Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
“วันละเรื่องสองเรื่อง”
•
ติดตาม
7 ชั่วโมงที่แล้ว • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
BYOAI: เมื่อพนักงานนำ AI ส่วนตัวมาใช้ทำงาน
(โอกาสและความเสี่ยงที่องค์กรต้องจัดการ)
ในยุคที่เครื่องมือ AI เช่น ChatGPT, Claude, Perplexity, Perplexity, Gemini หรือ GitHub Copilot กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตการทำงาน พนักงานในองค์กรหลายแห่งเริ่มนำ AI ส่วนตัวมาใช้แก้ปัญหางานโดยไม่รอคำสั่งจากฝ่ายบริหาร ปรากฏการณ์นี้ถูกเรียกว่า “Bring Your Own AI” (BYOAI) ซึ่งเปรียบเสมือนดาบสองคมที่อาจสร้างทั้งนวัตกรรมและความเสี่ยงให้องค์กร
“BYOAI: นวัตกรรมจากของส่วนตัวพนักงาน?”
BYOAI เกิดขึ้นจากความต้องการของพนักงานที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยเครื่องมือ AI ที่เข้าถึงได้ง่าย แต่องค์กรอาจจะไม่ได้มีนโยบาย provide ให้ทุกคน เช่น กำหนดขั้นของระดับพนักงานที่เข้าใช้ได้ หรือการจำกัดงบประมาณ เป็นต้น
โดยพนักงานสมัยนี้มักใช้ GenAI แบบง่ายๆ เพื่อช่วยทำงาน routine เดิมๆ เช่น
* สร้างเนื้อหาอัตโนมัติ – เช่น ใช้ ChatGPT ช่วยเขียนอีเมลหรือรายงาน
* พัฒนาโค้ดเร็วขึ้น – เช่น ใช้ GitHub Copilot แนะนำคำสั่งโปรแกรม
* การเอามาเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ : เช่น ใช้ Claude สรุปข้อมูลจากเอกสารจำนวนมาก หรือเอา Perplexity มาช่วยหา reference และสรุปรายงานวิจัยต่างๆ เป็นต้น
“ความเสี่ยงหลัก…ที่องค์กรมองข้ามไม่ได้”
ขณะที่ BYOAI สร้างผลลัพธ์ได้ทันใจ แต่องค์กรต้องตระหนักถึงภัยแฝง:
1. ความปลอดภัยของข้อมูล – การใช้ AI ภายนอกอาจทำให้ข้อมูลบริษัทรั่วไหล
2. อคติใน AI – โมเดลที่พนักงานสร้างเองอาจส่งต่อความลำเอียงทางสังคม
3. ทำงานซ้ำซ้อน – แต่ละแผนกใช้ AI คนละระบบจนสูญเงินและเวลา
4. ขาดการกำกับดูแล – องค์กรมองไม่เห็นภาพรวมการใช้งาน AI
5. ภาพลักษณ์ต่อหน่วยงานภายในองค์กร – เช่น พนักงานอาจคิดว่า เครื่องมือของตัวเองดี ทันสมัย ทันความต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานไอที หรือ การเอาข้อมูลออกไปใช้งานใน tools ข้างยอก ส่งผลต่อการรั่วไหลข้อมูล มีปัญหาถึงหน่วยงาน HR หรือกฏหมายต่อไปได้ และหนักกว่าถ้าข้อมูลสำคัญ เช่น ตัวเลขการเงินรั่วไหล เป็นต้น
“กลยุทธ์รับมือ BYOAI แบบได้กำไรสองต่อ”
องค์กรที่ต้องการได้ประโยชน์จาก BYOAI ต้องสร้างสมดุลระหว่าง “เปิดพื้นที่สร้างสรรค์” และ “ตั้งกรอบความปลอดภัย” ดังนี้:
1. พิจารณาสร้างศูนย์ AI (AI Center of Excellence)
* กำหนดนโยบายการใช้ AI ที่ชัดเจน เช่น ไม่อนุญาตให้ป้อนข้อมูลลับเข้าเครื่องมือสาธารณะ เป็นต้น
* สร้างแพลตฟอร์มกลางให้พนักงานแชร์โมเดล AI ที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว
2. อบรมความรู้คู่จริยธรรม (Responsibile AI Using)
* สอนให้พนักงานเข้าใจข้อจำกัดของ AI ส่วนตัว
* ฝึกวิเคราะห์อคติในข้อมูล (Bias Detection)
3. อนุญาตุให้ระดับ user สามารถใช้ Low-Code/No-Code สร้าง AI ในองค์กร
* เลือกเครื่องมือเช่น Microsoft Power Platform หรือ Google Vertex AI ที่ให้พนักงานสร้าง AI ได้เอง โดยข้อมูลอยู่ภายในเซิร์ฟเวอร์บริษัท
* ส่วนงานไหนที่ต้องสร้าง หรือเชื่อมต่อกับ platform หรือจำเป็นต้อง coding ให้เป็นไปตามหน่วยงานไอทีของบริษัท
* ให้ตระหนักว่าพนักงานธุรกิจ สามารถสร้างเครื่องมือจาก Low-Code/No-Code ที่ provide ให้ โดยไม่ต้องให้ “Requirement” องค์กรวิ่งมาที่หน่วยงานไอทีทุกเรื่อง (ไม่เช่นนั้น “ความเร็ว” การแข่งขันธุรกิจจะไม่ทันในยุคนี้)
4. ให้รางวัลนวัตกรรม
* จัดแข่งขันพัฒนา AI ภายในองค์กร พร้อมมอบสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ให้ผู้สร้าง เป็นต้น
อนาคตของ BYOAI: เมื่อ AI อยู่ทุกที่แบบ “Edge Computing”
“เทคโนโลยี AI อาจอยู่บนอุปกรณ์ส่วนตัว” เช่น สมาร์ทโฟนและนาฬิกาอัจฉริยะ จะทำให้ BYOAI แพร่หลายขึ้น องค์กรก็ต้องเตรียมรับมือด้วย เช่น
* มีหรือตั้งมาตรฐานการเชื่อมต่อ** – กำหนดว่า AI ใดเชื่อมกับระบบบริษัทได้
* พัฒนากรอบกฎหมายดิจิทัล หรือธรรมนูญการใช้ดิจิตัลภายในให้ชัดเจน – อัปเดตนโยบายให้ทันการใช้งาน AI แบบเรียลไทม์
ดังนั้น ต้องใช้ BYOAI ให้เป็น “โอกาส” ไม่ใช่ “ภัย”
แทนที่จะสั่งห้ามพนักงานใช้ AI ส่วนตัว องค์กรควรเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ด้วยการสร้างระบบที่เปิดกว้างแต่ปลอดภัย เพราะในยุคที่การแข่งขันขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม “องค์กรที่ควบคุม BYOAI เป็น จะอยู่รอด…องค์กรที่เพิกเฉย อาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”
“อนาคตของการทำงานไม่ใช่การแย่งกันใช้ AI แต่คือการรู้จักใช้ AI อย่างชาญฉลาดและรับผิดชอบ” — นี่คือโจทย์ใหญ่ของทุกองค์กรในยุคดิจิทัล!
เอกสารอ้างอิง:
1. European Data Protection Board (EDPB) – แนวทาง GDPR เกี่ยวกับการใช้ AI
https://edpb.europa.eu
2. Microsoft Power Platform – แพลตฟอร์ม Low-Code สำหรับองค์กร
https://powerplatform.microsoft.com
3. Google Vertex AI – เครื่องมือพัฒนา AI แบบครบวงจร
https://cloud.google.com/vertex-ai
#วันละเรื่องสองเรื่อง
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย