานะประธานาธิบดีเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับสงครามในยูเครน การกล่าวถึงพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง (โซเวียต) และการเสียสละอันยิ่งใหญ่ที่รัสเซียต้องเผชิญในข้อความสั้นๆ นี้ ข้อความในส่วนนี้ดูเหมือนว่าจะทำตามคำแนะนำของที่ปรึกษาของเขาที่ชาญฉลาดเพราะเลือกโพสต์ในโอกาสครบรอบปีแห่งชัยชนะของรัสเซีย [8]
อย่างไรก็ตามข้อความในส่วนอื่นน่าจะเป็นการด้นสดของทรัมป์ที่ว่า ปูตินพูดถึงชัยชนะครั้งนั้นกับคู่สนทนาของเขามากจนเขาจำได้ว่าหัวข้อนี้สำคัญกับเขามากเพียงใด แต่จำไว้คร่าวๆ ตัวเลขผู้เสียชีวิต 60 ล้านคนที่พองโตอย่างน่าเศร้าสลดนั้นไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเคารพ แต่แสดงให้เห็นถึงการขาดความใส่ใจอย่างแท้จริงต่อหัวข้อเหยื่อโซเวียต และใช้เป็นวาระได้ว่า “ชาวรัสเซียช่วยให้เราชนะสงคราม” บิดเบือนประวัติศาสตร์อยู่?
■
สันติภาพของอเมริกาสำหรับรัสเซียและยูเครน
ความนิยมของทรัมป์ในรัสเซียและทั่วโลกกลายเป็นปัญหาทางการเมืองสำหรับปูตินด้วยเช่นกัน หากไม่สามารถโน้มน้าวใจทรัมป์ให้ทำข้อตกลงระหว่างผู้ที่เท่าเทียมกันได้ ท้ายที่สุดแล้วก็เหมือนกับว่าทรัมป์กำลังทำในทิศทางเดียวกับปูติน แต่รุนแรงกว่าและประพฤติตัวเหมือนเป็นผู้มีอำนาจคับฟ้า
4
ทรัมป์อาจเป็นปัญหาสำหรับบทบาทระดับโลกที่ปูตินรับมืออยู่ ความเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายขวายุโรปใหม่ได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว อย่างเช่น “อีลอน มัสก์” ที่ไปเขย่าการประชุมพรรค AfD ของเยอรมนีและไม่มีการเชิญคนรัสเซียไปที่นั่นเหมือนแต่ก่อน [9]
ทรัมป์น่าดึงดูดใจมากกว่าในฐานะผู้นำฝ่ายขวาของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพวกฝ่ายขวาเอง หากเพียงเพราะอเมริกาดูร่ำรวยและแข็งแกร่งกว่ารัสเซียในตอนนี้ และตัวเขาเองในฐานะผู้ชนะการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันก็มีความชอบธรรมมากกว่าและในท้ายที่สุดก็สดใหม่กว่า ฝ่ายขวาตะวันตกคนอื่นๆ จะต้องบรรลุเป้าหมายในการเลือกตั้งเช่นกัน และตัวอย่างของทรัมป์นั้นให้บทเรียนแก่พวกเขาได้มากกว่าวิถีของผู้แย่งชิงอำนาจจากฝั่งตรงข้าม (รัสเซีย กับ จีน)
เครดิตภาพ: BBC
หากทรัมป์ดึงคนรัสเซียส่วนใหญ่เป็นพวกได้โดยสิ่งที่ปูตินไม่สามารถให้ได้ นั่นก็อาจหมายถึงสงครามยุติลงได้ เขาจะได้เครดิตอย่างมาก และการยุติสงครามยูเครนจะถูกมองว่าไม่ใช่ชัยชนะของรัสเซีย แต่เป็นผลจากการที่ทรัมป์บังคับให้รัสเซียต้องสร้างสันติภาพ ซึ่งก็คือสันติภาพของอเมริกาสำหรับรัสเซียและยูเครน
เมื่อเป็นเช่นนี้ผลลัพธ์ของสงครามที่ปูตินเคยสัญญาไว้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของโลกจะขาดหายไป นั่นคือ ชัยชนะเหนือระเบียบโลกที่มีตะวันตกเป็นใหญ่ โดยที่ปูตินได้ปรับกรอบสงครามกับยูเครนในแนวทางการทูตใหม่ให้กลายเป็นการลุกฮือต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมต่อตะวันตก
ส่วนตัวมองว่า ข้อสรุปที่น่าจะเกิดขึ้นคือทรัมป์เสนอข้อตกลงกับปูติน โดยแลกภารกิจต่อต้านตะวันตกทั่วโลกของเขากับดินแดนยูเครนบางส่วนและยุติสงครามพร้อมกับโอกาสที่จะยกเลิกการคว่ำบาตรรัสเซีย ในขณะเดียวกันทรัมป์ก็จะไม่ทำลายระเบียบโลกที่มีตะวันตกเป็นผู้นำและยืนยันแสดงให้เห็นว่าปูตินมีบทบาทระดับโลกที่เขารับไว้ ยังไม่ชัดเจนว่าปูตินพร้อมสำหรับสิ่งนี้หรือไม่
1
บทความโดย Right Style
1st Feb 2025
■
เชิงอรรถ:
[1]
http://www.kremlin.ru/events/president/news/76135
[2]
https://novayagazeta.eu/articles/2025/01/24/putin-says-ukraine-war-might-not-have-happened-if-trumps-2020-victory-hadnt-been-stolen-en-news
[3]
https://www.bbc.com/russian/news-59691037
[4]
https://www.theguardian.com/world/2008/apr/01/nato.georgia
[5]
https://www.whitehouse.gov/remarks/2025/01/the-inaugural-address
[6]
https://www.ft.com/content/ace02a6f-3307-43f8-aac3-16b6646b60f6
[7]
https://www.rbc.ru/politics/22/01/2025/679116119a79478521e0c1fe
[8]
https://www.cnbc.com/2025/01/22/trump-threatens-russia-with-sanctions-tariffs-if-putin-doesnt-end-ukraine-war.html
[9]
https://www.welt.de/politik/deutschland/article255217004/SPD-Bundestagsabgeordnete-Bekomme-Wuergereiz-wenn-ich-an-Merz-als-Kanzler-denke.html
<เครดิตภาพปก: Reuters / PIXSELL>
สหรัฐอเมริกา
russia
ยูเครนรัสเซีย
3 บันทึก
30
16
7
3
30
16
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย