Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าจากร่างกาย
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 12:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไม ? ความน่ารักถึงขายได้
วิทยาศาสตร์เบื้องหลัง “ความน่ารัก”
เพราะทารกช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ พ่อแม่ที่มองว่าลูกน่ารักจะมีแนวโน้มให้การดูแลและปกป้องมากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและการส่งต่อพันธุกรรม
นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "Baby Schema" ซึ่งเป็นชุดลักษณะที่กระตุ้นสัญชาตญาณการดูแลและความเอ็นดู ตัวอย่างลักษณะเหล่านี้ ได้แก่
ตากลมโต ทำให้ดูไร้เดียงสาและช่วยสื่อสารอารมณ์
หัวโตเมื่อเทียบกับลำตัว คล้ายสัดส่วนของทารกมนุษย์
จมูกเล็ก ปากเล็ก ให้ความรู้สึกอ่อนโยนและเป็นมิตร
เมื่อเห็นลักษณะเหล่านี้ สมองของมนุษย์จะตอบสนองโดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดความรู้สึกเอ็นดูและอยากปกป้อง
แต่ความน่ารักไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในทารกมนุษย์เท่านั้น สัตว์เลี้ยง ของเล่น และตัวละครในการ์ตูน ล้วนถูกออกแบบหรือคัดเลือกให้มีลักษณะที่กระตุ้นสัญชาตญาณนี้ด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้คนรู้สึกผูกพันและให้ความสนใจมากขึ้น
เราได้รู้อะไรจากเรื่องนี้ ?
ความน่ารักไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นกลไกทางวิวัฒนาการที่ช่วยให้ทารกมนุษย์ได้รับการดูแล
สมองมนุษย์ถูกตั้งโปรแกรมให้หลงรักลักษณะบางอย่าง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลและปกป้อง
ความน่ารักถูกนำไปใช้ในการตลาด เพื่อสร้างความผูกพันทางอารมณ์ เช่น การออกแบบตัวละคร สินค้า หรือสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
เนื้อหาส่วนหนึ่งจาก รายการ Human ศาสตร์
หมูเด้ง-หมีเนย ทำไมน่ารัก นักวิทยาศาสตร์มีคำตอบ! | Human-ศาสตร์ EP.10
https://bit.ly/4aGlRFK
สรุปโดย : แอดมินเอ็ม
ภาพโดย : แอดมินฝ้าย
ถ้าอยากเข้าใจเหตุผลเบื้องหลังพฤติกรรมต่างๆ ผ่านทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่เกี่ยวข้องกับความรัก อารมณ์ แนะนำว่าควรอ่าน เรื่องเล่าจากร่างกาย และ 500 ล้านปีของความรัก
หนังสือ เรื่องเล่าจากร่างกาย เล่ม 1-2
https://bit.ly/4fL06Fy
หนังสือ 500 ล้านปีของความรัก เล่ม 1
https://bit.ly/3BUClx4
หนังสือ 500 ล้านปีของความรัก เล่ม 2
https://bit.ly/3PsVg4Y
1
วิทยาศาสตร์
52 บันทึก
46
37
52
46
37
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย