3 ชั่วโมงที่แล้ว • หุ้น & เศรษฐกิจ

จีนเตรียมแผนเด็ดรอบด้าน โต้กลับกำแพงภาษี Trump

ในช่วงเวลาที่ Donald Trump กำลังกดดันด้วยการใช้นโยบายภาษีที่เข้มงวดต่อผู้ผลิตในจีน ปัจจุบันมีสัญญาณชัดเจนว่าจีนได้เตรียมมาตอบโต้ด้วยมาตรการหลากหลายที่พัฒนามาตั้งแต่ช่วงที่ Trump ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในอดีตแล้ว
▶️กลยุทธ์การตอบโต้ของจีน
1. การจำกัดวัตถุดิบสำหรับสินค้าประเภทเทคโนโลยีชั้นสูง
สงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนได้เข้าสู่ยุคเทคโนโลยี โดยที่จีนให้ความสำคัญกับกลุ่มธุรกิจที่กำลังเติบโตใหม่ๆ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์ และแบตเตอรี่ลิเทียม ในขณะที่รัฐบาล Biden ได้จำกัดการส่งออกชิปเทคโนโลยีขั้นสูงไปยังจีนไปแล้ว จึงมีแนวโน้มว่าจะมีมาตรการเพิ่มเติมที่มุ่งเป้าไปที่การพัฒนา AI ของจีน โดยเฉพาะหลังจากที่ตลาดสหรัฐได้รับผลกระทบจากโมเดลใหม่ของ DeepSeek
อีกด้านหนึ่งจีนมีข้อได้เปรียบที่สำคัญในตลาดวัสดุหายาก (rare earths) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเซมิคอนดักเตอร์ แม่เหล็กอุตสาหกรรม หรือแม้แต่แผงโซลาร์เซลล์ จีนซึ่งครองตลาดวัสดุหายากมาอย่างยาวนาน ได้เริ่มเข้มงวดกับการส่งออกวัสดุสำคัญ เช่น gallium, germanium และ antimony ไปยังสหรัฐฯ โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ
นักวิเคราะห์บางคนมองว่าการแข่งขันด้านเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐและจีนในยุคนี้ เปรียบเสมือนสงครามเย็นรูปแบบใหม่ โดยมี Chris Tang ศาสตราจารย์จาก UCLA ชี้ให้เห็นว่าปัญหาหลักอยู่ที่ความกังวลว่าจะมีการนำชิป AI ไปใช้ในงานทางทหารและป้องกันประเทศ
2. การใช้วิธีการแบบเดิมที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว
นอกจากการจำกัดวัตถุดิบแล้วจีนยังสามารถใช้มาตรการทางการเงินและการควบคุมการนำเข้าสินค้าเพื่อปกป้องเศรษฐกิจของตนได้อีกด้วย
Betty Wang Lead Economist จาก Oxford Economics กล่าวว่าจีนอาจทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการส่งออก โดยใช้เครื่องมือควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเงินผ่านอัตราการปรับค่าเงินรายวันและเครื่องมืออื่น ๆ ที่เป็นแบบบริหาร
เมื่อเร็วๆ นี้จีนได้เปลี่ยนแนวทางนโยบายการเงินจาก “ระมัดระวัง” ไปสู่ “ผ่อนคลายปานกลาง” เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและการปล่อยสินเชื่อ นอกจากนี้ ในด้านการค้าระหว่างประเทศ จีนยังอาจเพิ่มมาตรการโต้ตอบกับสินค้าการเกษตรจากสหรัฐฯ ได้อีกด้วย
ในปี 2018 จีนเคยใช้นโยบายภาษี 25% กับการนำเข้าเช่น ถั่วเหลือง เนื้อวัว เนื้อหมู ข้าวสาลี ข้าวโพด จากสหรัฐฯ เพื่อโต้ตอบกับมาตรการของ Trump แม้ว่ากลไกยกเว้นภาษีในข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในเดือนมกราคม 2020 จะช่วยให้ถั่วเหลืองสหรัฐฯ ยังคงเข้าจีนได้อยู่ในระดับหนึ่ง แต่หากมีการใช้ไม่แข็งกับสินค้าจีนอีกครั้ง นโยบายนี้ก็อาจกลับมาอีกครั้ง
นักวิเคราะห์อย่าง Rajiv Biswas ระบุว่าในสถานการณ์ที่จีนบังคับใช้ภาษีกับถั่วเหลืองสหรัฐในปี 2025 ผลกระทบที่ตามมาน่าจะทำให้อุตสาหกรรมถั่วเหลืองในสหรัฐฯ สูญเสียอย่างมาก เนื่องจากราคาถั่วเหลืองภายในประเทศลดลงและการส่งออกสู่จีนลดลงไปด้วย
3. การเน้นเสริมสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ
นอกเหนือจากมาตรการทางการค้าแล้ว จีนยังมีแนวโน้มที่จะหันเข้ามาเสริมสร้างเศรษฐกิจภายในผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (fiscal stimulus) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงการเน้นบทบาทในฐานะ “โรงงานของโลก” โดยเฉพาะในด้านการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
▶️บทสนทนาระหว่าง Trump และ ปักกิ่ง
แม้ Donald Trump จะระบุว่ากำแพงภาษีเป็น “อำนาจใหญ่” ที่สหรัฐมีเหนือจีนและพยายามหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการดังกล่าวในการแก้ไขข้อพิพาททางการค้า แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังคงชั่งน้ำหนักผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสงครามการค้า
Trump เคยกล่าวกับ Fox News ว่า “เรามีอำนาจที่ใหญ่เกินกว่าที่จะใช้กับจีน นั่นคือ tariffs และจีนไม่ต้องการพวกมัน” ในขณะที่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา White House ได้ถอนภัยคุกคามภาษี 25% กับโคลอมเบีย หลังจากได้มีการบรรลุข้อตกลงในเรื่องการขนส่งผู้ลี้ภัย
ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจีนจะเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจต่อไปในปีนี้จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง ซึ่งหมายความว่าจีนเองก็ไม่ต้องการเข้าสู่สงครามการค้ามากนัก
Mao Ning โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “ความขัดแย้งควรได้รับการแก้ไขผ่านการสนทนาและปรึกษาหารือ สงครามการค้าและภาษี ไม่มีฝ่ายไหนได้ประโยชน์และไม่เป็นผลดีต่อใคร โดยเฉพาะโลก”
อีกทั้ง Lynn Song Chief Economist for Greater China ที่ ING ชี้ว่าหากทั้งสองมหาอำนาจจบลงด้วยสงครามการค้า จีนจะมีอำนาจต่อรองมากขึ้นในครั้งนี้ เนื่องจากการพึ่งพาจากสหรัฐฯ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด (จาก 18.2% ในปี 2017 เป็น 14.6% ในปี 2024) ซึ่งเปิดโอกาสให้จีนสามารถใช้มาตรการโต้ตอบที่เข้มข้นและแม่นยำมากขึ้นกับบริษัทสหรัฐฯ รายใหญ่
cr. Business Insider
โฆษณา