Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นักปรัชญานอกรีต - Freethinker
•
ติดตาม
4 ก.พ. เวลา 05:46 • ปรัชญา
“ ยินดีกับคนที่ไม่เชื่อศาสนา ”
ทำไมถึงยินดีกับคนไม่เชื่อในศาสนา ?
อย่างแรกเลย ผู้คนโดยทั่วไปส่วนมากมีความเชื่ออย่าง “ขาดเหตุผล” ครับ การที่เขาเป็นพุทธก็เพียงเพราะพ่อแม่เขานับถือพุทธ เป็นคริสต์หรือมุสลิมก็เพราะที่บ้านเขาเป็นมุสลิม
เป็นไปได้ว่าคนเหล่านี้มีความเชื่อโดยปราศจากความศรัทธาที่แท้จริง พวกเขาอาจประกาศตัวว่าเป็นคนพุทธ คริสต์ หรือมุสลิม แต่คนเหล่านี้หาใช่เข้าใจและปฏิบัติตามเจตนาจริง ๆ ของศาสนาไม่
.
การนับถือศาสนาเช่นนี้เสมือนเป็นการนับถือศาสนาแบบหน้าไหว้หลังหลอก นับถือแบบหวังผลตามจารีตประเพณีของคนรุ่นก่อน คนเหล่านี้ไม่ต้องคิดอะไรทั้งนั้นครับ นอกจากเชื่อตามที่พ่อแม่เขาเชื่อมา
ไม่กล้าที่จะเป็นตัวของตัวเองหรือใช้เสรีภาพทำลายความเชื่อเหล่านี้ เพราะกลัวการแปลกแยกกับผู้อื่น ไม่คิดหาเสรีภาพหรือหลักการของตัวเอง ไม่ได้มีสารัตถะหรือค้นหาสัจธรรมอะไรไปมากกว่านั้น การนับถือศาสนาเช่นนี้ถือว่าเป็น “การเชื่อโดยขาดเหตุผล”
.
แต่คนที่ไม่เชื่อในศาสนานั้น "จำเป็นต้องใช้ความคิด" และการตั้งคำถาม อย่างน้อย ๆ เขาอาจไม่เห็นด้วยกับพระเจ้า ศาสนา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พ่อแม่เขากราบไหว้และเชื่อต่อ ๆ กันมา
เมื่อไม่มีเหตุผลมากพอจึงได้ปฏิเสธหรือคัดค้านความเชื่อเดิมที่เคยนับถือ และใช้ชีวิตด้วยการวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุด้วยผล
.
การไม่มีหรือไม่เชื่อในศาสนานั้นเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะอย่างน้อยที่สุดก็อาจให้คุณค้นหาคำตอบในแบบของตัวเอง มีความคิดและมีความเป็นตัวของตัวเอง และที่สำคัญคือมี "เสรีภาพ" จากอำนาจครอบงำของศาสนา จารีต ประเพณีต่าง ๆ ของสังคมยุคก่อนที่อุปโลกน์ขึ้นมา
ที่น่ายินดีอีกอย่างคือการเชื่อว่า "พระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายไม่มีอยู่จริง" ก็ช่วยให้คุณมองโลกและวินิจฉัยด้วยเหตุผลและสติปัญญาของตน สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ล้วนถูกมนุษย์อุปโลกน์ขึ้น
ความเชื่อเรื่องพระเจ้า ศาสนา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติทั้งหลายจะมีอยู่ตราบเท่าที่มนุษย์ที่มีความเชื่อยังอยู่บนโลกนี้เพียงเท่านั้น ถ้ามนุษย์จากไปก็อย่าหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะยังคงอยู่
.
ในเมื่อคนไม่เชื่อในศาสนามากขึ้น ความเชื่อเหล่านี้ก็ย่อมหมดที่ทางลง คนก็จะใช้เหตุผลกันมากขึ้น ความเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพและเจตจำนงก็ล้วนก้าวขึ้นมาแทนที่ และเสรีภาพแห่งความเป็นมนุษย์นี้เองที่ก่อกำเนิด "ความหลุดพ้น" จากอำนาจครอบงำจากศาสนา ไม่โดนหลอกให้งมงายอย่างไร้เหตุผลในสิ่งเหนือธรรมชาติ
เจ้าชายสิทธัตถะสามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ก็เพราะมี "เสรีภาพ" ในการแสวงหาความจริง ที่ปฏิเสธการนับถือศาสนาพราหมณ์ที่นับถือมาตามตระกูล ปฏิเสธความเชื่อเดิมอย่างระบบวรรณะ 4 ของฮินดู ทั้งยังมีเสรีภาพในการไม่นับถือศาสนา ไม่สมาทานลัทธิหรือความเชื่อใด ๆ และหันมาไตร่ตรอง "ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์" อย่างตรงไปตรงมา
จึงทำให้พุทธะค้นพบกับ "สัจธรรม" ของกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งเป็นความจริงตามกฎธรรมชาติที่ไม่ขึ้นกับลัทธิความเชื่อหรือจารีตทาง ศาสนาใด ๆ
.
ซึ่งการมี "เสรีภาพในการแสวงหาความจริง" นี้ เงื่อนไขที่จำเป็นข้อแรกก็คือ จำเป็นต้องมีเสรีภาพจากความเชื่อทางศาสนาที่ถือปฏิบัติตาม ๆ กันมาเสียก่อนก่อน
ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะไม่มีเสรีภาพจากความเชื่อในศาสนา ไม่มีเสรีภาพในการปฏิเสธความเชื่อเดิมของตนและครอบครัว ถ้าพุทธะไม่มีเสรีภาพในการทิ้งศาสนา พุทธะคงไม่สามารถพัฒนาปัญญาจนสามารถดำเนินชีวิติย่างมีอิสรภาพทางจิตวิญญาณ ถ้าพุทธะไม่มีสิ่งเหล่านี้ศาสนาพุทธคงไม่เกิด และคงไม่มีการตรัสรู้ให้ชาวพุทธเชื่อตาม ๆ กันมาจนถึงทุกวันนี้
อาเมน
แนวคิด
ประวัติศาสตร์
ปรัชญา
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย